บันทึกการศึกษาดูงานที่บริษัท ซี.พี. (ลาว) จำกัด เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2552


ต้องขอขอบพระคุณพี่ทำนองเป็นอย่างสูง ที่ได้ให้ความรู้และข้อมูลแก่พวกเรา เพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศและการพัฒนาการค้าระหว่างไทยและลาวสืบต่อไปครับ

คุณทำนอง พลทองมาก เป็นวิทยากร

 

           บริษัท ซี.พี. (ลาว) จำกัด จดทะเบียนตามกฎหมายลาว โดยบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อีสาน จำกัดเป็นผู้ถือหุ้น 100 % ซึ่งบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อีสาน จำกัด มีผู้ถือหุ้นข้างมากโดย บริษัท CPF ซึ่งถือหุ้นประมาณกว่า 99.9... % และผู้ถือหุ้นข้างน้อยคือ คือ CP Group ซึ่งถือหุ้นประมาณ 0.1%

 

สินค้า

          ตอนนี้สินค้าหลัก ๆ คือ อาหารสัตว์ ส่วนหมู, ลูกหมู, ลูกไก่, ไข่ไก่, ปลา มีการแปรรูปนิดหน่อย เป็นเนื้อสัตว์แช่แข็ง

            การลงทุนในต่างประเทศนั้น ถ้าบริษัทลูกจะซื้อบริษัทแม่มาขายในนี้ก็สามารถทำได้ แต่กำแพงภาษีนำเข้านั้นเป็นอุปสรรค เนื่องจากว่ากำแพงภาษีสูงมาก

            การแปรรูปเนื้อสัตว์ยังไม่มาก ส่วนใหญ่จะขายตัวเป็น ๆ ให้ เพราะมีโรงชำแระของเอกชนลาวรับซื้อ ยังไม่มีโรงแปรรูปเป็นของตัวเอง ยังไม่ได้ผลิต และส่งออก

            และในช่วงที่ไทยเนื้อสัตว์ในประเทศไทยล้นตลาด หรือช่วงเทศกาลกินเจ ก็จะมีการนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะไข่และเนื้อสัตว์มาขายที่สปป.ลาว เพราะว่าตลาดลาวและไทยเหมือนประเทศเดียวกัน มีแม่น้ำโขงกันเท่านั้นเอง การค้าเสรี ตามตะเข็บชายแดนจะกั้นยาก

            ปัญหาและอุปสรรคในการทำธุรกิจที่ลาว ก็คือ สินค้าไทยและลาวเหมือนกัน ถ้าไทยล้นตลาดก็จะส่งมาขายที่ลาว

 

ประเด็นเรื่อง CSR

            แนวโน้มในเรื่อง CSR นั้นทุกธุรกิจทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนต่างก็ต้องคำนึงถึงประเด็นในเรื่องนี้เป็นสำคัญ สำหรับบริษัทในเครือ CP ด้วยแล้วถือว่าเป็นนโยบายที่ต้องทำให้เกิด CSR ซึ่งที่ประเทศไทยได้ทำสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่ที่สปป.ลาวนั้นกำลังเริ่มทำ แต่ยังทำไม่เป็นรูปแบบ ซึ่ง

            ความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านสิ่งแวดล้อมก็เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งเป็นนโยบายของเครือ แม้ว่าสปป.ลาวจะเป็นประเทศเล็ก แต่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก ดังนั้นการเลี้ยงหมูและไก่ต้องไปตรวจ และเรื่องสิ่งแวดล้อมการกำจัดสิ่งตกค้าง หรือพวกปฏิกูรก็ได้มีการจัดการทำ Bio Gas คือการบำบัด เอา Gas ที่ได้จาก Farm มาปั่นไฟใช้ใน Farm ต่อ ซึ่งก็ได้มีการดำเนินการทำทั้งที่ประเทศไทย และสปป.ลาวมานานแล้ว

 

           

ประเด็นเรื่อง Creative Economy

             สำหรับเรื่อง Creative Economy ในกระบวนการ เป้าหมายแล้วต้องทำ เพราะว่าบริษัท ซี.พี. (ลาว) จำกัด ถือหุ้นโดย CPF ซึ่งทำทุกอย่างเหมือนเมืองไทย จึงมีนโยบายในการจัดทำในเรื่องนี้

 

ประเด็นเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

            ในเรื่องของทุนทางปัญญา ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้านั้น ซึ่งมีกฎหมายเครื่องหมายการค้าของสปป.ลาวกำหนดไว้ แต่การคุ้มครองเครื่องหมายการค้ายังคุ้มครองไม่ชัดเจน อย่างไรก็ตามภาครัฐพยายามที่จะให้ความคุ้มครองแก่เอกชนในเรื่องนี้

             สถาบันจดทะเบียน Logo ในสปป.ลาวนั้นมี กรมคุ้มครองลิขสิทธิ์ดูแล แต่ต้องไปจดทะเบียนกับกรม

             CPF จดจากส่วนกลาง จดแล้ว Inter หรือไม่ ออกต่างประเทศคุ้มครองหรือไม่ต้องดูที่ข้อกฎหมาย

             การเตรียมการสำหรับเรื่องการลอกเลียนแบบสินค้า – ฟ้องร้องได้ ได้รับการคุ้มครอง แต่ไม่ทั้งหมด (ในสปป.ลาวเคยมีการฟ้องร้องระหว่างสบู่ฝุ่นบรีส กับสบู่ฝุ่นลาวบริสุทธิ์)

              CP กำลังจะทำลาว Global Brand แต่เนื่องจากทุกวันนี้เป็น Brand ที่เพิ่งทำออกมา Brand เพิ่งเริ่มเดินได้ และจะทำให้เป็นสากล Global Brand ซึ่งทำแล้วในสินค้าบางชนิด

 

ความเสี่ยง

               ข้อตกลงเรื่องการทำธุรกิจต่างกัน สิทธิทางธุรกิจก็ไม่เท่าเทียมกัน เพราะกฎหมาย เมื่อต่างชาติมาลงทุน BOI ก็ให้ความคุ้มครองผู้ลงทุน (แม้ว่า BOI ไม่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน แต่ BOI ส่งเสริมการเสียภาษี ยกเว้นภาษีบางสินค้า ซึ่ง ลดภาระส่วนหนึ่ง แต่ก็มีความผันผวนในอีกส่วนหนึ่ง) แต่ในแง่ปฏิบัติใช้ไม่ได้จริง เช่น ภาษีซ้อน การทำธุรกรรมทางธุรกิจต้องเสียภาษี อันที่จริงผู้ลงทุนควรได้รับสิทธิประโยชน์ตรงนี้ แต่เมื่อไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีทำให้ต้นทุนสูงขึ้น เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ ดูว่าต้นทุน (Cost) ที่เพิ่มขึ้น กับ Margin ที่แข่งขัน สู้ได้หรือไม่

              การลงทุนในต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยน 3 สกุล บาท ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา และกีบ

              อัตราแลกเปลี่ยนก็คือความเสี่ยง การบริหารธุรกิจ เรา control เรื่องนี้ไม่ได้ มีข้อได้เปรียบ และเสียเปรียบ

               หลัก ๆ CP ใช้บริการการเงินของ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารพัฒนาลาว ธนาคารการค้าต่างประเทศ ซึ่งตัวธนาคารเอง ความต่างในอัตราดอกเบี้ยไม่เป็นอุปสรรค

Rate เมืองไทยขึ้นลง นโยบายให้ใช้เงินกีบตั้งราคาสินค้า แต่เราเอาสินค้าเข้ามาชำระเป็น US มีความต่างระหว่าง US กีบ บาท มีความขึ้นลง ดูการบริการจัดการภายใน

            เริ่มมีบริษัทคู่แข่ง ซึ่งเพิ่งเริ่มเข้ามาในลาว มาประกอบธุรกิจใกล้เคียงกัน

 

การบริหารความเสี่ยง

            การโอนเงินข้ามประเทศไม่มีปัญหา บริษัทให้บัญชีของธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย ซึ่งSupport ดี

            การป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน ไม่มีการทำประกันอัตราแลกเปลี่ยนทำลำบาก ค่าเงินไทยแข็ง การส่งออกก็ลำบาก แต่ถ้าค่าเงินอ่อน การนำเข้าก็ลำบาก ถ้าการเงินไม่มีเสถียรภาพ ก็มีปัญหาการส่งออก

            มีประกันความเสี่ยงในเรื่องอื่น ๆ แต่อัตราแลกเปลี่ยนยังไม่ได้มีการทำประกัน

            และมีการทำประกันยานยนต์ ประกันชีวิต อุบัติเหตุ ให้กับพนักงาน ซึ่ง CPF ประกันให้บุคลากร คนท้องถิ่นอยู่ลาวก็ประกันที่ลาว คนไทยก็ประกันที่ไทย และประกันความเสี่ยงในการทำงานต่างประเทศ ซึ่งบริษัทมีสำนักประกันของเครือ CP อยู่ ทำหน้าที่คอยจัดการเรื่องพวกนี้

           

ประเด็นเรื่องแรงงาน

           จำนวนพนักงานประมาณ 3,000 กว่าคน

           การจ้างแรงงานนั้น แรงงานส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานลาว ผู้บริหารคนไทยมี 16 คน ซึ่งคนไทยที่มาทำงานต้องมี Work Permit สิทธิของบริษัททำ Work Permit

            และก็ได้ทำเรื่องขอโควต้าการใช้แรงงานลาวกับกระทรวงแรงงาน ซึ่งโดยปกติตามหลักเกณฑ์ของสปป.ลาวนั้นบอกว่าผู้บริหาร นักวิชาการ ให้จ้างแรงงานลาวก่อน แต่เมื่อหาคนงานลาวทำงานไม่ได้จริง ๆ ก็จ้างแรงงานต่างด้าวได้ และที่บริษัท ซี.พี. ลาว จำกัด ก็ยังได้ทำ Contract รับนักศึกษาลาวเข้าฝึกงาน

           นโยบายของ CP นั้นจะให้คนไทยมาน้อยที่สุด ถ้ามาคนเดียวได้ก็จะให้มาคนเดียว

           สร้างคนท้องถิ่นขึ้นมา แต่เพราะว่าบริษัทเพิ่งตั้งจึงเอาคนไทยมาสปป.ลาว และก็ได้พยายามตั้งคนท้องถิ่นเป็นผู้บริหารด้วย เช่น CP ในไต้หวัน มีคนไทยเพียง 2 คน President กับนักบัญชี ซึ่งดึงคนท้องถิ่นขึ้นมาทำงาน จากนั้นคนไทยก็ย้ายไปทำงานในประเทศอื่น

            ในเรื่องการคุ้มครองแรงงานนั้น CP กระทำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามกฎมหายลาวทั้งหมด เพราะว่าก่อนที่บริษัทออกกฎระเบียบอะไรก็ตามทั้งหมด จะต้องดูตามกฎหมายลาว ยิ่งไปกว่านั้นยังได้มีการให้ประโยชน์มากกว่ากฎหมายลาว โดยยึดรูปแบบเมืองไทย มีสวัสดิการที่ดี เช่น เรื่องการรักษาพยาบาล ที่นอกเหนือประกันสังคม และให้กับครอบครัวพนักงานด้วย ซึ่งไม่มีเอกชนรายไหนทำ และมีสวัสดิการให้เบิกได้ตามระดับชั้นการทำงานขึ้น มีเงินสนับสนุนรายได้โดยการปรับขึ้นเงินเดือน มีความพยายามสร้างให้คนมีความรับผิดชอบงานมากขึ้น

 

การถือครองทรัพย์สิน

            บริษัท ซี.พี. ลาว จำกัดได้สัมปทานการเช่าที่ดินมาจากรัฐ แล้วมาปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เอง เพื่อมาตั้งโรงงานอาหารสัตว์ ซึ่งกำหนดระยะเวลาแล้วแต่ละที่ เช่น 20 ปี 30 ปี 40 ปี แต่ถ้ารัฐบาลสปป.ลาวไม่ให้ต่อสัญญาสัมปทาน ทรัพย์สินนั้นก็ตกเป็นของรัฐ ส่วนที่ทำการนั้นก็เช่าอาคารจากเอกชน เนื่องจากว่าที่ดินในสปป.ลาวนั้น การเช่าดีกว่าซื้อ เพราะว่าการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่นี่จะมีราคาสูงมาก (ค่าเช่าที่ทำการบริษัท ซี.พี. ลาว จำกัด 4 ห้อง 800 เหรียญ) ดังนั้น เช่าดีกว่า จะได้เอาเงินที่เหลือไปทำอย่างอื่นดีกว่า เช่น Wall Mart ไม่มีทรัพย์สินเป็นของตัวเอง แต่มีเงินสดเป็นมหาศาล แต่อาคารเป็นของคนอื่น

            ส่วนรถยนต์สำหรับขนส่งนั้น ที่สปป.ลาวนี่บริษัทจะซื้อเอง ไม่เช่า เพราะว่าซื้อถูกกว่า ซึ่งจะแตกต่างจากที่เมืองไทย เพราะว่าเช่ารถถจะถถูกกว่าซื้อเอง

 

แนวโน้มการพัฒนาธุรกิจ

           ในสายการผลิตอื่น ๆ ในรูปแบบ Modern Trade นั้น สำหรับการดำเนินธุรกิจของ CPF แล้ว ที่ประเทศไทย CPF ลงทุนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มจากอาหารสัตว์ Feed เพื่อจำหน่ายสำหรับฟาร์ม Farm Processing แล้วก็แปรรูปพัฒนาเป็นอาหาร Food ซึ่งที่สปป.ลาวนั้นจะช้าหรือเร็วก็ต้องทำ แต่ที่สปป.ลาวในปัจจุบันนี้ในเรื่อง ความสะอาด และสุขอนามัย ของ Food ซึ่งถ้าไม่พร้อมก็จะยังไม่ทำ เพราะจะมีเรื่องของ Product Liability Law

            ส่วนสิ่งที่จะเร่งพัฒนาธุรกิจมนตอนนี้ก็คือ การส่งเสริมให้มีการทำ Contract Farming ให้เยอะ ให้เอกชนลาวผลิตพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์สัตว์ โดยการเอาลูกพันธุ์สัตว์ไปให้เลียง และส่งนักวิชาการไปดู ให้ชาวบ้านเลี้ยง เมื่อหมู หรือไก่โต ก็จับมาขาย จัดว่าเป็นการกำลังสร้างงานให้เกษตรกรชาวลาว สนับสนุนให้เกษตรกรทำ Contract Farming มากกว่าที่ CP จะมาทำเอง แต่ในช่วงระยะแรก ๆ นี้ ชาวบ้านยังไม่มั่นใจในรายได้มากนัก แต่ทาง CP ก็ชี้ให้เห็นประโยชน์ว่าการเลี้ยงหมูนั้นมีรายได้มั่นคง มีรายได้ทุก 4 เดือน ซึ่งลูกหมู อาหาร ยา วัคซีน นักวิชาการเป็นของบริษัท CP จัดหาไปให้ ส่วนคนเลี้ยง คอก โรงเรือน และแรงงานเป็นของชาวบ้านเอง เสมือนกับว่ารับจ้างบริษัทเลี้ยง ซึ่งไม่มีขาดทุน เพียงแต่ได้กำไรมาก หรือน้อยเท่านั้นเอง

หมายเลขบันทึก: 307609เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2009 00:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

Creative Economy >>> ประเด็นนี้เป็นหัวข้อที่กำลังมาแรงจริงๆ น่ะค่ะ

ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยแล้ว ตอนนี ยังข้ามไปถึงประเทศลาว อีกด้วยหรอค่ะ

ความรู้ใหม่เลยค่ะ

ใช่แล้วครับ เห็นไหมว่า ควรจะไปกับเรา...อิอิ

ok . deee รักพี่ ทำนอง คับ .

กุ่มเลี้ยงไก่ไข่ทุ่งมั่ง

ຢາກໄຫ້ ຫົວໜ້າ ທຳນອງ ພົນທອງມາກ ມາຫຼີ້ນທົ່ງມັ່ງ.....

ຢາກບອກວ່າທ່ານ ທຳນອງ ເກ່ງສຸດຍອດໆ....

ผมจบจุลชีววิทยา Microbiology อยากไปทำงานที่ซีพีลาวครับ ของฝากอีเมลล์ไว้นะครับ สนใจจริงๆ [email protected]

ผมสนใจอยากทำงานที่ ซี พี หรือไม่บริษัทเอกชนที่ไทยไปลงทุ่น ที่ลาวผมเรียนจบ คณะบริหาร เอกการตลาด ครับมีความสนใจเป็นอย่างมากขอฝากเมล์ไว้ด้วยน่ะครับขอคำชี้แนะด้วยครับ [email protected] พอมีความรู้ทางภาษาและวัฒธรรมของประเทศลาวครับ

บริษัท ใน ส.ป.ปลาว ตั้งอยู่ที่บ้านอะไร

พ.น.ง ส่งไข่ไก่บอลิสัดชีพี ขี้โกงมาก ไข่ไก่ไม่ได้คุณพาบเลีย ควนตวดสอบด่วน มีเบีติดต่อผู้จัดกานที่ลาวไมครั

ຮຽນຈົບຊີວະວິທະຍາ, ຄະນະວິທະຍາສາດທຳມະຊາດ, ມະຫາວິທະຍາໄລແຫ່ງຊາດລາວ ປີ 2017 ມີຄວາມສົນໃຈຢາກເຮັດວຽກທີ່ບໍລິສັດ CP ລາວຂໍຟາກ mail ໄວ້ເດີ່ຂໍຄວາມກະລຸນາແນະນຳແດ່

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท