บันทึกการดูงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำนครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2552


สำหรับพวกเราแล้วนั้น มีความรู้สึกว่าคุณกนกวรรณ และคุณพนมนั้นได้ให้ความอนุเคราะห์แก่พวกเราเป้นอย่างมาก อีกทั้งได้ดำเนินการจัดการช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการติดต่อประสานงาน และการที่ช่วยมาเป้นวิทยากรพิเศษให้กับพวกเรา ...ขอบคุณมาก ๆ เลยนะครับ
คุณกนกวรรณ เกตุชัยมาศ เลขานุการโทด้านเศรษฐกิจ เป็นวิทยากร
           
บทบาทของสถานทูตไทยทที่มีต่อเอกชนไทยในสปป.ลาว
              สถิติการลงทุนสะสมของประเทศไทยประมาณ 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ส่วนอันดับลองลงมาคือ ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม
              สำหรับเรื่อง MIGA นั้นที่เกี่ยวกับสถานทูตไทย ณ นครหลวงเวียงจันทน์ไม่มี เพราะคนส่วนใหญ่ใช้กระบวนการอนุญาตุลาการ และความตกลงระหว่างประเทศต่าง ๆ ไม่ได้แก้ปัญหามากนัก ยกเว้นเรื่องของการขนส่ง ซึ่ง Practical ใช้ได้
             หน้าที่ส่วนใหญ่จะเป็นการประสานงานให้ความช่วยเหลือแก่นักลงทุนไทยที่เข้ามาปรึกษาเวลาที่ติดปัญหา ซึ่งเมื่อมาขอความช่วยเหลือ หรือขอให้อำนวยความสะดวกในบางเรื่อง ทางสถานทูตก็จะประสานงานเรื่องเศรษฐกิจให้
             นโยบายของสถานทูตจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการช่วยสนับสนุน ประสานกับนักลงทุนไทย ช่วยส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนไทย ให้ข้อมูลในการติดต่อหน่วยงานต่าง ๆ ในสปป.ลาว และให้ข้อมูลด้านกฎหมาย อีกทั้งข้อมูลเกี่ยวกับกระทรวงแผนการและการลงทุนของลาว และจัดทำคู่มือการลงทุนในสปป.ลาว
            และรับทราบปัญหา และข้อเรียกร้องขอความช่วยเหลือของนักลงทุนไทย เช่น การขอให้ช่วยสนับสุนนในภาพรวม ขอสัมปทาน
            ส่วนเรื่องการฉ้อโกง หรือการโกงกันไปโกงกันมานั้น สถานทูตไทยจะเป็นตัวไกล่เกลี่ยให้
 
การแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนของสปป.ลาว  
          กระบวนการออกกฎหมายของสปป.ลาวนั้นอยู่ในรัฐธรรมนูญ แต่มีระเบียบอีกมากำหนดขั้นตอน
          สำหรับเรื่องการปรับปรุงกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่นี้ หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง คือ คณะกรรมการกระทรวงแผนการและการลงทุน ต่อมาก็ส่งเรื่องไปกระบวนการกระทรวงยุติธรรม เอาคณะกรรมการกรม ตรวจสอบการสร้างกฎหมายว่าถูกต้องหรือไม่ ผู้แทนทำความเห็น ถ้าสภาเห็นชอบให้ผ่าน ก็ส่งไปหากระทรวงยุติธรรมประกาศ
          กลางปีสภาแห่งชาติลาวผ่านกฎหมายคุ้มครองการลงทุน โดยเอากฎหมาย 2 ฉบับมารวมกัน แต่ยังไม่ได้ประกาศใช้ เพราะกำลังอยู่ในช่วงระหว่างการร่างระเบียบ ผ่านสภาเมื่อเดือน มิถุนายน 2552 สภาเห็นชอบในหลักการแต่ไม่ประกาศ ต้องออกเป็นดำรัสนายก เนื่องจากว่ามีเนื้อหาบางอย่างที่ยังตกลงกันไม่ได้ สภาอนุมัติในกรอบกว้าง ๆ ว่ารวมกฎหมาย 2 ฉบับ
        สำหรับในส่วนของเนื้อหานั้นยังไม่ชัดเจนมากนัก เช่น นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิใช้ที่ดินได้ แต่ไม่ได้มีสิทธิซื้อ แต่ยังไม่กำหนดเงื่อนไข
 
การเตรียมตัวสำหรับเรื่องของการค้าเสรี
          AFTA จะเริ่มอย่างจริงจัง เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งกำหนดเปิดเสรีเต็มรูปแบบ แต่สปป.ลาว พม่า กัมพูชาได้รับการผ่อนผันให้เปิดเสรีช้ากว่า ในปี ค.ศ.2015 ซึ่งลาวใช้ประโยชน์ได้มากกว่าฝ่ายเดียว ไทยต้องเปิดเสรี ยกระดับมาตรฐานสินค้าให้สามารถส่งออกไปได้
           และสปป.ลาวเตรียมเข้า WTO โดยการปรับปรุงยกระดับมาตรฐานกฎระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับ WTO
           อีกทั้งเตรียมเปิดตลาดหลักทรัพย์ มีการออกกฎหมาย และสร้างคนให้ใช้หลักเกณฑ์เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           การเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว นั้นทำให้การค้าระหว่างประเทศไทยและสปป.ลาวดีขึ้นมาก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์อยากเพิ่มมูลค่าการค้าให้ได้ 3 เท่า ส่งเสริมให้สปป.ลาวส่งออกสินค้าให้มากขึ้น สปป.ลาวส่งออกไฟฟ้าไปไทยได้มาก เช่น โครงการน้ำเทิน 2 เพิ่มมูลค่าการค้า และเพิ่มความสมดุลของมูลค่าการค้าขึ้นมาก
           GMS ในด้านโครงข่ายคมนาคม สร้างเสร็จไปหลายสายแล้ว R3A สร้างระบบ Logistic ศูนย์กระจายสินค้า
 
ประเภทของการลงทุนในสปป.ลาว
            1. พลังงาน – ไทยมาลงทุนมากสุด เป็นโครงการใหญ่ ส่วนใหญ่จะร่วมทุนกันกับประเทศฝรั่งเศส ประเทศเวียดนาม ประเทศเกาหลี ซึ่งโครงการส่งไฟฟ้าไปประเทศไทยนั้นจะต้องมีคนไทยร่วมหุ้นด้วย 25 %
            2. เกษตร
            3. เหมืองแร่
 
ประเด็นเรื่องแรงงาน
          ทรัพยากรบุคคล ประชากรมีน้อย เพราะว่าส่วนใหญ่เป็นคนเผ่าอยู่ตามภูเขา ส่วนคนในเมืองส่วนใหญ่จะไปทำงานต่างประเทศ ดังนั้น แรงงานลาวมีน้อยและหายาก (เพราะคนไทยก็อยากได้คนลาวมาทำงาน) จึงต้องนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ เป็นแรงงานต่างชาติ เช่น แรงงานจีน แรงงานเวียดนามมาทำงานในสปป.ลาว เพราะว่าสปป.ลาวต้องการแรงงานเยอะ
           Skill Labor บุคลากรเจ้าหน้าที่หายาก ทำให้คนลาวมีการแย่งตัวกันเยอะ เพราะมีน้อย จึงเป็นผลให้เงินเดือนค่าจ้างคนลาวสูงกว่าที่เป็นจริง
           แรงงานไทยก็มีเยอะ แต่ไม่ได้จดทะเบียนกับสถานทูต ส่วนใหญ่จะข้ามแดนไป ๆ มา ๆ ทำเป็น Job ๆ ผู้รับเหมาเป็นงานเฉพาะกิจ
 
อุปสรรคการค้าการลงทุนในสปป.ลาว
           ข้อจำกัดของที่นี่ คือ ข้อมูลหายากกว่าที่อื่น ยิ่งถ้าเป็นภาษาอังกฤษหายิ่งหายากกว่า
           บุคลากรไม่เยอะ การพัฒนาและการส่งเสริมธุรกิจอย่างจริงจังเป็นไปได้อย่างล่าช้า
            การเจาะหาข้อมูลต้องมา Survey เอง เจาะลึกเอง การขอใบอนุญาตลงทุนจะต้องเข้าไปเองทุกหน่วยงาน การขอใบอนุญาต นักลงทุนทำเอง  
            แต่สำหรับคนไทยแล้วนั้น อุปสรรคในเรื่องเหล่านี้ก็ยังมีอยู่ แต่ว่าได้เปรียบกว่านักลงทุนในประเทศอื่น ๆ เนื่องจากว่า ประเทศไทยใกล้กับสปป.ลาว ไปมาหาสู่กันง่ายกว่า และภาษาลาวไม่ต่างกันมาก
            การมาลงทุนต้องมี Partner ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ (คนลาว) การเข้ามาลงทุนในลาวยาก การติดต่อก็ยิ่งยากขึ้น แต่การหา Partner ก็ต้องระมัดระวังเหมือนกัน อาจจะถูกหลอกกันไปกันมา
           
           
 
 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท