การเชื่อมเครือข่ายที่ยังต้องการความช่วยเหลือ


เครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท เพื่อสวัสดิการชุมชนสร้างทุนทางสังคมอย่างยั่งยืน จังหวัดลำปาง ได้มีการอบรมเรื่องการบันทึกข้อมูล ระบบบัญชี ในระบบโปรแกรมบริหารงานชุมชน ที่สำนักงานเครือข่าย ที่ตั้งสำนักงานอยู่ที่บ้านดอนไชย เพราะมีความพร้อมด้านบุคคลากรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลที่เป็นไปตามขั้นตอน ที่ได้ให้ความรู้ไปบ้างแล้ว แต่ขั้นตอนนี้คือเป็นการจัดเก็บข้อมูลสำหรับกลุ่มที่เป็นเครือข่ายที่ เกิดขึ้นใหม่ โดยทางเครือข่ายที่มีกำลังหลักคือกลุ่มบ้านดอนไชยเป็นพี่เลี้ยงให้ทุกกลุ่มที่ต้องการจะใช้ระบบโปรแกรมบริหารงานชุมชน ได้เริ่มการทำงานจริงอีก 3 กลุ่ม คือตำบลแม่ปะ ตำบลแม่ถอด ตำบลเถินบุรี ซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่าย และในวันที่ 21 ตุลาคม 2552 ตำบลเมืองยาว ซึ่งมีสมาชิก 900 กว่าคนซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอที่จะต้องนำข้อมูลมาเก็บในระบบ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบ และรวดเร็วขึ้น

ในจังหวัดลำปางได้มีการนำโปรแกรมมาใช้แล้วหลายตำบล แต่ทุกกลุ่มยังไม่มีการเชื่อมข้อมูลรวมกันให้เป็นหนึ่งที่ชัดเจนมีบางกลุ่มที่สามารถรวมกันได้ แต่สิ่งที่ทางเครือข่ายออมบุญคิดที่จะทำต่อไปคือจะต้อง สร้างฐานข้อมูลให้เห็นข้อมุลรวมทั้งจังหวัด โดยผ่านทางเว็บไซต์ของออมบุญวันละหนึ่งบาทต่อไป คงจะเห็นหน้า ตา ของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่เข้มแข็ง ในพื้นที่จังหวัดลำปางที่มีการออมวันละหนึ่งบาทมากขึ้น

สิ่งที่กลุ่มจะต้องเตรียมความพร้อมคือ ข้อมูลที่มีการจัดเก็บด้วยมือมาก่อน ให้ครบถ้วนตามที่ได้มีการจัดเก็บด้วยมือ ก่อนที่จะนำเข้าในระบบโปรแกรม เช่น ประวัติเบื้องต้นของสมาชิก กองทุนที่จัดตั้งโดยได้มาจากการออมของสมาชิก มีกี่กองทุน  ด้านรายรับ รายจ่าย ทุกสิ้นเดือนจะมีการปิดบัญชีให้เห็นความเคลื่อนไหวของกองทุนสวัสดิการชุมชน สามารถเข้ามาดูได้ในระบบ และคงจะพัฒนาให้เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ แต่คงต้องใช้เวลาอยู่พอสมควร เพราะความพร้อมของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน

ได้ไปอบรมให้ทางจังหวัดพะเยา เป็นเรื่องที่ทางเครือข่ายออมบุญได้เห็นอีกรูปแบบหนึ่ง แต่ก็สามารถนำข้อมูลเข้าในระบบของเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาท ได้ แต่ต้องอาศัยความอดทน และทำความเข้าใจร่วมด้วย ในการอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมที่ทางกลุ่มบ้านดอนไชยได้เจอมาก่อนแล้ว และเป็นการทดลองใช้โปรแกรมนี้เป็นกลุ่มหนูทดลองมาก่อนว่าจะมีความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน 

การพัฒนาโปรแกรม ในระยะเวลา 5 ปีที่มีการพัฒนาภาคประชาชน ได้ทำการทดลองใช้ตลอด สิ่งที่เครือข่ายตั้งใจไว้ว่าที่เครือข่ายได้พัฒนานี้ต้องการให้กลุ่ม องค์กรชุมชนที่ต้องการใช้ไม่ต้องคิดที่จะต้องหาทุนมาเริ่มเรื่องนี้ใหม่ สามารถนำโปรแกรมมาใช้ได้เลย

และนำเวลาไปพัฒนาเรื่องอื่นที่มีความจำเป็นในชุมชนต่อไป

 

นกน้อยทำรังแต่พอตัว

หมายเลขบันทึก: 306332เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2009 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีนกน้อยทำรังแต่พอตัว แต่รู้สึกว่าตัวจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

ก่อนอื่นต้องขอโทษนกและทีมงานทุกคนในเรื่องศูนย์ฝึกอบรมที่ได้ร่วมคิดร่วมดำเนินการกันมาตั้งแต่ต้น แต่ต้องมาชะงักลงด้วยปัจจัยที่ไม่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม เท่าที่ติดตามงานของนกน้อย สิ่งที่ทีมงานกำลังดำเนินการอยู่ต่างหากคืองานของศูนย์ฝึกอบรมที่แท้จริงนั่นคือ การพัฒนาคุณภาพของกองทุนสวัสดิการชุมชน พูดน้อยต่อยมากและตรงเป้าด้วย ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจครับ

เรื่องที่จะหารือนกและทีมงานคือ การเตรียมคนลำปางเข้าฝึกอบรมที่ศูนย์จังหวัดพะเยา หากเรามองว่าการฝึกอบรมมิใช่การสอนโดยผู้รู้ แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน การส่งคนที่มีทักษะประสบการณ์เข้าร่วมฝึกอบรมก็จะเป็นประโยชน์มาก ถือว่าได้ทำหน้าที่เป็นครูฝึกผ่านศูนย์จ.พะเยา เนื่องจากศูนย์ฝึกในช่วงต้นนี้เป็นเพียงการอำนวยสถานที่และมีคนช่วยเป็นธุระจัดการด้านธุรการให้เป็นสำคัญเท่านั้น มิใช่เป็นสำนักจอมยุทธิ์ในเรื่องสวัสดิการชุมชนอะไรเลย ผู้ที่รับเป็นศูนย์ฝึกถือว่าเสียสละมากกว่าผู้อื่นเพราะไม่ได้อะไร แต่เพื่อให้ขบวนสวัสดิการชุมชนได้พัฒนาคนทำงานที่มีคุณภาพมากขึ้น จึงรับดูแล/อำนวยความสะดวกเพื่อนๆจากจังหวัดต่างๆ

ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ผู้เข้าอบรม ซึ่งผมเสนอให้คัดเลือกผู้เข้าอบรมระยะแรกที่ตั้งไว้1,000คน จากทีมงานจังหวัดๆละ5คน ประมาณ405คน หากนับกทม.เป็น6โซน/จังหวัด (75+6)*5=405คน เพื่อช่วยงานขบวนของจังหวัด ที่เหลือมาจากตำบลต้นแบบกองทุนละ5คน ทั่วประเทศ 595คน จำนวน 119 กองทุน เฉลี่ยจังหวัดละ1-3กองทุน

ผู้เข้าอบรมจะเป็นกองกำลังสำคัญของงานนี้ทั้งในระดับจังหวัดและแหล่งเรียนรู้ระดับตำบล/เทศบาลที่มีคุณภาพตามชื่อต้นกล้าคุณธรรมสวัสดิการชุมชน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท