ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

KM มนุษยศาสตร์ฯ ม.ราชภัฏอุบลราชธานี


จุดประกาย KM มนุษยศาสตร์ฯ ม.ราชภัฏอุบลราชธานี

เฮ้.เฮ้..เฮ้…เป็นสัญญาณดังมาแต่ไกล....

         ก่อนอื่นต้องขอสวัสดีอย่างงามๆ สำหรับพี่น้องชาว KM ทุกๆ ท่าน หลังจากหายหน้าหายตาไปตั้งนาน แต่วันนี้อยู่ดีๆ กลับมาโผล่ที่คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ก็เนื่องจากได้รับเกียรติจากพันธมิตรทางวิชาการคือ อาจารย์นิศานาถ  โสภาพล และท่าน ผศ.ดร.จิตรกร  โพธิ์งาม คณบดี ซึ่งเป็นอาจารย์ของตัวเอง ให้มาจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปลร) เกี่ยวกับการทำ KM สู่ LO กับพี่น้องชาวมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กว่า 80 คน นับเป็นบรรยากาศที่ดีเยี่ยมทีเดียว

รองคณบดีกล่าวรายงาน และคณบดีกล่าวเปิดงาน

      การจัดกระบวนการในครั้งนี้ยังได้รับเกียรติจากอาจารย์พันธุ์บุณย์  ทองสังข์ พันธมิตรทางวิชาการ KM Intern สคส.ที่ยังมีความเหนียวปึ๊กกับความเป็นพี่เป็นน้อง จาก NIDA มาร่วม กระบวนการ ลปรล. ครั้งนี้ด้วย นอกจากนั้นยังไม่พอยังมีพันธมิตร KM จาก BUS UBU. อีกท่านคือ อาจารย์ ดร.สุขวิทย์  โสภาพล ที่เต็มใจมาร่วมกระบวนการในครั้งนี้ด้วย

อาจารย์พันธุ์บุณย์ กับกระบวนการเรียนรู้

  ความประทับใจจากเรื่องเล่า 

       ท่านเชื่อไหมครับว่าเรื่องเล่าเร้าพลังวันนี้มีแต่เรื่องดีๆ ที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังที่ไหนมาก่อน หลายเรื่องผ่านไป ต่างก็ยิ้มแย้มแจ่มใสทั้งผู้เล่า และผู้ฟัง แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งครับของกลุ่มที่ 6 ผมจำชื่อไม่ได้ ต้องขออภัย เป็นอาจารย์ผู้หญิง วัยกลางคน น่าจะอายุราวๆ ประมาณ 40 เห็นจะได้

 

พออาจารย์เริ่มเล่าต่างคนต่างตั้งใจฟังมากเลยทีเดียว สักพักทุกคนก็เงียบ แทบไม่ได้ยินแม้กระทั่งลมหายใจ ...เมื่ออาจารย์ผู้เล่าเรื่องมีน้ำเสียงตะคุกตะคัก และมีน้ำตา และเสียงสะอื้นออกมาด้วย ซึ่งภาษาบ้านผมเรียกว่า “ร้องไห้”

 

Topview มนุษยศาสตร์

        อาจารย์กลั้นน้ำตาไม่อยู่ เพราะชีวิตที่ผ่านมาน่าสงสารมาก และจากนั้นอาจารย์ยังเล่าให้ฟังต่อว่า ...ครั้นตอนเป็นเด็กได้ไปเล่นน้ำที่หนองน้ำใกล้บ้าน และเห็นเพื่อนต่างก็เล่นน้ำ และว่ายน้ำกันอย่างสนุกสนาน ตนเองเห็นเช่นนั้นก็อยากสนุกกับเพื่อนด้วย.....แต่ลืมตัวหารู้ไม่ว่าตัวเองว่ายนำไม่เป็น และได้กระโดดลงหนองน้ำไปกับเพื่อนๆ และกระโดดลงบริเวณที่ลึกกว่าคนอื่นๆ ด้วย และในที่สุดก็ได้ไปนอนอยู่ก้นบ่อเพราะว่ายน้ำไม่เป็น กว่าเพื่อนๆ จะรู้ว่าเราว่ายน้ำไม่เป็นและหาคนมาช่วยงมก็ไม่รู้ว่าสักกี่นาที มารู้ตัวอีกทีก็อยู่ที่บ้านแล้ว ซึ่งไม่รู้ว่ารอดตายมาได้อย่างไร หลังจากนั้น อาจารย์ไม่ไปเล่นน้ำในบ่ออีกเลย และเมื่อโตขึ้นจึงได้ไปเรียนไว้น้ำ ด้วยแรงบันดาลใจที่ว่าเผื่อเจอคนจมน้ำจะสามารถช่วยเหลือคนอื่นได้

“ว่ายเป็นสมดั่งใจ” หลังจากนั้นอาจารย์ก็สามารถว่ายน้ำได้เป็นอย่างดี และเปิดสอนว่ายน้ำให้กับเด็กๆ โดยไม่คิดสตางค์แม้แต่บาทเดียว เห็นไหมล่ะครับนี่แหละคนดีศรีมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ต้องปรบมือให้ดังๆ นะจะบอกให้ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 306362เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2009 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับอาจารย์เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน  หน้านุกนะครับแต่ตอนนี้เรียนจบแล้ว  เพียงแต่รอรับปริญญา  แต่ยังไม่รืมอาจาย์หรอกครับม  ตอนที่ผมไปเป็นพระอยู่ไง  คิดว่าคงจำได้นะก็ที่สวนป่าไงครับ  ยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับผมครับ

  • สวัสดีครับอาจารย์    นาน ๆ แวะมาอ่าน
  • อย่าลืมแวะมาเล่าเรื่องต่อ ๆ ไปด้วยนะครับ
  • ส่งความระลึกถึงและแรงใจมาช่วย....อิอิ
รัตนวรรณ มังตะการ หนุงหนิงคะ

สวัสดีคะ อาจารย์ ขอบคุณที่ให้ความรู้นะคะ ในสิ่งใหม่ ดูแลสูขภาพด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท