เพาะกล้าพันธุ์เก่ง เริ่มทดสอบครั้งที่ ๑ แสดงเพลงเต้นกำ(เพลงเกี่ยวข้าวแบบสุพรรณ)และเพลงพวงมาลัย ที่บ้านแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์


เพาะกล้าพันธุ์เก่งเพลงพื้นบ้าน

 เริ่มทดสอบครั้งที่ ๑

แสดงเพลงเต้นกำ

 (เพลงเกี่ยวข้าวแบบสุพรรณ)

และเพลงพวงมาลัย

 ที่บ้านแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์

วันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๒

     โครงการเพาะกล้าพันธุ์เก่งเพลงพื้นบ้าน ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้ดำเนินกิจกรรมมาตามลำดับตั้งแต่วันแรกในวันพิธีเปิดซึ่งผมได้เล่าให้ฟังไปแล้ว วันที่ ๒ เยาวชนๆทั้ง ๒๐ คน เริ่มอบรมศิลปการแสดงกับผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ วันที่ ๓ อบรมการฝึกพลังเสียงกับคุณอัยย และคณะ วันที่ ๔-๕ พักค่าย วันที่ ๖ ไปฝึกร้องเพลงกับครูชินกร ไกรลาศ แล้วเดินทางไปบ้านแม่ขวัญจิต ที่สุพรรณ วันที่ ๗-๘ไหว้ครูแม่บัวผัน แม่ขวัญจิต เยี่ยมครูเพลง และฝึกเพลงเต้นกำกับเพลงพวงมาลัย กับแม่ขวัญจิต พ่อสุจินต์และคณะ พอวันที่ ๙ จึงเริ่มทดสอบครั้งที่ ๑ การทดสอบครั้งนี้เยาวชนจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่มกลุ่มละ ๑๐ คนคละชายหญิง เพื่อให้มีทั้งพ่อเพลงและแม่เพลง ให้แต่ละกลุ่มแต่งเนื้อร้องเอง คิดบทพูดบทเจรจา มุกตลกกันเอง ให้เวลาเพียง ๑ คืนกับครึ่งวัน

    ในคืนวันที่ ๘ เด็กเครียดกันมากนั่งแต่งเนื้อร้องกันจนดึกแล้วก็ต้องจำเนื้อให้ได้ น้องจิ น้องกุ้ง น้องทอม ต่างก็เป็นกำลังสำคัญในกลุ่ม โดยเฉพาะน้องจิต้องแต่งเนื้อหลายบทให้คณะ จนสับสนจำเนื้อร้องของตัวเองแทบไม่ได้

     รุ่งเช้าวันที่ ๙ เด็กๆยิ่งเครียดมากขึ้นมีการฝึกซ้อมเป็นกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการและเป็นทางการแต่มือยังต้องถือเนื้อร้อง ใกล้เวลาแสดงก็มีการแต่งตัวชุดไทยๆ ขณะนั้นเจ้าหน้าที่ทีวีไทยพร้อมกล้องถ่ายทำจำนวนมากก็เดินทางมาติดตั้งอุปกรณ์

 

     เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. การทดสอบก็เริ่มขึ้นกลุ่มที่ ๑ เป็นกลุ่มน้องจิ แสดงกันได้ดี มีปัญหาใหญ่คือหลายคนลืมเนื้อร้องแต่ก็แก้ปัญหากันไปได้อย่างสนุกสนานท่ามกลางเสียงหัวเราะและเอาใจช่วยจากผู้ชม กลุ่มที่๒ เป็นกลุ่มน้องทอม และน้องกุ้ง กลุ่มนี้ก็มีปัญหาเหมือนกลุ่ม ๑ แต่เด็กๆทุกคนร้องเพลงพื้นบ้านกันได้ดี ทั้งๆที่บางคนเพิ่งหัดร้อง

     เห็นเด็กๆแสดงกันแล้วรู้สึกตื้นตันใจ..ว่าเพลงพื้นบ้านไม่สูญแน่....ถ้ายังมีเยาวชนที่มีใจรักเช่นนี้

หมายเลขบันทึก: 306835เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2009 07:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มาเยี่ยมยาม ชาวสุพรรณ ครับ

มาเชียร์เด็กบางลี่กับครูพิสูจน์ครับ

การอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เด็กไม่ลืมรากเหง้าของตนเองครับ

ผมชอบฟังเพลงลูกทุ่ง เพราะเพลงลูกทุ่งมีรากเหง้าของวัฒนธรรม ผมชอบที่จะฟังเพลงพื้นบ้านเพราะเห็นอารมณ์ขันของชาวบ้าน การมองโลกในมุมมองต่างๆที่ชาวบ้านที่เป็นพ่อเพลงแม่เพลงเขามอง

การประกวดแบบนี้ดีกว่าประกวดนางงามเป็นไหนๆครับ

ขอบคุณ ท่าน jj มากครับ งานนี้มากันหลายจังหวัดเลยครับ

สวัสดีค่ะ ครูพิสูจน์

เร่งเพาะพันธุ์กล้าใหม่ให้แข็งแกร่ง

ด้วยแรงรักและศรัทธาในเพลงพื้นบ้านเรา

ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูและลูกๆเดินหน้าต่อไปค่ะ

 

 

ขอบคุณ ลุงอัยการ มากครับ งานนี้เลือดเนื้อเชื้อไขบางลี่วิทยาของผมได้ความรู้ประสบการณ์ อันมีคุณค่ามากครับ ขอให้ลุงอัยการสุขภาพแข็งแรงนะครับ

ขอบคุณครู ป.๑ ยังติดตามให้กำลังใจเราชาวบางลี่วิทยาเสมอ ขอให้มีความสุขกับการปิดเทอมนะครับ...หรือว่าจะเปิดแล้วครับ

มีครูดี ลูกศิษย์ก็เป็นคนดี เป็นคนเก่ง เป็นกำลังใจให้ครับ

Picture_148

มีครูดี ลูกศิษย์ก็เป็นคนดี เป็นคนเก่ง เป็นกำลังใจให้ครับ

Picture_148

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

คนเคยเกี่ยวข้าวมากับมือ จะเรียกว่ามืออาชีพก็ได้นะอาจารย์

เมื่อก่อนที่หนองบัว นครสวรรค์ยังไม่มีรถเกี่ยว

ต้องเกี่ยวข้าวด้วยเคียวนี่เลย เกี่ยวจนเคียวที่ว่าคมนั้นทื่อเลยแหละ

เห็นเด็กมาถือเคียวเลยรำลึกถึง ตัวเองเมื่อสี่สิบปี่ที่แล้วทันที

อยากจะชวนลูกศิษย์อาจารย์มาลองเกี่ยวจริง ๆ ซะบ้างรับรองจะไม่เครียดเหมือนท่องเพลงเกี่ยวข้าวแน่นอน

โดยเฉพาะเอาแรงกันลงแขกเกี่ยวข้าวนั้นสนุกมาก หนุ่ม ๆ สาว ๆ ยิ่งสนุกเหมือนเด็กร้องเพลงบนเวทีเลยเชียว

เจริญพร

กราบขอบพระคุณ ผอ.ในดวงใจของผม..ผอ.ประจักษ์ ยังติดตามผลงาน...สิ่งเป็นผลผลิตของท่านอยู่เสมอ...ขอให้สุขภาพดี..มากๆครับ

กราบนมัสการ ท่านมหาแล ด้วยความขอบพระคุณยิ่งที่เมตตา..เข้ามาร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยๆเรา...เด็กรุ่นหลังๆจากนี้ไปอีกไม่นาน...คงไม่รู้จักเคียว ไม่รู้จักคะเน็ด กันแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท