ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กับเทคนิคการจดจำ แบบสามห่วง สองเงื่อน สามเป้า


ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

สารนิพนธ์เพื่อคุณ

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต 

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์  มหาวิทยาลัยปทุมธานี

การพัฒนาชนบทได้รับความสำคัญในนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่  1 เป็นต้นมา  ภายใต้แนวคิดการพัฒนากระแสหลักที่เน้นการสร้างความทันสมัย  การพัฒนาเศรษฐกิจ  และความเท่าเทียมกันของประชาชนในทุกภูมิภาค  รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาชนบทที่เน้นการกระจายรายได้และความเจริญสู่ชนบทและภูมิภาค  อย่างต่อเนื่อง  จนส่งผลให้ประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่นานาประเทศให้การยอมรับเป็นอย่างสู่ ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ  "เศรษฐกิจพอเพียง"  ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน  เพราะหากเราไม่ไปพึ่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป  จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่  วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้   ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง"  จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ   เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก

บนพื้นฐานของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้เป็นแนวทางสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนชาวไทย และเป็นหลักปรัชญานำทางในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) จะเห็นว่าการกระจายโอกาสที่เท่าเทียมกันของคุณภาพชีวิตประชาชนโดยกลยุทธ์การยึดคนในพื้นที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมที่มีฐานรากมาจากรากฐานความเข้มแข็งของชุมชนทั้งในชนบทและในเมือง (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 พ.ศ. 2545 - 2549 หน้า 46) ในภาคยุทธศาสตร์การปรับ

 

โครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน มีเป้าหมายสำคัญ คือ การลดสัดส่วนคนยากจนของประเทศให้ อยู่ในระดับไม่เกินร้อยละ 10 ของประชากรรวมในปี 2549 และเพิ่มความเข้มแข็งของชุมชนและประชาชนในระดับต่าง ๆ ให้มีความมั่นคงทางสังคมทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ รวมทั้งมีระบบบริหารจัดการของชุมชนที่ดีให้ครอบคลุมทุกตำบลทั่วประเทศภายในปี 2549 (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2544, เรื่องเดิมหน้า 7)

การพัฒนาประเทศในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  10  (พ.ศ. 2550 - 2554)  ยังคงอัญเชิญ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นหลักปฏิบัติในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ และยึดกระบวนทรรศน์การพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวมที่มี“คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” ต่อเนื่องจากแผนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  9   (พ.ศ. 2545 - 2549)  วิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศ มุ่งพัฒนาประเทศไทยสู่ “สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน (green and happiness society)” โดยคนไทยมีความรู้คู่คุณธรรม รู้เท่าทันโลก เป็นคนดี มีวินัยและรับผิดชอบ มีความภูมิใจสามารถสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ชุมชนและสถาบันสังคมมีความเข้มแข็ง อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขและเกื้อกูลภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา และความหลากหลายทางทรัพยากรธรรมชาติ มีระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ สามารถพึ่งตนเองและแข่งขันได้ รวมทั้งมีการกระจายการพัฒนาที่เป็นธรรม อยู่ภายใต้ระบบบริหารจัดการประเทศที่โปร่งใส เป็นธรรม และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม อันจะเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สมดุล และสร้างความสุขอย่างยั่งยืนโดยมีพันธกิจของการพัฒนาประเทศ ดังนี้  (1) พัฒนาคุณภาพคนในชาติให้มีความรอบรู้คู่คุณธรรมและสร้างสังคมฐานความรู้ให้เป็นภูมิคุ้มกัน พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (2) เสริมสร้างความเท่าเทียมและความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม รวมพลังเป็นเครือข่ายการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง มุ่งคงความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นฐานที่มั่นคงในการดำรงวิถีชีวิตและการพึ่งตนเองขณะเดียวกันสร้างสังคมที่เป็นธรรม คนในชาติมีความเสมอภาคในสิทธิและเสรีภาพ (3) ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง มั่นคง แข่งขันได้และเป็นธรรม ที่เน้นการพึ่งตนเอง ลดการพึ่งพาจากภายนอก มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีคุณภาพ แข่งขันได้มีเสถียรภาพและมีการกระจายการพัฒนาอย่างเป็นธรรม เป็นการปรับโครงสร้างการผลิตระหว่างภาคเกษตร อุตสาหกรรมและบริการสู่การผลิตบนฐานความรู้ ที่เน้นกระบวนการผลิตที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีการพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่ม ควบคู่กับการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ พลังงาน องค์ความรู้และกลไกที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพและสร้างภูมิคุ้มกันของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อกระจายความเจริญและรายได้ (4) พัฒนาระบบบริหารจัดการประเทศให้เกิดธรรมาภิบาลในทุกระดับมีการกระจายอำนาจ เสริมสร้างประชาธิปไตย บริหารจัดการด้วยความโปร่งใส รับผิดชอบต่อสาธารณะยุติธรรม มีกลไกและกฎระเบียบที่เอื้อต่อการพัฒนาที่สร้างความเป็นธรรมในสังคม และเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมพัฒนาของคนส่วนใหญ่ในชาติทุกระดับ นำไปสู่สังคมที่มีความสุขบนรากฐานการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมที่สมดุลและยั่งยืน

 ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็น ที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญาและความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

 

 

สามห่วง สองเงื่อน สามเป้า

 

- ห่วงที่1 ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดี  ที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น  เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระบบพอประมาณ

- ห่วงที่2 ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

- ห่วงที่3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

- เงื่อนที่1 เงื่อนไขความรู้  ประกอบด้วยความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบ  ที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกันเพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

- เงื่อนที่2 เงื่อนไขคุณธรรม  จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม  มีความซื่อสัตย์  สุจริต  มีความอดทน  มีความเพียรใช้  สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

 

นำสู่ 
 

ชีวิต/เศรษฐกิจ/สังคม 

 

เป้าที่1 สมดุล/เป้าที่2 มั่นคง/และเป้าที่3ยั่งยืน

ภาพการฝึกอบรมที่องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งบัว

 

 

 

 


 

หมายเลขบันทึก: 306896เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2009 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เทคนิคการจำ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามห่วง สองเงื่อน สามเป้า ได้มาจาก ท่านผศ.ดร.ธันวา จิตต์สงวน ที่มหาวิทยาลัยปทุมธานี และการอบรมพนักงานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อได้ทำสารนิพนธ์แล้วตัวผมเองคิดว่าตัวเองอยู่แค่ในระดับขั้น การจดจำเพื่อนำไปปฎิบัติ ซึ้งเมื่อได้ศึกษาต่อเนื่องอย่างลึกซึ้งแล้วจะนำไปเผยแพร่ต่อไป

ทาง รพ.อุบลรัตน์ ก็เน้น ส่งเสริม ความพอเพียงเช่นกัน

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ
  • แค่ชื่อเรื่องไม่เข้าใจอะไรเลย แต่พอได้อ่านลึกซึ้งเลยทีนี้ สามห่วง สองเงื่อน สามเป้า
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ดี ๆ ค่ะ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยมครับ

ตรางการบรรยายและฝึกอบรม งานเกษตรกำแพงแสน 3-10 ธันวาคม 2552 โดยสถาบันวิจัยและพัฒนากำแพงแสน (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

เสริมสร้างงานวิจัย

ใส่ใจบริการ

ประสานความคิด

มุ่งผลผลิตสู่ชุมชน

3ธ.ค.52

10.00-10.20 การเพาะและดูแลกล้าผัก

10.25-10.45การผลิวัสดุปลูกไม้ประดับ

14.00-14.20อ้อยคั้นน้ำพันธุ์กำแพงแสน

14.25-14.45การทำน้ำตาลงบจากน้ำอ้อย

4ธ.ค.52

10.00-10.20ละมุดย้อยสีธรรมชาติ

10.25-10.45เทคนิคการยืดอายุดอกไม้ในแจกัน

14.00-14.20เทคนิคการขายพันธุ์มะนาวเชิงการค้า

14.25-14.45เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู

5ธ.ค.52

10.00-10.20เทคนิคการขายพันธุ์มะนาวเชิงการค้า

10.25-10.45เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู

10.50-11.10เทคนิคการเก็บรักษามะนาวให้ได้2เดือน

13.30-14.30พิมเสนน้ำและยาหม่อง ทำเองได้ง่ายจัง

14.35-15.05การ์ดน่ารักจากใยหนอน

15.10-15.30การผลิตวัสดุปลูกไม้ประดับ

6ธ.ค.52

10.00.00-10.20การเก็บและจัดการเมล็ดพันธุ์ในครัวเรือน

10.25-10.45การเพาะและดูแลกล้าผัก

10.50-11.10การปลูกและดูแลผักกระถาง

13.3.-14.30พิมเสนน้ำและยาหม่อง ทำเองได้ง่ายจัง

14.35-14.55สายพันธุ์ต้นไม้กินแมลงในประเทศไทย

15.00-15.20การปลูกเลี้ยงไม้กินแมลง

7ธ.ค.52

10.00-10.20เทคนิคการขายพันธุ์มะนาวเชิงการค้า

10.25-10.45เทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดู

10.50-11.10เทคนิคการเก็บรักษามะนาวให้ได้2เดือน

13.3.-14.00การ์ดน่ารักจากใยหนอน

14.05-14.35สอนน้องพับหนอน

14.40-15.10การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษวัสดุเหลือใช้

8ธ.ค.52

10.00-10.20การผลิตวัสดุปลูกไม้ประดับ

10.25-10.45การปลูกและดูแลผักกระถาง

14.00-14.20อ้อยคั้นน้ำพันธุ์กำแพงแสน

14.25-14.45การทำน้ำตาลงบจากน้ำอ้อย

9ธ.ค.52

10.00-10.20ละมุดย้อมมีธรรมชาติ

10.25-10.45เทคนิคการยืดอายุดอกไม้ในแจกัน

14.00-14.20การปลูกกล้วยจากต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

14.25-14.45การปลูกและดูแลผักกระถาง

10ธ.ค.52

10.00-10.20เทคนิคการเก็บมะนาวให้ได้2เดือน

10.25-10.45สายพันธุ์ต้นไม้กินแมลงในประเทศไทย

10.50-11.10การปลูกเลี้ยงไม้กินแมลง

14.00-14.20การเก็บและจัดการเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในครัวเรือน

14.25-14.55สอนน้องพับหนอน

เพื่อสะดวกต่อการเตรียมสถานที่หากเข้าอบรมเป็นหมู่คณะโปรดแจ้งชื่อ สถาบัน/โรงเรียน/หน่วยงานและจำนวนผู้เข้าอบรม มายังคุณยุพิน อ่อนศิริ โทรศัพท์/โทรสาร 034 355368 ภายในวันที่ 30 พ.ย. 52

เเวมูหัมหมัดซอลาฮูดิน แวดอเลาะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท