ความเหมือนที่แตกต่าง ระหว่างหมอผีกับหมอคน(แพทย์)


ความจริงนั้น จริงๆ แล้วมัน ...

ความเหมือนที่แตกต่างระหว่างหมอผีกับหมอคน(แพทย์)

 ภก.ศุภรักษ์ ศุภเอม

 

หากจะมองกันอย่างฉาบฉวยแล้ว   เรากะเกณฑ์เอาว่าชาวบ้านที่ไปรักษาโรคกับหมอผี  ช่างเป็นชาวบ้านที่โง่งมงายและไร้เหตุผลจนน่าขัน     เนื่องจากในปัจจุบันนี้ผู้มีการศึกษาเกือบทุกคนนั้น           หากมีอาการเจ็บป่วยไม่สบายก็จะไปรักษาตัว   ที่โรงพยาบาล       แต่อย่างไรก็ตามหมอผี  คนทรง     หรือบรรดา  เจ้าพ่อ  เจ้าแม่  ก็ยังมีพื้นที่ยืนหยัดยู่ในสังคมไทย   ได้อย่างเหนียวแน่น  หมอผี  หรือคนทรงหลายคนโด่งดังและร่ำรวยมหาศาล   จนแพทย์หลายๆคนยังต้องอิจฉา   แต่ถ้าเราลองมองดูให้ดีๆ   จะพบว่าวิชาชีพแพทย์จะคล้ายคลึงกันกับอาชีพหมอผี  อยู่หลายส่วนทีเดียว  โดยเฉพาะการ

ประเมินความสามารถทางอาชีพ   สำหรับแพทย์แล้ว    คนไข้ประเมินความสามารถของแพทย์โดยดูจากสถาบันที่จบการศึกษามา   ว่าแพทย์จบจากที่ไหน    นอกจากนี้ ชื่อเสียงของแพทย์ยังมีส่วนสำคัญมาก   ที่จะทำให้คนไข้เชื่อถือ   กล่าวง่ายๆ  คือว่า  แพทย์จะเก่งไม่เก่งจะดูจากว่าเรียนจบจากที่ไหน   หรือมีชื่อเสียงแค่ไหน

 

   หากเป็นแพทย์ที่เรียนจบจากอเมริกา หรืออังกฤษ คนไข้ก็จะเชื่อถือสูงกว่าแพทย์ที่เรียนจบมาจากประเทศนามิเบียแน่ๆ   อีกส่วนหนึ่งก็คือความมีชื่อเสียงของแพทย์นั้น  ทำให้คนไข้เชื่อถือมากขึ้นโดยเฉพาะแพทย์ดังๆ    ที่ได้ออกทีวี หรือลงหนังสือพิมพ์  ในส่วนหมอผีก็ เช่นกัน  หากหมอคนนั้นเป็นผู้มีอาคม  จากพม่า  หรือเขมรก็จะได้รับการนับถือจากชาวบ้านมาก   เนื่องจากหมอผีเขมร หรือหมอผีจากพม่าได้รับการยอมรับสูงมากจากสังคมไทย       แต่ถ้าหากหมอผีนั้น  เรียนจบมาจากเมืองลอนดอน   หรือ นิวยอร์ค หมอผีคนนั้น  อาจถูกคนหัวเราะเอาได้

    ซึ่งการอ้างอิงสถาบันที่แพทย์หรือหมอผีเรียนจบมา    ช่วยสถาปนาความสามารถในวิชาชีพแพทย์และหมอผีเหมือนกันนั้น    ช่างเป็นความเหมือน ที่น่าขันมาก    เนื่องจากการประเมินความสามารถของแพทย์และหมอผีในสังคมไทยนั้น    มีความเป็นวิชาการอยู่น้อยและน่าเชื่อถือได้ไม่มาก    แต่สังคมไทย  ก็ยังยึดถือสถาบันที่เรียนจบมากับ ชื่อเสียงที่มีอยู่นั้นเป็นตัวตัดสินคุณค่าของแพทย์และหมอผีเหมือนๆกัน   

 

ในทางตรงกันข้าม  การประเมินความสามารถของนักฟุตบอลนั้น  กับมีความเป็นวิชาการและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการประเมินวิชาชีพแพทย์อย่างมากมายมหาศาล    เพราะการประเมินความสามารถนักฟุตบอลนั้น  จะดูจากสถิติการทำประตู   การครองบอล  การส่งบอล และ การสกัดประตู   ดังนั้นการประเมินความสามารถนักฟุตบอล  จะดูจากสถิติและข้อมูลของผลงานนักฟุตบอลที่ผ่านมามิได้ประเมินจากชื่อเสียงหรือสถาบันที่จบการศึกษามา      แต่อย่างไรก็ตามการใช้ข้อมูลด้านสถิติที่จำเป็นได้แก่  อัตราการรักษาแล้วคนไข้หายป่วยหรืออาการดีขึ้น    การเกิดภาวะแทรกซ้อน     อัตราการตายของผู้ป่วยในแพทย์แต่ละคน    มาประเมินความสามารถของแพทย์โดยตรงจะดีกว่าการประเมินแบบดั้งเดิมที่งมงาย 

 

  และมีความเป็นวิชาการต่ำ  และมีลักษณะเหมือนการประเมิน    ความสามารถของหมอผีอย่างมาก         จะเห็นได้ว่า  ตลาดนักเตะนั้นมีความเป็นมืออาชีพ   และน่าเชื่อถือมากกว่าการประเมินความสามารถของแพทย์ในมุมมองของคนไทยอย่างเทียบไม่ติดเลยทีเดียว

 

การรักษาของแพทย์แผนปัจจุบัน  ที่ชาวบ้าน ต่างพากันเชื่ออย่างเป็นตุ เป็นตะ ว่ารักษาตามหลักวิทยาศาสตร์ นั้น  จริงๆ แล้ว อาจไม่ใช่ก็ได้   เนื่องจากปัจจุบัน  การรักษาโรคต้องยึดถือ ตามแนวทางที่มีชื่อว่า Evidence Base Medicine คือ การรักษาที่หลักฐานงานวิจัย มาสนับสนุน     ในอดีต แพทย์ ไม่ได้ใช้  หลักฐานงานวิจัย  มาใช้ ตัดสินใจ  ในการรักษาผู้ป่วย  แต่แพทย์ ตัดสินใจ รักษาผู้ป่วย  ตามความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาจากอาจารย์   และประสบการณ์การรักษาโรคของตน    ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับหมอผี  ที่ได้ปราบผีด้วย การใช้ ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาจากอาจารย์   และประสบการณ์ในการปราบผีที่ผ่านมา     ไม่ได้มีการใช้หลักฐานทางวิชาการ ที่มีชื่อ เก๋ๆว่า Evidence Base Medicine     ปัจจุบัน เราพบว่า  แพทย์มากกว่า ร้อยละ 50 ยังคงรักษาโรคตาม ความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาจากอาจารย์   และประสบการณ์การรักษาโรคของตน อยู่นั่นเอง     ในการจะเปลี่ยนให้แพทย์ไปรักษาโรค  ตามแนวทางที่ได้จากการวิจัย  ยังได้รับการยอมรับจากแพทย์น้อยอยู่    

เนื่องจากแพทย์ ไม่ต้องการให้อำนาจ ของตนลดทอนลงไป     กลายเป็นแพทย์ต้องรักษาโรคตามตำรา  ตามเอกสารวิชาการ   หมอผีก็เช่นกัน  หมอผีไม่ต้องการ  ข้อสนับสนุนทางวิชาการ  หรืองานวิจัย  ว่าการปราบผีของตน  ถูกหลักวิทยาศาสตร์หรือไม่   เนื่องจากเป็นการท้าทายอำนาจของหมอผีเช่นกัน   จากเรื่องราวเหล่านี้ ผู้อ่านคงพอเห็นความเหมือนกันของหมอผี กับหมอคนกันแล้วน่ะครับ  สาธุ

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 307551เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2009 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ความเชื่อ วิถีชีวิต
  • ขอบคุณมุมมองดีๆ หมอผี หมอคนค่ะ
  • ฮ่าๆๆ  สงสัยว่า รูปภาพที่เอามาลงน่ะ  เกี่ยวกับหมอผีและหมอคนอย่างไร
  • รู้สึกว่า...จะทำให้ผู้อ่านอิจฉาตาร้อนนะคะ...น้องชาย

เดี๋ยวนี้คนที่เรียกตัวเองว่าปัญญาชน ไม่น้อยกลับมาพึ่งหมอดู หมอผีเช่นกัน

(สังเกตได้จากหน้าจอทีวีที่มีเรื่องทำนองนี้มากขึ้น)

สงสัยโลกคงจะได้เวลาหมุนกลับแล้วมั้งครับ

ภาพนี้ ถ่้ายกับ ภรรยา ที่เชียงใหม่

ไป บรรยาย เรื่อง สมาธิบำบัด

ให้ กรมพัฒนาการแพทย์แพทย์ไทย ธค. 51 ครับ

งานแนวมานุษยวิทยา จะมีงานแนววิพากษ์อยู่มาก

ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

ต้องขออภัย แพทย์ทุกท่าน มา ณ ที่นี้ด้วยครับ

ผมว่า การศึกษา เรื่องผีฟ้า ของพี่โกมาตร น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการหันหน้าเข้าหากันระหว่าง หมอผี กับ หมอคน นะครับ

แล้วถ้าหมอคนเป็นหมอผีไปในตัวได้ ผมว่ายิ่งดีใหญ่ คนคงขึ้นตรึม

เห็น ด้วย ครับ เวลา ผมไปเยี่ยม คนไข้

ผมมักเล่น ตลก ด้วย การ ท่องคาถา เป่ากระหม่อม คนไข้เล่น ๆ

เป็น ที่ ตลก ขบขัน สนุก กัน พอ ทำให้ ลืมความทุกข์ ของคนป่วยได้ครับ

โอม .... สูเซาสา เซาสา ส่วงบ่ะ ส่วงบ่ะ เพี๊ยง

ถ้าหากเราและหมอผีร่วมมือกันก็จะมีประโยชน์ไม่น้อย โดยเฉพาะในชุมชนเรา

เดินเข้าไปให้ถึงก้นบึ้งของหัวใจหมอผี แล้วมาร่วมมือกันว่าเมื่อไรที่จะต้องส่งหมอคน เมื่อไรแค่หมอผีก็เอาอยู่ แบบ Seamless เอ๊ะเข้ากับ HA เลยนะคะ

ชอบคาถาของคุณหมอจังค่ะ "โอม .... สูเซาสา เซาสา ส่วงบ่ะ ส่วงบ่ะ เพี๊ยง" เห็นทีจะต้องนำมาใช้กับคนไข้ที่ออกไปเยี่ยมบ้านบ้างแล้ว

แต่คาถาบทนี้สงสัยน้ำชาจะท่องได้คนเดียว เพราะนอกนั้นเห็นทีว่าจะใช้คาบทนี้ไม่แข็งแรงนัก เดี๋ยวคาถาจะไม่ศักดิ์สิทธิ์ 555

ขอแก้คาถานิดนึงนะคะ "โอม .... สูเซาสา เซาสา ซวงวะ ซวงวะ เพี๊ยง"

งานที่ถนัด ของผม

คืองาน ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง และ primary

รพ.แก่งคอย มีอะไรปรึกษาได้ครับ ยินดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท