บันทึกการศึกษาดูงานที่ศาลประชาชนสูงสุด เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552


สถานที่ศึกษาดูงานที่สุดท้าย ซึ่งการมาที่นี่ก็ยังได้รับความอบอุ่นและบรรยากาศของการเป็นกันเองของท่านผู้พิพากษา ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นใจ และประทับใจมากที่สุด ทำให้หวลคิดถึงบรรยากาศเก่า ๆ เมื่อคราวที่มาดูงานครั้งที่แล้ว อย่างไรก็ต้องขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนะครับ แล้วถ้ามีโอกาสหน้าพวกผมจะเยี่ยมยามอีกครั้งนะครับผม

ท่านบัวทอง จัรทะมุลินทร์ เลขาธิการสำนักงานศาล และท่านคำพัน บุญพาคม ประธานผู้พิพากษาศาลการค้าเป็นวิทยากร

            ศาลของสปป.ลาวนั้นจะเรียกว่า ศาลประชาชน ศาลประชานมี 3 ชั้น เหมือนประเทศไทย กล่าวคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา (ซึ่งที่สปป.ลาวเรียกว่า ศาลประชาชนสูงสุด) ศาลชั้นต้นมีในทุกแขวง (จังหวัด) รวม 17 แขวง (จังหวัด) 1 นคร และมีอยู่ในเขตอีก 39 เขต ผู้พิพากษามาจากการคัดเลือกจากสภา จำนวนของผู้พิพากษา 300 กว่าคนทั่วประเทศ ผู้พิพากษาศาลสูงสุดมี 10 ท่าน (ไม่รวมประธานศาล รองประธานศาล)

ศาลประชาชนรับพิจารณาคดีรวมอยู่ในศาลเดียวแล้วแบ่งแยกคณะในการพิจารณาคดีเฉพาะเรื่อง เช่น คดีครอบครัว คดีพาณิชย์ และคดีเฉพาะเรื่องด้านอื่น ๆ สำหรับคดีบางคดีที่ไม่สามารถวินิจฉัยประเภทของคดีได้ประ ธานศาลแขวง (จังหวัด) หรือศาลนคร ชี้ขาดคดีว่าคดีที่เกิดขึ้นเป็นคดีประเภทใด แต่ในปัจจุบันนี้คดีความที่นำมาขึ้นศาลประชาชนยังมีจะนวนไม่มาก

สำหรับคดีพาณิชย์นั้นเป็นคดีข้อพิพาทเชิงธุรกิจ หรือสัญญาซื้อขาย กู้ยืม เช่า ส่วนคดีล้มละลาย และทรัพย์สินทางปัญญายังไม่มี

            ผู้ที่สามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลประชาชนได้ นั้นมีทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล และทุกคนมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งได้หมด และฟ้องได้เองเลย แต่จะต่างกับคดีอาญา คือ วิอาญาลาว พิจารณาคดีลับ ราษฎรมีสิทธิฟ้องคดีอาญาแต่ต้องผ่านอัยการ ประชาชนจะฟ้องศาลคดีอาญาโดยตรงไม่ได้ ซึ่งต่างกับประเทศไทย ส่วนเรื่องสัญชาตินั้นไม่เป็นอุปสรรคในการฟ้องศาลลาว กล่าวคือ คนต่างประเทศสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลลาวได้ ซึ่งคนต่างชาติเมื่อมาขึ้นศาลก็ต้องใช้ล่ามที่รัฐบาลจัดให้ ซึ่งต้องน่าเชื่อถือได้ มีจริยธรรม และก็ได้มีการขึ้นศาลประชาชนสปป.ลาวของเอกชนไทยฟ้องเอกชนไทย หรือฟ้องเอกชนลาว หรือเอกชนลาวฟ้องเอกชนไทย

      เขตอำนาจศาล

            ในเรื่องของเขตอำนาจศาลนั้น ได้กำหนดไว้ในบัญญัติระบบศาล หรือกฎหมายว่าด้วยศาล ซึ่งก็เหมือนกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมของประเทศไทย และเรื่องจำนวนทุนทรัพย์ในการกำหนดเขตอำนาจศาล อีกทั้งการอุทธรณ์ ฎีกานั้นไม่มีการจำกัดจำนวนทุนทรัพย์ไว้ ซึ่งทำให้ทุกคดีแพ่งสามารถฟ้องศาลได้ และสามารถอุทธรณ์ ฎีกาได้ทุกคดี

            ค่าธรรมเนียมศาล

ค่าใช้จ่ายในการนำคดีขึ้นสู้ศาลไม่สูง ค่าธรรมนียมศาลสำหรับคดีบังคับสิ้นสุดคิดเป็น 2% ของมูลค่าที่ร้องขอ

กระบวนการพิจารณาคดีของศาล

เริ่มต้นที่ศาลชั้นต้น (ศาลนครหลวงเวียงจันทน์) รับคดีความ ซึ่งระยะเวลาในการพิจารณา

มีความรวดเร็วทุกคดี โดยเฉพาะคดีพาณิชย์มีความรวดเร็วพอ ๆ กับอนุญาโตตุลาการ ซึ่งกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งปี 2004 กำหนดไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งถ้าหากมีการอุทธรณ์ และฎีกาก็สามารถทำได้ทุกคดี เนื่องจากว่าไม่ได้มีการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ ซึ่งคำพิพากษาศาลประชาชนสูงสุด (ศาลฎีกา) คำพิพากษาเป็นที่สุด ยกเว้นกรณีรื้อฟื้นคดี เพราะว่าปรากฏหลักฐานที่ไม่มีในสำนวนแล้วมาปรากฏภายหลัง

การประนีประนอมยอมความบนศาล

คู่กรณีสามารถตกลงกันในศาลได้

การแก้ไขข้อพิพาทในลาวด้านเศรษฐกิจ มี 2 ทางเลือก คือ

1. กระบวนการก่อนขึ้นศาล – คณะกรรมการไกล่เกลี่ยทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งดูแลโดย กระทรวงยุติธรรม หรืออนุญาโตตุลาการ ซึ่งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยนั้นจะประกอบด้วยนักกฎหมาย หรือนักธุรกิจเฉพาะทาง ไม่ใช่นักกฎหมายตายตัว จะมีจำนวนมากกว่าองค์คณะของศาล และเป็นจำนวนคี่

2. กระบวนการในชั้นศาล – ฟ้องศาลเป็นคดีพาณิชย์

ซึ่งโดยปกติจะใช้ข้อ 1 ก่อน โดยการกำหนดไว้ในสัญญา

ถ้าคดีพาณิชย์เกี่ยวกับคดีอาญา (ฟอกเงิน) ก็ยกทางพาณิชย์

ในกรณีของการคุ้มครองคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่าย ที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น ศาลจะดูเอง ซึ่งเรื่องสัญญาที่คู่สัญญาไม่เท่าเทียมกันนี้ ถ้าเป็นการเอาเปรียบก็จะให้เป็นโมฆะ ส่วนคดีเรื่องของProduct Liability สินค้าที่ไม่ปลอดภัย จะเป็นเรื่องของกฎหมายอาญา

ส่วนเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น สปป.ลาวมีมาตรฐานกฎหมายแรงงานสอดคล้องกับมาตรฐาน ILO และด้านสิ่งแวดล้อมก็มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมมาควบคุม

การบังคับคดี

ส่วนการบังคับคดีนั้นศาลจะบังคับคดีให้ตามคำพิพากษาเท่านั้น ถ้าตกลงกันได้ที่อนุญาโตตุลาการก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่ยอมกันก็มาที่ศาลชั้นต้นให้คู่ตวามปฏิบัติตามคำตัดสินอนุญาโตตุลาการ

การบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศ

ศาลลาวให้ความสำคัญของกฎหมายลาว ซึ่งดูข้อขัดแย้งว่าเกิดที่ตรงไหน ก็ดูเขตอำนาจศาล

การรับรองคำพิพากษาศาลต่างประเทศในศาลลาวไม่ได้ ถ้าประเทศนั้นไม่ได้เป็นภาคีอนุสัญญา แต่ถ้าหากว่าประเทศนั้นเป็นภาคีอนุสัญญาลาวก็จะบังคับตามคำพิพากษาของศาลต่างประเทศให้ โดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ และกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบัญญัติเรื่องการบังคับตามคำพิพากษาศาลต่างประเทศ ผ่านกระบวนการของทูต ซึ่งสามารถบังคับได้เลย ไม่ต้องฟ้องคดีใหม่ และจากนั้นศาลก็จะดูเรื่องของเขตอำนาจศาล

และเอกชนสามารถกล่าวอ้างอนุสัญญาได้ในศาลได้ ในกรณีที่กฎหมายภายในของลาวยังไม่ได้บัญญัติรับรองไว้ ถ้าลาวเป็นภาคี และประเทศนั้นเป็นภาคีด้วย (โดยดูที่กระทรวงการต่างประเทศ)

            ซึ่งคำพิพากษาของศาลประเทศไทย เวียดนาม จีนนั้นสามารถนำขึ้นมากล่าวอ้าง บังคับ และรับรองได้โดยศาลในสปป.ลาว

ความร่วมมือไทยลาวในเรื่องของกระบวนการยุติธรรม (การศาล)

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2552 ได้มีการลงนาใน MOU บันทึกความเข้าใจระหว่างศาลไทยและศาลลาว เรื่องความร่วมมือด้านวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร ซึ่งประเทศไทยก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ศาลลาวอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะเรื่องของข้อมูลข่าวสาร และการาพัฒนาระบบศาล อีกทั้งมีการให้ความรู้ และอบรมผู้พิพากษาผู้บริหารศาลชั้นต้นของสปป.ลาว ที่สถาบันพัฒนาข้าราชการตุลาการ (ถนนรัชดา) ซึ่งได้จัดอบรมผู้พิพากษาไปแล้ว 4 ชุด ชุดละ 2 คน

การพิจารณาเรื่องการร้องขอสัญชาติลาว

เรื่องการร้องขอสัญชาติลาวจะใช้กระบวนการทางด้านฝ่ายบริหารก่อน คือนายบ้าน ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งของกระทรวงป้องกันความสงบทำหน้าที่ดูแลก่อน จากนั้นก็ส่งเรื่องให้กระทรวงป้องกันความสงบเสนอสภาแห่งชาติพิจารณา

 

แนวโน้มของการพัฒนาศาลและกฎหมายของสปป.ลาว

ปีค.ศ. 2015 สปป.ลาวจะจัดตั้งศาลแรงงาน  และศาลปกครอง (เนื่องจากว่าในตอนนี้คดีปกครองนั้นจะต้องมาฟ้องที่ศาลแพ่ง หรือไม่ก็ร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐไปที่กรรมการตรวจตรา = เหมือนผู้ตรวจการแผ่นดิน) โดยยึดหลักโปร่งใส และเป็นเอกราช

ระบบกฎหมายของสปป.ลาวเป็นระบบ Civil Law สปป.ลาวพัฒนา และสร้างกฎหมายลาวจำนวน 88 ฉบับ และนิติกรรมอื่น ๆ กว่า 200 ฉบับซึ่งเป็นกฎหมายในการคุ้มครองบริหารสังคม

ลาวมีรัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อปี 1991 และที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน (ค.ศ.2009) รวม 18 ปีแล้ว ซึ่งมีแนวโน้มที่สปป.ลาวจะทำการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับเงื่อไนไขสังคม ซึ่งกฎหมายฉบับใดขัดต่อกฎหมายสากล (กฎหมายระหว่างประเทศ) ซึ่งกฎหมานที่จะปรับปรุงแก้ไขแน่นอนตัวอย่างเช่น กฎหมายศาล กฎหมายอากร กฎหมายภาษี (ซึ่งต่อไปจะให้บุริมสิทธิ ถ้าลงทุนในเขตที่พัฒนา ยกเว้นภาษีอากร) รัฐบัญญัติว่าด้วยการฟอกเงิน ซึ่งเป็นพระราชกำหนด (มีค่าบังคับเป็นกฎหมายเป็นกฎหมาย แต่ออกโดยฝ่ายบริหาร (รัฐบาลออกโดยประธานประเทศ) โดยไม่ได้ผ่านสภา

ลำดับชั้นของกฎหมาย

รัฐธรรมนูญ

พระราชบัญญัติ

นิติกรรม (กฎหมาย)

-          รัฐบัญญัติ

-          ดำรัส

-          คำสั่ง

-          พระราชกำหนด

-          กฎระเบียบ

            นิติกรรม นั้น ในสปป.ลาวหมายถึง กฎหมายลำดับรองซึ่งมีค่าบังคับเหมือนกฎหมาย และผู้ที่บังคับใช้ก็คือหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนั้น ๆ

 

หมายเลขบันทึก: 307619เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท