คนไทยลืมขุมทรัพย์ของบรรพชน


 

               ศิลปะและวัฒนธรรมเป็นสิ่งแสดงความเจริญด้านภูมิปัญญา  ความคิดสร้างสรรค์  และความเป็นอกลักษณ์ของกลุ่มชน  โดยถ่ายทอดจากบรรพชนสู่ชนรุ่นหลัง  ผ่านทางขนบธรรมเนียม  ประเพณี  วิถีชีวิต  ความเชื่อ  การแสดง  และการละเล่นพื้นบ้าน

          สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมอันเนื่องจากเป็นแหล่งรวมผู้คนจากทุกสารทิศนับแต่โบราณกาล  การที่ชนกลุ่มต่าง ๆ สามารถอยู่ร่วมกันได้นั้นมีสาเหตุหลายประการ  โดยสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งคือ  โลกทัศน์ที่มีต่อสรรพสิ่งรอบตัว  ซึ่งเมื่อมองลึกลงไปในความเชื่อของกลุ่มชนต่าง ๆ จะพบว่ามีความคล้ายคลึงกันในการให้ความเคารพต่อธรรมชาติ  และสิ่งแวดล้อม

                แต่จากการครอบงำของระบบทุนนิยมที่มีต่อความคิด  การผลิต  การบริโภค  ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ลืมเลือนคำสอนของบรรพชน  หันไปสนใจแต่ความเจริญทางเทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ มุ่งแสวงหาเงินทองเป็นสำคัญ  ศิลปะวัฒนธรรมถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างความร่ำรวย  โดยไม่แยแสสนใจข้าวของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างจริงจัง  หลายคนได้ชื่อว่าเป็นผู้ดูแลวัฒนธรรมแต่กลับไม่เข้าใจวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้  ไม่เข้าใจรากฐานความคิดของวัฒนธรรมอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่มั่นคงและยืนยาว  ทำให้วัฒนธรรมเป็นเพียงเครื่องมือให้คนเหล่านั้นก้าวหน้าในตำแหน่ง  หน้าที่การงานเท่านั้นเอง ไม่มีคุณค่าต่อสังคมและชุมชนเลยสักนิด  ทำให้เกิดความคิดว่าน่าเสียดายที่วัฒนธรรม  ภูมิปัญญาอันทรงคุณค่าแห่งกลุ่มชนอันยิ่งใหญ่ถูกทำลายด้วยมือของลูกหลานผู้โฉดเขลา

หมายเลขบันทึก: 306580เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2009 19:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เห็นด้วยอย่างยิ่ง แล้วจะทำอย่างไรให้คนรุ่นหลังเห็นคุณค่าของรากเหง้าที่แท้จริงของชีวิต ถ้าผู้ที่เกิดก่อนใช้เป็นเพียงขั้นบันไดในการก้าวเดินเท่านั้น

ถ้าจะให้คนรุ่นหลังเห็นคุณค่าของรากเหง้าที่แท้จริงของชีวิต ก็คงต้องฝากไว้ที่คุณครู โดยอาศัยความร่วมมือกับท้องถิ่น และชาวบ้านในการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ให้ชาวบ้านเป็นแกนหลัก ไม่เน้นผลประโยชนืที่เป็นตัวเงินหรือตำแหน่ง เน้นที่ความรู้และจิตสำนึกที่จะเกิดกับเยาวชน อันุ่นี้เป็นหลักการกว้าง ๆ นะครับ รายละเอียดต้องศึกษาบริบทของพื้นที่และกลุ่มชนนั้น ๆ อย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งถึงดำเนินการที่ไม่เกิดการต่อต้าน

สวัสดีครับ อ.ตุ้ย

เห็นภาพไม่บอกไม่รู้ว่าเป็นคนคุ้นเคย

คิดว่าความรู้ ประสบการณ์ที่อาจารย์มี หากนำมาถ่ายทอดใน gotoknow จะได้เป็นอย่างดี

ผมจะรออ่านเรื่องราวนะครับ

 

สวัสดีครับ อ.ตุ้ย..

ยินดีที่ได้มาเจอในโลกใบนี้ครับ 
ประเทศไทยอาจเร่งรุดไปด้วยกระแสเทคโนโลยีมากมาย ทรงพลังและแดกดิบ...แต่ก็คงไม่ลืมว่าคนส่วนใหญ่ยังเป็น "เกษตรกร" -ชาวนา  และนั่นก็หมายถึงอย่าลืมรากเหง้าของเรา..ของบรรพชน

ขอบพระคุณครับ

มาทักทายในเช้าที่ชีวิตดูเหมือนกำลังจะได้พักผ่อนอีกครั้ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท