เร้าติ้งโปรโตคอล Interior Gateway Routing Protocol (IGRP)


IGRP

เร้าติ้งโปรโตคอล Interior Gateway Routing Protocol (IGRP)

   IGRP นั้นมีความหมายเหมือนกันกับ RIP ในแง่ของการทำงานทั่วไป เพราะอาศัยหลักการแบบ Distance Vector เหมือนกัน คืออาศัยการบอกต่อๆกันไป และก็มีการอิมพลีเมนท์หลักในการป้องกันเร้าติ้งลูปเหมือนกัน โดย IGRP นั้นมีหลักการคำนวนค่า Cost ที่แยบยลกว่าแบบ RIP เพราะมีการนำเอาค่าของแบนด์วิดธ์ (bandwidth) และเวลาหน่วง (delay) ของเน็ตเวิร์กเข้ามาคำนวนเพื่อหาเส้นทางที่ดีที่สุด ขณะที่ RIP จะใช้เฉพาะแค่ Hop Count เพียงอย่างเดียวซึ่งอาจจะให้เส้นทางที่ดีได้ไม่เท่าไหร่นัก สิ่งที่เหมือนกันคือ เรื่องของการที่ไม่ส่ง Subnet Mask ไปกับการอัปเดทเร้าติ้งเทเบิล ส่งผลให้ทั้ง RIP V.1 และ IGRP ไม่สามารถรองรับเน็ตเวิร์กที่วางแผนแอดเดรสแบบ VLSM ได้ สามารถเปรียบเทียบระหว่าง RIP และ IGRP ดังตารางต่อไปนี้

 

ฟีเจอร์

RIP Default V.1

IGRP Default

ความถี่ในการอัปเดทตารางให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้าน Update time

30 วินาที

90 วินาที

ค่า Cost หรือค่า Metric

Hop Count

เป็นค่าที่คำนวนได้จากแบนด์วิดธ์ และค่า Delay(โดยดีฟอลต์) สามารถรวมค่าความน่าเชื่อถือ (reliability), โหลด (load) และขนาดเฟรมสูงสุด (MTU)

Hold Down Timer

180

280

Triggered Update หรือ Flash update

มี

มี

ส่ง Subnet Mask ไปในตารางที่อับเดทไปให้เร้าเตอร์เพื่อนบ้านหรือไม่

ไม่

ไม่

ค่า Cost หรือ Metric ที่ถือเป็นค่าที่ทำให้เน็ตเวิร์ก Unreachable

16

ค่า Delay ที่เท่ากับ 4,294,967,295 ส่วนค่า Hop Count สูงสุดของ IGRP โดยดีฟอลต์มีการกำหนดไว้เท่ากับ 100 Hop Count

 

คำสำคัญ (Tags): #igrp
หมายเลขบันทึก: 306786เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2009 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท