ครูนอกระบบ
นาง ณัฐนิธิ อารีย์ อักษรวิทย์

<เล่าสู่กันฟัง>อานุภาพแห่งความดี


อนุภาพ

อนุภาพแห่งความดี

มนุษย์เรามีชีวิตอยู่ด้วยอนุภาพของสิ่ง ๒ สิ่งรักษา
คือ บุญรักษา และบาปรักษา
บุญ คือ คุณความดี
บาป คือ ความชั่ว

มีตัวอย่างมากมายที่แสดงถึงความจริงอันนี้
เช่น คนมีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย ก็เพราะบุญรักษา
มีชีวิตอยู่อย่างทุกข์ทรมาน ก็เพราะบาปรักษา

บุญบาปที่เคยทำมาในชาติก่อน เป็นต้นทุนชีวิตของแต่ละคน
มาในชาตินี้จึงมีสภาพไม่เหมือนกัน
กินบุญเก่าบ้าง สร้างบุญใหม่บ้าง
ทำดี เพื่อใช้หนี้กรรมเก่าบ้าง สร้างเวรกรรมขึ้นใหม่บ้าง
ซับซ้อนยุ่งเหยิง ดังชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายที่เห็นๆ กันอยู่ทุกวันนี้

ความมีอวัยวะร่างกายสมบูรณ์ เป็นลาภอย่างหนึ่งของชีวิต
ร่างกายที่ไม่มีโรคเบียดเบียน ยิ่งเป็นลาภอันประเสริฐขึ้นไปอีก
สมดังพระพุทธภาษิตที่ว่า "ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่ง"

ถ้าเราน้อยใจว่าเราเกิดมาจน ไม่มีเงินล้าน ๑๐ ล้าน ๑๐๐ ล้าน
เราจะยอมขายดวงตาทั้ง ๒ ข้างของเรา ด้วยเงิน ๒ ล้านไหม ?
แขน ๒ ข้างอีก ๒ ล้าน ขา ๒ ข้างอีก ๒ ล้าน รวม ๖ ล้าน
ถ้าเราไม่ยอมแสดงว่าอวัยวะเพียง ๓ อย่างของเรานี้
มีราคามีค่าเกิน ๖ ล้านแล้ว เรารวยแล้ว

ให้เป็นเศรษฐีมีเงินร้อยล้าน แต่ตาบอดหูหนวกจะเอาหรือไม่
ความเป็นผู้มีอวัยวะสมบูรณ์ มีโรคน้อย
ก็เป็นผลบุญหรือคุณงามความดี
ท่านที่เป็นแพทย์คลุกคลีอยู่กับคนป่วยในโรงพยาบาล
ย่อมเห็นชัดด้วยตนเองแล้วว่า คนป่วยคนพิการมีสภาพอย่างไร

อนุภาพของความดี

อนุภาพคืออะไร ?
คือ สิ่งหนึ่งซึ่งมีพลังหรืออำนาจ ที่จะก่อให้เกิดผล ตามเหตุที่กระทำ
แต่เนื่องจากเหตุเป็นสิ่งซับซ้อนมาก
จึงทำให้บุคคลสับสนในปรากฏการณ์ที่ตนได้ประสบ
ปรากฏการณ์ที่เราประสบนั้น
เป็นผลของอำนาจหรือพลังอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่แฝงเร้นอยู่เบื้องหลัง

เรียกตามภาษาธรรมะว่า ปฏิจจสมุปบาท และปฏิจจสมุปปันนธรรม
ปฏิจจสมุปบาท คือ ตัวกฏ ส่วนปฏิจจสมุปปันนธรรมนั้น คือ ปรากฏการณ์
เช่น คลื่นเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง
เกิดขึ้นเพราะอาศัยตัวกฏ คือ ความสัมพันธ์ของลมกับน้ำ ฯลฯ

ความดีคืออะไร ?

ในทางจริยศาสตร์ ความดีเป็นสิ่งที่นิยามไม่ได้
คือ นิยามให้ได้ความหมายสมบูรณ์ไม่ได้
แม้จะพยายามนิยามสักเท่าไร
ก็จะต้องมีข้อบกพร่องในคำนิยามนั้นอยู่เสมอ

เพราะฉะนั้น นักปรัชญาและนักจริยศาสตร์
จึงได้ตัดสินความดีเป็นเรื่องๆ ไป และเป็นคราวๆ ไป
สุดแล้วแต่เงื่อนไขต่างๆ จะกำหนด
เพราะความดีที่คนรู้จักกันโดยทั่วไปนั้น
ยังเป็นโลกียะ เป็นสิ่งสัมพัทธ์ (relative) อยู่
จึงขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ มากมาย

อย่างไรก็ตาม แม้เราจะนิยามความดีไม่ได้
แต่เราก็สามารถรู้จักความดีได้
เหมือนเราให้คำนิยามความเปรี้ยวความหวานไม่ได้
แต่เราก็รู้จักความเปรี้ยวความหวานได้

คำสำคัญ (Tags): #ความดี
หมายเลขบันทึก: 305885เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2009 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท