วิชาสังคมศึกษา:ให้นักเรียนค้นคว้าอะไรดี


จะเรียนสังคมศึกษาให้ได้ดี นักเรียนต้องเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

       เมื่อดูคะแนน o-net วิชาสังคมศึกษาของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่า คะแนนต่ำทั่วประเทศ ก็น่าแปลกใจ นักเรียนเรียนในห้องตามหลักสูตร แล้วยังไปเรียนพิเศษต่อกับติวเตอร์คนดัง สอนดี อีก แต่คะแนนไม่สัมพันธ์กัน ทั้งที่เรียนมาก รู้มาก คะแนนน่าจะมากไปด้วย แต่คะแนนกลับต่ำลงอย่างน่าใจหาย บทสรุปเกือบทุกครั้งก็จะบอกว่านักเรียนอ่อนด้อยในการอ่าน คิดวิเคราะห์ ย้อนเสนอแนะให้ครูปรับเปลี่ยนการสอนเพื่อให้นักเรียนมีความรู้และทำคะแนนได้ ผู้เป็นครูมีความเจ็บปวดใจไม่น้อย วิชาที่เราสอนเอง ทำไมผลจึงออกมาอย่างนี้ ก็ไม่โทษใคร โทษตัวเองง่ายที่สุด

       เมื่อมาดูข้อสอบ ก็ต้องยอมรับนะว่ายากเหมือนกัน เช่น คำถามถามว่า กีฬาโอลิมปิกจัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าองค์ใด ยอมรับว่าไม่ได้สอนนักเรียน และที่เรียนพิเศษก็ไม่น่าจะได้สอน ในวิชาประวัติศาสตร์มีอารยธรรมกรีกก็จริง แต่ก็ไม่สอนความรู้อย่างละเอียดถี่ถ้วนเช่นนี้ ถ้าสอนความรู้ปลีกย่อยทั้งหมดคงไม่จบหลักสูตรกันพอดี ความรู้เช่นนี้ต้องอาศัยการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ต้องชอบอ่าน ชอบฟัง และสนใจสิ่งต่างๆอย่างรอบด้าน เช่น เมื่อมีกีฬาโอลิมปิค มีการเล่าถึงความเป็นมา เมื่อได้ฟังก็รู้ สมัยก่อนก็คือมีความรู้รอบตัวมากนั่นเอง แต่ในปัจจุบันนักเรียนไม่ค่อยอ่านหนังสือที่นอกเหนือตำราเรียนมากนัก จึงต้องหาทางให้เขาได้เรียนรู้โดยการค้นคว้า เพื่อการอ่าน และนำสู่การวิเคราะห์ได้ในที่สุด

       ฉะนั้นวิชาสังคมศึกษาจึงต้องให้นักเรียนศึกษาค้นคว้านอกเหนือสาระการเรียนรู้หลักในหลักสูตร เช่น ค้นคว้าเรื่องกีฬาโอลิมปิค เจิ้งเหอ พระถังซำจั๋ง กุ๊บไบลข่าน     เจงกีสข่าน เส้นทางสายไหม มาร์โคโปโล แมกเจลแลนด์ แมกนา กาต้าร์ รัสปูติน บอยคอต คว่ำบาตร แซงค์ชั่น ฯลฯ(ข้อสอบเคยออก เช่น บุคคลในข้อใดไม่เคยเดินทาง หรือเดินทางไปในเส้นทางสายไหม เป็นต้น) ข้อสอบวิเคราะห์ในวิชาสังคมศึกษาก็มี แต่เขาไม่ได้ให้ข้อมูลมาเพื่อวิเคราะห์แต่ต้องจำข้อมูลมาเองเพื่อการวิเคราะห์

       ผู้เขียนได้ให้นักเรียนค้นคว้าในสิ่งเหล่านี้และให้นำเสนอให้เพื่อนในชั้นเรียนฟังทุกชั่วโมงก่อนสอนตามหลักสูตร ก็น่าสนใจและสร้างความรู้ให้นักเรียนได้อย่างดีเลยทีเดียว เพราะครูไม่สามารถสอนรายละเอียดได้ทั้งหมด "สอนให้เขารู้วิธีหาความรู้ ไม่ใช่บอกความรู้ให้เขา ถ้าสอนความรู้ ชั่วชีวิตคงสอนกันไม่ได้หมด และคาดหวังว่าคะแนนโอเนตคงดีขึ้นด้วยเช่นกัน นี่เป็นวิธีหนึ่งเท่านั้นเองว่า เราชาวสังคมศึกษาควรให้นักเรียนค้นคว้าอะไรดี

 

หมายเลขบันทึก: 306895เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2009 13:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

พาน้องๆเยาวชนจิตอาสา มาเยี่ยมเรียนรู้ค่ะ..ขอให้มีความสุขนะคะ

สวัสดีค่ะคุณนงนาท

.รู้สึกดีมากๆที่ได้เห็นนักเรียนทำกิจกรรมดี ๆ มีจิตอาสา ร่วมต่อต้านจากภัยยาเสพติด

.ขอให้คุณนงนาทมีความสุขกับการทำงานค่ะ

เข้ามาชม มาเชียร์ และ มาให้กำลังใจครับ  กับสังคมศึกษาที่กว้างขวาง

สวัสดีค่ะคุณsmall man

.ขอบคุณมากค่ะที่มาเชียร์ คนเราอยู่ได้เพราะกำลังใจ

.ขอให้คุณมีกำลังใจในการทำงานเช่นเดียวกันนะคะ

สวัสดีครูติ่ง

มาให้กำลังใจครับ ยังนึกถึงถึงเสมอครับ

สวัสดีค่ะ ดร. เมธา สุพงษ์

.ขอบคุณค่ะที่เข้ามาให้กำลังใจและไม่ลืมกัน

.ก็ยังระลึกนึกถึงท่านเช่นกันค่ะ คงสบายดีนะคะ

สวัสดีคะดิฉันก็ครูสังคมเห็นด้วยอย่างยิ่งคะ

สวัสดีค่ะคุณ mena

.เราครูสังคมศึกษาด้วยกันย่อมรู้หัวอกเดียวกันนะคะ

.นักเรียนจำนวนไม่น้อยเขาสอบตรง สอบโควต้าได้แล้วก็ไม่สนใจสอบโอเน็ตอีก ข้อสอบก็เป็นปัจจัยหนึ่งด้วยเช่นกัน

.เราก็ต้องทำงานหนักต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจจะเป็นเพราะนักเรียนไม่ค่อยให้ความสนใจค่ะ

เลยทำคะแนนได้น้อย...แม้จะมีการติว ถูกสอนมาอย่างดี

มาเยี่ยมค่ะ

 

สวัสดีคุณแดง

.ขอบคุณค่ะที่เข้ามาทักทาย เยี่ยมเยียน พร้อมดอกไม้สวย ชื่นใจ

.ดิฉันก็เห็นด้วยกับคุณแดงค่ะ

มาให้กำลังใจครูสังคมครับ

สวัสดีค่ะคุณเบดูอิน

.ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามาให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท