การประชุม CIO กศน.อย., ถอดบทเรียนหลักสูตรใหม่ ฯลฯ


เว็บไซต์ทุก กศน.อ. ต้องเวิร์ค, ปี 53 อ.ตัดยอดบัญชี งปม.ออนไลน์, เสนอให้ยุบรวมรายวิชาและวิธีเรียน

12 - 16  ตุลาคม  2552

 

         - เข้าประชุมบุคลากร กศน.อ.ผักไห่ ครั้งที่ 16/2552 ( 12 ต.ค.52 )

 

         - ไปประชุมกลุ่ม CIO ครั้งที่ 1/2552 ( 13 ต.ค.52 ) ณ ห้อง KM สนง.กศน.จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย CIO จาก 14 อำเภอ รวม 19 คน ( ขาด อ.วังน้อย กับ อ.อุทัย เพราะติดไป รับ-ส่ง ผู้บริหาร ) โดยข้าพเจ้าเป็นผู้ดำเนินการประชุม และนายธนารักษ์  ม่วงเกษม บันทึกการประชุม
            ที่ประชุมหาวิธีสนองนโยบายของท่าน ผอ.กศน.จ.พระนครศรีอยุธยา ที่ต้องการให้เว็บไซต์ของทุกอำเภอและของจังหวัด มีศักยภาพเป็นปัจจุบันทุกแห่งโดยเร็ว และในปีงบประมาณ 2553 ให้ตัดยอดเบิกจ่ายงบประมาณระหว่างอำเภอ-จังหวัด ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ข้อมูลยอดงบประมาณจะได้ถูกต้องตรงกันตรวจสอบได้ตลอดเวลา
            วาระที่ 1 ที่ประชุมได้สำรวจสภาพการใช้งานเว็บไซต์ของ กศน.อำเภอ พบว่า


ที่
อำเภอ
เว็บไซต์
สภาพเว็บไซต์
วิธีดำเนินการ
1
พระนครศรีอยุธยา
มี
เป็นปัจจุบัน
ทำเอง เช่าพื้นที่ จะเปลี่ยนเป็นขอใช้
โฮสต์จังหวัด และต้องการอบรมด้วย
2
มหาราช
 มี
เป็นปัจจุบัน
ทำเอง เช่าพื้นที่ จะเปลี่ยนเป็นจอใช้
โฮสต์จังหวัด และต้องการอบรมด้วย
3
บางปะอิน
มี
ไม่เป็นปัจจุบัน
จ้างคนดูแล หมดสัญญา ธ.ค.52 จะ
ดูแลเอง และต้องการอบรมด้วย
4
ท่าเรือ
ไม่มี
-
จะจ้างทำ และต้องการอบรมด้วย
5
บางซ้าย
 ไม่มี
 -
จะจ้างทำ และต้องการอบรมด้วย
6
บางไทร
 ไม่มี
 -
จะจ้างทำ และต้องการอบรมด้วย
7
ภาชี
ไม่มี
 -
จะจ้างทำ และต้องการอบรมด้วย
8
นครหลวง
 มี
 เป็นปัจจุบัน
จ้างทำแล้ว และต้องการอบรมด้วย
9
บ้านแพรก
 มี
 เป็นปัจจุบัน
ทำเอง เช่าพื้นที่ thaieazyhost
4260 บ./ปี
10
ผักไห่
 มี
ไม่เป็นปัจจุบัน
จะทำเอง และต้องการอบรมด้วย
11
บางบาล
 มี
ไม่เป็นปัจจุบัน
ทำแล้วยังไม่สมบูรณ์ และ
ต้องการอบรมด้วย
12
เสนา
 ไม่มี
 -
จะจ้างทำ และต้องการอบรมด้วย
13
ลาดบัวหลวง
 มี
 เป็นปัจจุบัน
จ้างทำแล้ว และต้องการอบรมด้วย
14
บางปะหัน
 ไม่มี
 -
จะจ้างทำ และต้องการอบรมด้วย
15
อุทัย
 มี
 ไม่เป็นปัจจุบัน
จะจ้างทำ และต้องการอบรมด้วย
16
วังน้อย
 มี
 เป็นปัจจุบัน
 ทำเองแล้ว และต้องการอบรมด้วย

 


สรุป ส่วนใหญ่แม้จะจ้างทำ แต่ยังต้องการให้จัดอบรมเพื่อให้สามารถดูแลแก้ไขปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันได้  โดยควรจัดอบรมเรื่องการจัดทำเว็บไซต์ ณ ห้องสมุดประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณวันที่ 23-27 พฤศจิกายน 2552 โดย ทำจากเว็บไซต์สำเร็จรูป KORAT SITE ใช้เวลาในการอบรม 5 วัน และเชิญ อ.นิกร เกษโกมล กศน.จ.นครราชสีมา เป็นวิทยากร  ผู้ช่วยวิทยากร ได้แก่ นายกิตติภพ อ่วมมั่น (มหาราช), นายเลิศชาย  ปานมุข (บ้านแพรก), นายณัฐพงศ์ สงวนสินวัฒนา (พระนครศรีอยุธยา), นายอภิบาล  แต้มสาระ (วังน้อย), นายเอกชัย ยุติศรี (ผักไห่)   ทั้งนี้ขอความอนุเคราะห์ สนง.กศน.จ.พระนครศรีอยุธยา และ กศน.อ.พระนครศรีอยุธยา ปรับปรุงพัฒนาคอมพิวเตอร์ในห้องอบรมให้ใช้อินเทอร์เน็ตพร้อมกันจำนวนมากได้


วาระที่ 2  ความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนาความรู้แก่ CIO รายบุคคล และภาพรวม มีผู้เสนอเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ ดังนี้

-          นายพรณรงค์  ผ่องไสววงศ์  : การบำรุงรักษาระบบ  และการดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

-          นายภาสกร  เมิดจันทึก : การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์,  การพัฒนาเว็บบล็อก

-          นายณัฐพงศ์ สงวนสินวัฒนา :  การควบคุมดูแลการใช้งานคอมพิวเตอร์ทั้งหมดใน สนง.ด้วยโปรแกรม IP COP.

-          นายกิตติภพ อ่วมมั่น : โปรแกรมการจัดการกราฟฟิคประกอบเว็บไซต์
-          นางอุมาภรณ์  ประทีปะผลิน : การใช้งานโปรแกรมทำ Mind Map
-          นางสาวศิริรักษ์ ท่าสระ : โปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ ดรีมเว็ฟเวอร์
-          นายเลิศชาย  ปานมุข : โปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ ประเภท CMS เช่น JOOMLA , PHP NUKE, MAMBO, XOOPS,

สรุป  ในภาพรวมควรจัดให้คณะ CIO ไปอบรม เรื่องโปรแกรมการจัดการกราฟฟิคประกอบเว็บไซต์ ที่ กศน.จังหวัดนครราชสีมา ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2552  และศึกษาดูงาน CIO จังหวัดชลบุรี หรือฉะเชิงเทรา 


วาระที่
3  การตัดยอดงบประมาณออนไลน์

-          เคยอบรมแล้ว 2 วัน (โปรแกรม e-budget, e-office)  แต่ยังไม่ได้มีการนำมาใช้เพราะ สนง. กศน.จังหวัด ต้องเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการบันทึกข้อมูลหลัก  ซึ่งยังไม่ได้ริเริ่ม จังหวัดควรจัดเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องนี้ให้มีประสิทธิภาพ  แล้วจัดอบรมใหม่ โดยใช้โปรแกรมเดิม  เวลา 2 วัน หลังจากนั้นให้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินผ่านระบบ 


วาระที่
4  เรื่องอื่น ๆ

-          จังหวัดควรแจ้งผู้บริหาร ให้สนับสนุนอุปกรณ์ในการดำเนินงานด้าน CIO เช่น AIR CARD ระบบ WIFI, กล้องดิจิตัล, คอมพิวเตอร์โนตบุ๊คส์  และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็น

-          ควรกำหนดให้แต่ละสถานศึกษามี CIO อย่างน้อยอำเภอละ 2 คน

-          จังหวัดควรเปิดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ตลอด 24 ชั่วโมง และให้อำเภอได้ใช้พื้นที่เก็บเว็บไซต์ของอำเภอ และกำหนดให้มี CIO ของจังหวัด เพื่อเป็นผู้ประสานงานกับ CIO อำเภอ
( ผอ. ดิศกุล ขอให้ทุกเว็บไซต์ ทำ Link ถึงเว็บบล็อกของ ผอ. ที่ http://gotoknow.org/blog/disakul/ ด้วย )

 

         - ไปประชุมเรื่องการดำเนินงานตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ ห้องประชุม สนง.กศน.จ.อย. ( 14 ต.ค.52 ) เพื่อพิจารณาประเด็นต่าง ๆ และวางแผนการดำเนินงานภาคเรียนที่ 2/2552 โดย อ.อุษา เทียนทอง จากสถาบัน กศน.ภาคกลาง ดำเนินการถอดบทเรียนในที่ประชุม ประเด็นต่าง ๆ ของหลักสูตรใหม่ เช่น อะไรได้ผล-ข้อดี อะไรไม่ได้ผล-ปัญหา แนวทางแก้ไข
            แนวทางแก้ไขที่ได้จากการถอดบทเรียนนี้ ที่สำคัญเช่น ให้ยุบรวมรายวิชาต่าง ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อไม่ให้นักศึกษาและครูสับสนวุ่นวายในการเก็บคะแนนระหว่างภาคและการสอบปลายภาค และ ให้ยุบรวมวิธีเรียนเหลือเพียง 2 วิธี คือวิธีเรียนด้วยตนเองสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลามาพบกลุ่ม กับ วิธีเรียนแบบพบกลุ่ม โดยรูปแบบการเรียนอื่น ๆ ให้เป็นส่วนหนึ่งของวิธีเรียนแบบพบกลุ่ม ฯลฯ
           บทเรียนที่ได้นี้ จะนำไปเสนอในที่ประชุมร่วม 10 จังหวัดนำร่อง ในวันที่ 19-20 ต.ค.52

 

         - ไปเป็นกรรมการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง (สอบสัมภาษณ์ ) ในการสอบคัดเลือกครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน ของ จ.อย. ที่ห้องประชุม สนง กศน.จ.อย. ( 15 ต.ค.52 ) โดยเป็นกรรมการสัมภาษณ์ผู้สมัครของ กศน. อ.ผักไห่ และ อ.บางซ้าย

 

         - หนุ่ย ( กศน.อ.บางปะหัน ) โทร. มาถามว่า การบันทึกใน กศน.4 ( เอกสารการบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ) มีการกำหนดไว้หรือไม่ว่า ต้องใช้วิธีเขียน หรือใช้วิธีพิมพ์  ได้ตอบว่า ไม่มีการกำหนดไว้
           อ.จรียา ( กศน.อ.พระนครศรีอยุธยา ) ถามให้ผู้อื่น ว่า หลักเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ คนที่โอนมาเป็นครูครบ 6 ปีแล้ว ( วุฒิปริญญาตรี ) ยื่นทำวิทยฐานะชำนาญการได้หรือยัง   ตอบว่า ถ้าโอนมาเป็นตำแหน่งครู ครบ 6 ปี ( ไม่ใช่โอนมาเป็นตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 5 ) ก็ยื่นได้แล้ว โดยไม่ต้องดูอัตราเงินเดือน ( หลักเกณฑ์ใหม่ให้ยื่นได้ปีละครั้ง เมื่อไรก็ได้ ไม่ต้องคอยเดือน ต.ค., เม.ย. เหมือนหลักเกณฑ์เดิม ) แต่ถ้าโอนมาเป็นตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 5 แล้วภายหลังเปลี่ยนเป็นตำแหน่งครู ยังไม่ครบ 6 ปี ต้องคอยดูว่า ก.ค.ศ. จะกำหนดคุณสมบัติเทียบเท่าใหม่ อย่างไรก่อน
            อ.อดุลย์ ( กศน.อ.วังน้อย ) โทร. มาถามว่า จะเทียบโอนจากหลักสูตร กศน. 30 เข้าสู่หลักสูตรใหม่ปี 51 ได้หรือไม่   ตอบว่า เรื่องการเทียบโอนเป็นอำนาจของสถานศึกษา สามารถทำได้  โดยอาจใช้วิธีเทียบโอนให้กับวิชาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกัน 60 %   หรือใช้วิธีพิจารณาเทียบ 2 ทอด คือเทียบโอนจากหลักสูตร 30 เป็นหมวดวิชาในหลักสูตร 44 ก่อน แล้วเทียบโอนหมวดวิชาหลักสูตร 44 เป็นรายวิชาในหลักสูตร 51   แต่ สถานศึกษาต้องกำหนดอายุของผลการเรียนที่นำมาเทียบโอน ว่าจะต้องเป็นผลการเรียนที่เรียนมาแล้วไม่เกินกี่ปี  อย่างไรก็ตาม กรณีเป็นหลักฐานการศึกษาจากหลักสูตรที่จัดเป็นระดับชั้น ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน ไม่กำหนดอายุของผลการเรียน

 

หมายเลขบันทึก: 306369เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2009 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์เอกชัย กศน.ผักไห่ ครับในบล็อคเห็น อาราย์บันทึกว่ามีคนมาสอบถามรายละเอียดงาน หลายด้าน กระผมจะสอบถามเรื่องของพนักงานราชการ หรือเรื่องงานของกศน.ได้ไหมครับ ทางบล็อคหรือโทรไปที่กศน.ผักไห่ อันไหนจะสะดวกกว่ากันครับ ขอขอบคุณมากครับ

ถามในบล็อกนี้เลยก็ได้ครับ ถ้าผมรู้คำตอบก็ยินดีตอบครับ
( หรือจะไปถามใน เว็บบอร์ด สพร. ที่
http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vboard.php?user=kasama ก็ได้ )

เข้ามาอัฟเดทข้อมูลค่ะ...

ขอบใจที่เข้ามาเยี่ยมเยือนครับ

สวัสดีค่ะ

ยอดเยี่ยมจริง ๆ ค่ะ  การใช้ ICT ในการบริหารจัดการงาน กศน.ค่ะ

คงคล้ายกันทุกแห่งครับ แต่งละแห่งก็มีทั้งผู้ที่ชอบ-ถนัด ICT และผู้ที่ไม่ถนัด-ไม่ชอบ ICT
ที่พระนครศรีอยุธยานี่ ท่าน ผอ.ดิศกุลก็บ่นๆว่า ผู้ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นหน้าเก่า ๆ และจำนวนยังไม่มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท