เร้าติ้งโปรโตคอลแบ่งตาม Distance Vector และ Link State


Distance Vector and Link State

เร้าติ้งโปรโตคอลแบ่งตาม Distance Vector และ Link State

   ความหมายของ Distance Vector คือการที่เร้าเตอร์เรียนรู้เน็ตเวิร์กโทโพโลยีและซับเน็ตแอดเดรสปลายทางต่างๆ โดยอาศัยการแลกเปลี่ยนตารางเร้าติ้งเทเบิลทั้งตารางกับเร้าเตอร์เพื่อนบ้าน เพื่อเรียนรู้ว่าเร้าเตอร์ที่มีแอดเดรสปลายทางเป็น Subnet Address อะไรบ้าง พร้อมทั้งอัปเดทตารางเร้าติ้งเทเบิลของตนเอง หากมีแพ็คเก็ตที่มีแอดเดรสปลายทางเป็น Subnet Address ตรงกับเร้าเตอร์เพื่อนบ้านที่ได้เรียนรู้มา แพ็กเก็ตก็จะถูกส่งไปยังเร้าเตอร์ดังกล่าว

   Link State หมายถึง การที่เร้าเตอร์ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสถานะอินเตอร์เฟซทั้งหมดของเร้าเตอร์เองไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้าน เพื่อให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านได้นำไปคำนวณโครงสร้างเน็ตเวิร์กโทโพโลยีเอง และนำไปใช้ในการหาเส้นทางที่ดีที่สุดเอง

   ข้อแตกต่างระหว่าง Distance Vector และ Link State นั้นคือ ในแบบ Distance Vector เร้าเตอร์จะเชื่อเร้าเตอร์เพื่อนบ้านเป็นหลัก เร้าเตอร์เพื่อนบ้านอัปเดทเร้าติ้งเอ็นทรีใดๆมา ก็จะทำการอัปเดทในเร้าติ้งเทเบิลของตัวเองไปตามนั้น แต่ Link State เร้าเตอร์จะพยายามค้นคว้าให้ได้มาซึ่งเน็ตเวิร์กโทโพโลยีทั้งหมดด้วยตัวเองก่อน แล้วค่อยๆหาเส้นทางที่ดีที่สุดในภายหลัง

คำสำคัญ (Tags): #distance vector and link state
หมายเลขบันทึก: 306790เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2009 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท