แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการวางแผน 5 (ประเภทของแผน)


ประเภทของแผน แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการวางแผน 5 (ประเภทของแผน)ประเภทของแผน จอนสัน (Johson), ฟรีมันท์ (Fremont), อี เจมส์ (E James), โรเซนวิ่ง (E. Rosenzweig) (1967,p. 31-33) ได้แบ่งแผนออกเป็นกลุ่มๆไว้ดังนี้

ประเภทของแผน

จอนสัน (Johson), ฟรีมันท์ (Fremont), อี เจมส์ (E James), โรเซนวิ่ง (E. Rosenzweig) (1967,p. 31-33) ได้แบ่งแผนออกเป็นกลุ่มๆไว้ดังนี้

จุดมุ่งประสงค์และวัตถุประสงค์ (goals and objectives)

แผนสำหรับการกระทำที่ทำเสร็จแล้วยังใช้ทำอีกต่อไปเรื่อยๆ (plan for repetitive action)

แผนสำหรับปัญหาที่แตกต่างกัน (plan for non repetitive problems)

นิวแมน (Newman (1963, p. 56) แบ่งแผนไว้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 กลุ่ม ด้วยกันคือ

จุดมุ่งประสงค์แลผลงาน

แผนใช้ครั้งเดียว (single use plan)

แผนถาวร (standing plan)

หุส (Huse) (1979, p. 166-167)

พิจารณาทางด้านความครอบคลุมและความกว้าง

พิจารณาในเรื่องการใช้และการทำหน้าที่ของแผน

พิจารณาด้านเวลาหรือช่วงเวลาของแผน

คลีแลนด์ (Cleland) และ วิลเลี่ยม อาร์ คิง (William R. King) (1978, p. 94-95) ได้แบ่งแผนไว้ดังนี้

วัตถุประสงค์

นโยบาย

แนวปฏิบัติ

งบประมาณ

แผนโครงการ

แผนปฏิบัติตามหน้าที่

โทมัส (Thomas J.) แอทชิสัน (Atchison) และ วินตัน (Winton W.) หิล (Hill) (1978, p. 131-

132) ได้จำแนกแผนออกเป็นรูปแบบโดยอาศัยมาตรการหลายๆ มากกว่าผู้อื่นที่ได้กล่าวมาทั้งหมด ดังนี้

พิจารณาจากจุดมุ่งประสงค์ กลยุทธ์ และดำเนินงาน ดังนั้น องค์การใดก็ตามย่อมจะต้องมี

แผนอยู่ 3 แบบ

1.1. แผนจุดจากจุดมุ่งประสงค์ หรือแผนในการกำหนดวัตถุประสงค์

1.2. แผนกลยุทธ์

1.3 แผนดำเนินงาน

2. พิจารณาจากหน้าที่งานขององค์การโดยอาศัยโครงสร้างและลักษณ์การบังคับบัญชาขององค์การจากระดับต่ำ ย่อมจะทำให้มองเห็นภาพของบแผนหลักแล้วแบ่งออกเป็นแผนย่อยตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานได้ดังนี้

2.1 แผนหลัก (master plan) หมายถึงแผนระดับสูงสุดขององค์การ มีลักษณะเป็นกลยุทธ์ที่เชื่อมวัตถุประสงค์ขององค์การกับสภาพแวดล้อมต่างๆ และเชื่อมโยงระหว่างบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานด้านต่างๆ ภายในองค์การด้วย

2.2 แผนตามหน้าที่ (function plan) เป็นแผนของแต่ละหน่วยงานหรือส่วนงานด้านต่างๆ ขององค์การทั้งด้านสายงานปฏิบัติโดยตรงและสายงานช่วย

2.3 แผนงบประมาณ (budget plan) เป็นแผนทางด้านการเงินที่จะต้องใช้จ่ายในการ

บริหารและปฏิบัติงานขององค์การทั้งหมด ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นกลุ่มดังนี้

2.3.1 แผนงบประมาณการลงทุน (capital budget plan)

2.3.2 แผนงบประมาณดำเนินการ (operating budget plan)

2.3.3 แผนงบประมาณบุคลากร (personnel budget plan)

2. พิจารณาจากหน้าที่งานขององค์การโดยอาศัยโครงสร้างและลักษณ์การบังคับบัญชาของ

องค์การจากระดับต่ำ ย่อมจะทำให้มองเห็นภาพของบแผนหลักแล้วแบ่งออกเป็นแผนย่อยตามบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานได้ดังนี้

2.1 แผนหลัก ( master plan)

2.2 แผนตามหน้าที่ (function plan)

2.3 แผนงบประมาณ (budget plan)

แผนกิจกรรม (activity plan) ได้แก่ แผนกระทำการทำแผนปฏิบัติงานอันเป็นเรื่องของการกระทำ จะมีการระบุถึงถึงกิจกรรม จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการกระทำกิจกรรม มีวิธีการ ขั้นตอนตลอดจนกระบวนการทำงาน การใช้เทคนิคการควบคุมต่างๆ เช่น CPM และ PERT

3. พิจารณาจากเวลาในปฏิบัติตามแผน แบ่งได้เป็นสามระยะเหมือนกับนักวิชาการอื่นที่ได้กล่าวมาแล้วคือ

3.1 แผนระยะสั้น (short range plan) เป็นแผนที่ใช้เวลาไม่ยาวนาน กิจกรรมมีไม่มากสามารถทำให้เสร็จไปได้โดยเร็ว

3.2 แผนระยะปานกลาง (intermediate range plan) แผนแบบนี้จะใช้เวลามากขึ้นเพราะงานมีลักษณะกว้างและมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น

3.3 แผนระยะยาว (long range plan) ได้แก่ แผนที่มีชอบเขตครอบคลุมมาก มีกิจกรรมหลายด้าน และหลายอย่าง ใช้ทรัพยากรมากขึ้น ต้องใช้เวลายาวนานจึงจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์

แผนระยะยาวมักจะเป็นแผนระดับสูง ส่วนแผนระยะสั้นจะเป็นแผนระดับต่ำในแต่ละองค์การ ส่วนเวลาสั้นหรือยาวนานเพียงใดแค่ไหนนั้นไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่ชัดอันเป็นที่ย่อมรับโดยทั่วไป คงขึ้นอยู่กับแต่ละองค์การและลักษณ์ของงานแต่อย่าง โดยทั่วไปแผนระยะสั้นจะอยู่ระหว่างไม่เกิน 2 ปี ระยะปานกลางไม่เกิน 5 ปี และแผนระยะยาวจะเริ่มตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

4. อาศัยอนาคตเป็นเครื่องพิจารณา ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

4.1 แผนที่มีความแน่นอน (certainty) หมายถึงแผนที่กำหนดขึ้นโดยมีความแน่นอนมากกว่าจะทำได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ซึ่งมักเป็นแผนระดับต่ำ มีกิจกรรมไม่มาก และเป็นแผนระยะสั้นมีตัวเลขข้อมูลที่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างไม่ผิดพลาด เป็นต้น

4.2 แผนที่มีความไม่แน่นอน (uncertainty) ลักษณะต่างๆ ของแผนจะแตกต่างไปจากแผนที่มีความแน่นอนในด้านที่ยากขึ้น กล่าวคือ มีกิจกรรมมากขึ้น มีระยะเวลายาวขึ้นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและการทำนายอนาคตมีไม่ครบถ้วนหรือหายาก และไม่ค่อยแน่ชัด

4.3 แผนที่มีความเสี่ยงมาก (risk and unanticipated future) ลักษณะของแผนจะเพิ่มความยากซับซ้อน มีขอบเขต และกิจกรรม รวมทั้งเวลายาวนานขึ้น ข้อมูลเพื่อทำนายอนาคตอาจแทบจะไม่มีและเชื่อถือไม่ได้ เป็นต้น

สรุป จากแนวความคิดในการแบ่งประเภทแผน สรุปได้ดังนี้

1. แบ่งโดยอาศัยระดับของการวางแผนในองค์การ แบ่งกว้างๆได้ 2 ระดับ คือ

1.1 ระดับสูงเรียกว่า กลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์

1.2 ระดับต่ำเรียกว่า กลวิธี

2. แบ่งโดยอาศัยเวลาในการดำเนินการตามแผน แบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

2.1 แผนระยะยาว

2.2 แผนระยะปานกลาง

2.3 แผนระยะสั้น

3. แบ่งโดยอาศัยลักษณะยากง่ายในคาดคะเนหรือพยากรณ์อนาคตของแผนสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูป คือ

3.1 แผนฝนลักษณะที่มีความแน่นอน

3.2 แผนในลักษณะที่ไม่แน่นอน

3.3 แผนในลักษณะที่มีความเสี่ยงหรือทำนายไม่ได้

4. แบ่งโดยอาศัยลักษณะของการกระทำ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

4.1 แผนใช้ครั้งเดียว หรือแผนที่ไม่กระทำซ้ำอีก

4.2 แผนถาวร หรือแผนกระทำซ้ำอีกได้ต่อไปเรื่อยๆ

5. แบ่งโดยอาศัยลักษณะงาน แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

5.1 งานประจำ

5.2 งานพัฒนา

6. แบ่งโดยอาศัยขั้นตอนของการวางแผน จำแนกได้เป็น 3 แบบ คือ

6.1 แผนตามวัตถุประสงค์

6.2 แผนปฏิบัติการ

6.3 แผนการประเมินผล

หมายเลขบันทึก: 307636เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 07:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2021 04:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท