บันทึกการศึกษาดูงานที่แผนกการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงแผนการและการลงทุน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม 2552


เจ้าหน้าที่ที่แผนกการส่งเสริมการลงทุนนั้นมีอัธยาศัยไมตรีดีมาก และท่านบุญเฮืองก็ได้ให้ความกรุณามาบรรยายและตอบข้อซักถาม พร้อมทั้งข้อมูลที่สำคัญมากมาย และท่านได้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศไทยและลาวร่วมกัน

ท่านบุญเฮือง เดชวงสอนรองหัวหน้าแผนกส่งเสริมการลงทุนเป็นวิทยากร

            แผนกการส่งเสริมการลงทุน หรือที่ประเทศไทยเรียกหน่วยงานนี้ว่า BOI เป็นหนึ่งใน 5 แผนกของกระทรวงแผนการและการลงทุน แผนกนี้เป็นหน่วยงานแรกที่นักลงทุนต่างชาติ รวมถึงนักลงทุนไทยที่จะมาลงทุนในลาว (ในปัจจุบันนี้คนไทยมาลงทุนในสปป.ลาวเป็นอันดับหนึ่ง) จะต้องมาติดต่อ  

            การดำเนินงานของแผนกนี้นั้นจะเป็นเสมือนเสนาธิการให้กับรัฐบาล ที่ทำหน้าที่รวบรวมความเห็นของหน่วยงานราชการภายในเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมพิจารณาเรื่องการอนุญาตการให้ลงทุนในสปป.ลาว และเป็นศูนย์กลางติดต่อประสานงานกับนักลงทุนต่างชาติ และการประสานงาน รวมทั้งจัดประชุมกับหน่วยงานราชการภายในที่เกี่ยวข้อง และยังทำหน้าที่ 2 ด้าน คือ ส่งเสริมการลงทุนจากภายนอกให้เข้ามาลงทุนภายในสปป.ลาว และส่งเสริมให้คนลาวไปลงทุนภายนอกประเทศ

            ขั้นตอนการดำเนินงานของแผนกนี้นั้นสามารถอธิบายได้โดยย่อ ๆ ดังนี้

            เมื่อนักลงทุนทุกคน (รวมถึงนักลงทุนจากต่างประเทศ) เข้ามาติดต่อกับแผนกการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงแผนการและการลงทุน เจ้าหน้าที่แผนกจะมีเอกสารให้กรอกซึ่งเป็นแบบ Form ซึ่งเป้นใบขออนุญาตลงทุน หรือเรียกว่า ใบอนุญาตการลงทุนของคนต่างชาติ (Foreign Investment License) และเขียน Feasibility Study บทวิพากษ์เศรษฐกิจและสังคม (เรื่อง CSR และสิ่งแวดล้อมก็จะต้องอยู่ในบทวิพากษ์เศรษฐกิจและสังคมด้วย) แนบมาพร้อมกัน

            สำหรับจำนวนทุนของธุรกิจที่อยู่ในบัญชีส่งเสริม Promotion List คือ 3 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา สำหรับการลงทุนในแขวงเล็ก และ 5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา สำหรับการลงทุนในแขวงใหญ่ และบางโครงการที่กฎหมายกำหนด

            และสปป.ลาวก็มี Negative List ซึ่งเป็นอาชีพสงวน หรือโครงการเปิดให้ท้องถิ่นโดยเฉพาะ ถ้าอาชีพหรือธุรกิจที่คนต่างชาติจะเข้ามาประกอบกิจการในสปป.ลาวเข้า Negative List กระทรวงแผนการ ฯ ก็จะปฏิเสธได้เอง

            จากนั้นแผนกก็จส่งเรื่องไปแขนงการที่เกี่ยวข้อง และจัดการประชุมที่ส่วนกลาง โดยเรียกแขนงการที่เกี่ยวข้อง เช่น แขนงการการค้า, แขนงการลงทุน, แขนงการกสิกรรม,  แขนงการขาเข้าขาออก จะดูแลเรื่องการนำสินค้านำเข้า ส่งออกสินค้า

            ถ้าเรื่องการเงินการธนาคารก็จะส่งเรื่องไปที่กระทรวงการคลัง ก่อนจะมาลงทุนก็ต้องศึกษาข้อมูลธนาคารก่อน เพราะมีเงื่อนไขมากมาย จากนั้นก็มาก็ยื่นเรื่องที่กระทรวงแผนการ ฯ

            สำหรับ บริษัท CP ก็ต้องมายื่นเรื่องมาที่นี่ จากนั้นก็ส่งเรื่องไปกระทรวงกสิกรรม มีแขนงการ หน่วยงานที่มีหน้าที่ทำความเห็น แล้วส่งไปหัวหน้าห้องการกระทรวงกสิกรรม และส่งแขนงการ แล้วก็พิจารณาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่

            จากนั้นทางแขนงการที่เกี่ยวข้องก็จะให้ความเห็น ซึ่งจะต้องแยกพิจารณาว่าโครงการที่มาลงทุนเป็นโครงการทั่วไป หรือโครงการที่ติดพันกับสิทธิสัมปทาน (ธุรกิจประเภทนี้เป็นธุรกิจนาดใหญ่ และเกี่ยวกับสิทธิสัมปทานติดพันกับที่ดิน เช่น บ่อแร่ โรงไฟฟ้า เขื่อน) ซึ่งถ้าหากว่าเป็นโครงการทั่วไป ใครมีความเห็นอะไรก็เสนอในที่ประชุมเลย และที่ประชุมก็ให้ความเห็นชอบ ตัดสินใจได้เลย แต่ถ้าหากว่าแขวงอนุญาตไปโดยไม่มีสิทธิ ก็ต้องมาแก้ไข เพราะเรื่องนี้เป้นเรื่องที่ติดกับสัญญาเอกชนต่างชาติ จึงต้องส่งเรื่องเข้ารัฐบาล

           แต่ถ้าเป็นโครงการขนาดใหญ่และเกี่ยวกับสิทธิสัมปทานนั้น เมื่อที่ประชุมมีความเห็นแล้ว จะยังไม่มีการตัดสินใจ แต่จะทำความเห็นที่ประชุม นำเรื่องส่งต่อไปให้รัฐบาลพิจารณา แล้วทางรัฐบาลจะพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นถ้าหากว่าที่ประชุมของรัฐบาลเห็นด้วยก็อนุมัติ แล้วส่งเรื่องมาให้กระทรวงแผนการและการลงทุนดำเนินการต่อไป

           จากนั้นกระทรวงแผนการ ฯ ก็จะเรียกผู้ลงทุนมาเซ็นสัญญา เมื่อตกลงกันได้ทั้ง 2 ฝ่าย แต่ถ้าหากว่า พอตั้งกองประชุมแล้วไม่อนุญาตให้เข้ามาประกอบการ มีจุดบกพร่องในเอกสาร หรือตัวผู้ลงทุนเองก็จะแจ้งนักลงทุนให้ไปแก้ไขให้เรียบร้อย แล้วก็ให้มายื่นใหม่

            เมื่อได้รับอนุญาตแล้วนักทุนก็ดำเนินการเพื่อขอรับใบทะเบียนวิสาหกิจ ซึ่งจะเหมือนกับหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท จากนั้นก็ไปยื่นขอใบทะเบียนอากรที่ฝ่ายทะเบียนอากร กระทรวงการเงิน

สรุปว่าผู้ลงทุนจะต้องมีเอกสารสำคัญ 3 ใบ ดังนี้

  1. ใบอนุญาตการลงทุนต่างประเทศ

  2. ใบทะเบียนวิสาหกิจ กระทรวงการค้า

  3. Tax Registration ทะเบียนอากร

 

ประเด็นเรื่องที่ตั้งของธุรกิจ

            แผนกการส่งเสริมการลงทุนในแต่ละท้องที่ (ถ้าที่นครหลวงก็แผนกการส่งเสริมการลงทุนนครหลวงเวียงจันทน์) ดูแลเรื่องการ Zoning ที่ตั้งให้ พร้อมกับดูแลเรื่องของสภาพแวดล้อม เสียงดัง ที่จอดรถ เช่น สปป.ลาวกำหนดให้บริเวณสนามกีฬาใหม่เป็นเขตอุตสาหกรรม ซึ่งกำลังสำรวจอย่างละเอียดในการจัด Zone เจ้าแขวง รองเจ้าแขวงแต่ละแขวงเป็นประธานโดยตำแหน่งดูแลเศรษฐกิจ และถ้าหากว่าหากผู้ลงทุนมีเจตจำนงมาลงทุนในแขวงขนาดใหญ่ เช่น แขวงหลวงพระบาง แขวงจำปาศักดิ์ก็อาจจะได้รับการส่งเสริมการลงทุน

การปฏิบัติหน้าที่ของแผนกส่งเสริมการลงทุน กระทรวงแผนการและการลงทุน

             กระทรวงแผนการ ฯ พยายามที่จะดำเนินงานให้เป็นแบบ One Stop Service และกำลังจะแก้ไขแบบ Form สร้างเป็น Form Standard สำหรับนักลงทุนต่างชาติ ใช้ได้หลายแขนงการครั้งเดียวจบ ซึ่งจะทำการสอบถามแต่ละแขนงการต่าง ๆ ว่าต้องการอะไรก็ให้นักลงทุนจัดหามาให้หมดเลย

 

ประเด็นเรื่องแรงงานท้องถิ่น

             ทุกแขนงการให้ใช้คนพื้นที่ Local People มากที่สุด โดยจะมีการกำหนดจำนวนแรงงานในพื้นที่ และแรงงานต่างด้าว

 

ประเด็นเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจ

             เรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในธุรกิจ หรือ Nominee นั้น สปป.ลาวไม่ได้กำหนดไว้ ซึ่งบางแขนงการก็ยังได้อนุญาตให้มีจำนวนผู้ถือหุ้นที่เป็นคนต่างด้าวได้ 100 % แต่ก็มีบางธุรกิจที่กำหนดสัดส่วนผุ้ถือหุ้นไว้ เช่น ธุรกิจ Logistic 49, 51 หรือเรื่องเกี่ยวกับ กิจการโทรคมนาคม ซึ่งบางธุรกิจก็จะให้กองประชุมตัดสิน  และความเห็นของแต่ละแขนงการก็ถือเป็นสำคัญ

 

ประเด็นเรื่องจุดแข็งของสปป.ลาวสำหรับนักลงทุน

  1. เสถียรภาพทางการเมือง สงบมานานแล้ว

  2. ทรัพยากรธรรมชาติ

  3. ค่าแรงงานถูก

  4. มีสิทธิพิเศษ GSP ดังนั้นจึงทำให้นักลงทุนจากประเทศอื่น ๆ มาสวมสิทธิ GSP

 

ประเด็นเรื่องกฎหมาย

            สิ่งหนึ่งที่เป็นอุปสรรคสำหรับนักลงทุนต่างชาติที่จะมาลงทุนในสปป.ลาวนั้นก็คือ เรื่องของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการตัดสินใจลงทุนในสปป.ลาว และเป็นผลให้เกิดความไม่เข้าใจในระบบกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายภายในของสปป.ลาว ซึ่งมีหลายคนต่างก็คิดว่ากฎหมายของลาวมีการเปลี่ยนแปลงได้เรื่อย ๆ แล้วก็กฎหมายส่วนกลางและท้องถิ่นไม่เหมือนกัน ซึ่งแท้ที่จริงแล้วกฎหมายระหว่างส่วนกลางและท้องถิ่นเหมือนกัน

            ส่วนในเรื่องของกฎหมายฉบับใหม่กฎหมายปีค.ศ. 2009 นั้น (สภารับรองแล้ว แต่ยังไม่ประกาศใช้) ที่รวมกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุน 2 ฉบับ ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้จึงเกิดความเท่าเทียมกันระหว่างนักลงทุนต่างชาติ และนักลงทุนลาว ซึ่งได้มีการปรับปรุงนโยบายต่าง ๆ และกระจายอำนาจโดยการโอนแขนงการทั่วไปให้กระจาย และให้กระทรวงพาณิชย์ดูแลเรื่องของการลงทุนที่ไม่เกี่ยวกับโครงการสิทธิสัมปทานทั้งหมด ส่วนกระทรวงแผนการลงทุนจะทำงานนโยบาย และงานวิชาการ และหน่วยงานในระดับท้องถิ่นก็เปลี่ยนแปลง

             อีกทั้งมีการเปลี่ยนแปลง และปรับปรุง 20 -15 % เพิ่ม Facility เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับนักลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น ยกเว้นอากร 10 ปี (จาก 7 ปี) อายุการลงทุน 70 ปี การให้สิทธิผู้ลงทุน ถ้าลงทุน 3 แสนเหรียญสหรัฐอเมริกา สามารถถือครองที่ดินได้ และมีรายละเอียดอื่น ๆ อีกตามที่กฎหมายกำหนด

 

ประเด็นเรื่องการคุ้มครองนักลงทุนต่างชาติ

            การคุ้มครอง คุ้มครองโดยแขนงการ การติดตามและตรวจตราเวลามีปัญหา ส่วนกลางมีมาตรการติดตามและสนับสนุนให้ธุรกิจเดินได้ทำให้ผู้ลงทุนที่มีปัญหาได้รับการแก้ไข และผลักดันให้มีรูปธรรมมากขึ้น

 

ประเด็นเรื่องความร่วมมือกันระหว่างไทยและสปป.ลาว

            สปป.ลาวพยายามให้มีการให้ความรู้ และความร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างรัฐและผู้ลงทุนจากไทย และมี Business Forum กับภาครัฐลาวและไทย และผู้ลงทุนไทย

            และมีความต้องการที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง BOI ไทยและลาว

            ลาวเปิดกว้าง เพราะต้องการให้มีการลงทุนมากที่สุด แก้ไขระเบียบให้มีการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด และเตรียมพร้อมการเข้าเป็นสมาชิก WTO และ รองรับ ASEAN



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท