มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

เอาเรื่องธุรกิจ IT ในเมืองจีนมาเล่าให้ฟัง


Outsurcing

samira samilan
ธุรกิจ IT ใหม่ของจีนที่จะมาครองโลก
Outsorucing to China: จาก The Economists ฉบับวันที่ May 6, 2006
รายงานนี้ เอามาจากแม็กกาซีนฉบับข้างบน
จุดประสงค์ เพื่อให้พวกเราในสาย IT ว่า มันเกิดอะไรขึ้นในวงการของโลก

และเพื่อให้เข้าใจบทความได้ดีขึ้น ได้อธิบาย คำสองคำที่เราจะเจอกันแยะ


Offshoring : เมื่อบริษัทในโลกตะวันตกต้องการจะผลิต ผลิตภัณย์ที่ให้ถูกลง บริษัทเหล่านี้ ก็มาหาแหล่งผลิตในประเทศหรือกลุ่มประเทศที่ต้นทุนการผลิตที่ถูก ซึ่งมักจะเป็นประเทศด้อยพัฒนา โดยเอางานออกแบบจากบริษัทแม่ มาให้ประเทศที่ว่าทำ และ ในสมัยแรกๆ บริษัทเหล่านี้ จะเข้าไปสร้างโรงงานในประเทศโพ้นทะเลเหล่านี้ เช่น โรงงานเย็บผ้า หรือ โรงงานทำ Hard Drive เป็นต้น การทำเช่นนี้ เรียกว่า Offshoreing ( Offshrore แปลว่า ออกไปนอกฝั่ง ไปโพ้นทะเล )


Outsurcing ( มาจาก outsource แปลว่าไปเอาจากแหล่งอื่น ) : จุดประสงค์จุดหมายปลายทางก็แบบเดียวกับ Offshoreing กล่าวคือ ต้องการตัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ การทำงานหรือให้บริการบางอย่าง ของบริษัทแม่ ซึ่งอยู่ใน industrialized nations คือ ประเทศพัฒนาในโลกตะวันตก นั้น มักจะมีค่าใช้จ่ายสูง เช่น call center ( คือผู้คอยตอบคำถามของผู้ใช้เครื่องอุปกรณ์ที่ซื้อไปแล้วมีปัญหา) การเขียน software หรือการดูแล ระบบจากทางไกล ( จะเอาเรือง Remote Low level Management มาเล่าให้ฟังภายหลัง ) ดังนั้น บริษัทแม่จึงไปว่าจ้าง ให้คนงาน ในบริษัทต่างประเทศ ทำงานแทนคนงานที่บริษัทในประเทศแม่ ผลก็คือ ค่าจ้างถูกลงค่าใช้จ่ายก็ลดลง คนในภูมิลำเนาที่บริษัทแม่ ก็จะถูกไล่ออก เพราะไม่มีงานจะให้ทำแล้ว อย่างนี้เขาเรียกว่า Outsourcing ประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการนี้ ได้แก่ อินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ และ ประเทศแถวยุโรปตะวันออก ( แม้จะเป็นประเทศกลุ่มบริวาร คอมมิวนิสต์ มาก่อน แต่แปลกที่ว่า ประเทศเหล่านี้พื้น การศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์ ด้าน คณิตศาสตร์ แข็งมาก ดังจะเห็นว่า ผู้ชนะเลิศ ใน Olympicด้าน คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ มาจากประเทศแถวนี้ มีมากทีเดียว เคยถามเพื่อนที่มาจากแถวนั้น เขาให้คำอธิบายว่า ประเทศเขาจน ฉะนั้น การจะตั้ง ทำห้องปฎิบัติการ ทาง ฟิสิกส์ ชีววิทยา หรือ เคมี มันแพง และยากที่จะติดตั้ง แต่ ความสามารถทางคณิตศาสตร์ หรือ คอมพิวเตอร์นั้น มันไม่ขึ้นกับ อุปกรณ์ มันอยู่ที่สมอง เราพอสอนได้ )


เข้าเรื่องที่จะเล่าให้ฟังจากบทความเรื่องข้างบน Outsorucing to China: The Economists, May 6, 2006


Watch out, India : จาก เมือง ซีอาน ประเทศจีน


Watch out, India : จาก เมือง ซีอาน ประเทศจีน


เราคงทราบว่า เมืองซีอาน มีชื่อในเรื่องเครื่องปั้น รูปขุนศึกที่ฝังดิน เป็นเมืองหน้าด่าน ที่จะออกไปยังเส้นทางสายใหม ในสมัยมาโคโปโล ดังนั้นมันจึงเป็นเมืองที่ ความรู้และวัฒนธรรมใหม่ จากตะวันตกจะเข้ามา


เมืองซีอานนี้ เป็นเมืองหลวงของมลฑลชานสี แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า ปัจจุบันนี้ เมืองนี้ กำลังเริ่มเป็นศูนย์ HiTech อย่างเงียบๆ ที่เมืองนี้เป็นแหล่งกำเหนิดของโครงการอวกาศของจีน เป็นเมืองที่มีอุตสาหกรรมสร้างเครื่องบิน รวมทั้ง มี ศูนย์ Technology Park ที่ใหญ่อันหนึ่งของจีน ขนาดของ Technology Park นี้มีขนาดถึง 35 ตารางกิโลเมตร ถือเป็น Silicon Valley อันใหญ่ของจีนอันหนึ่ง มีคนทำงาน ใน Park นี้ 7500 คน มีบริษัทซึ่งรองรับงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยมากกว่า 100 แห่ง มหาวิทยาลัยเหล่านี้ มีบัณฑิตจบมาปีละ 120,000คน ต่อปี ครึ่งหนึ่งของ จำนวนนี้ จบสาขา Computer Sciences.


ที่เล่ามาข้างต้นต่างๆเหล่านี้เป็นแค่ขั้นเริ่มต้น ผู้อำนวยการ Technology Park เล่าว่าต่อไปจะขยายออกไปให้ได้ขนาด 90 ตารางกิโลเมตร งบในการนี้ ประมาณ 100,000ล้าน หยวน ( $12,000 ล้าน) เหล่านี้ คือ infrastructure ของเมือง ซีอาน ในด้าน Technology


ในเรื่องของ บริการที่เกี่ยวกับ Outsourcing ของประเทศจีนในขณะนี้เมื่อเทียบกับอินเดียแล้วถือว่า ยังตามอินเดียเป็นอันมาก แต่..... จีนกำลังไล่เข้ามาแล้ว ในห้องที่มีเครื่องเรียงเป็นแถว คนงานมีผมเป็นหางม้านั่งเป็นแถว ทำงานอย่างคล่องแคล่ว ดูเหมือนอยู่ในโรงงาน ทำรองเท้า หรือ เชื่อมพวก pc board หรือ pc circuit เปล่า .. ไมใช่ คนงานเหล่านี้ กำลังพิมพ์ข้อมูลบน keyboard อย่างคล่องแคล่ว หล่อนเหล่านั้นกำลังทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ กำลังเติมใบประกันสังคมบ้าง ใบประกันสุขภาพบ้าง ของรัฐนิวยอร์ค หรือไม่ ก็จากโรงงานทำรถยนต์ขนาดใหญ่ในเมืองดีทรอยต์ หรือ ใส่คำตอบของข้อสอบของโรงเรียนมัธยมจากประเทศ Australia ผู้จัดการของสำนักงานที่ว่านี้ คือ คุณ Micheal Lui กล่าวว่า "นี่คือ อนาคตของ Back Office ในระดับของโลก" ( ในที่นี้หมายถึงว่า ข้อมูลทั้งหลายจากทั่วโลกจะต้องเอามาเข้าระบบฐานข้อมูลโดยคนงานที่นี่ คือเขาจะให้บริการกับคนทั้งโลกเลย เดาว่าที่เขาทำได้เพราะเขามีคนและสามารถให้บริการที่ถูกกว่าชาวบ้าน -ผู้แปล) บริการแบบนี้เขาเรียกว่า "Business-Process Outsourcing -BPO) ซึ่งทางเมืองจีนเห็นว่าจะเป็นอีกอันหนึ่งที่เขาสามารจะทำได้ ( ทำนองเดียวกับสินค้าทุกอย่างที่เราใช้ในบ้านเรา จะเห็นว่า made in China คือผลิตจากเมืองจีนแทบทั้งนั้นเลย และในที่นี้เขากำลังจะบุกเข้าไปในธุรกิจ [BPO]นี้ ซี่งจะไปชนกับ อินเดียโดยตรงเลย)


หลังจากที่จีนได้ทำสำเร็จในด้านของการผลิตอย่างที่ว่าแล้ว จีนกำลังมุ่งเข้าไปเพื่อต้องการเป็นยักษ์ใหญ่ที่ให้บริการในด้าน ผลิต software และการให้บริการ โดยใช้ software กล่าวคือ BPO นั่นเอง มีบริษัทวิจัย กล่าวว่าบริษัทในโลกตะวันตกจะขยายการใช้ Outsourcing นี้ คือให้บริการในด้าน IT services นี้ จะมีมูลค่าถึง ห้าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2007 และอัตราการเจริญเติบโตอยู่ในระดับ เลขสองหลัก คือ เกิน ร้อยละสิบต่อปี ตลาดให้บริการ BPO เหล่านี้ ทำอะไรบ้าง เช่น การลงข้อมูลของบริษัท Credit Card เก็บข้อมูลการใช้เช็คของธนาคาร ซึ่งบริการเหล่านี้ คิดว่า จะมีมูลค่า เกิน สองหมื่นสี่พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปีหน้า และอัตราการขยายของงานด้านนี้ จะยิ่งมากและเร็วกว่าที่แล้วมา และอย่างที่รู้ๆกัน อินเดียคว้างานด้านนี้ เอาไปเสียส่วนใหญ่ ในขณะที่เมืองจีน เอางานด้านการผลิตสินค้าไป ซึ่งงานด้านผลิตสินค้าที่จีนทำนั้นมีมูลค่าแค่สองพันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีแค ่นั้น ( ในที่นี้หมายถึงงาน ที่จีนได้รับจาก Outsourcing ในด้านการผลิต) แต่ BPO ทีจีนได้ทำอยู่นั้น ส่วนใหญ่ มาจากเมือง Dalian ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ( ใกล้พรมแดน เกาหลีเหนือ หากผู้ใดสนใจเรื่อง IT ที่เกียวกับเมืองนี้ ผมมีบทความเล่าความเป็นมา) สำหรับ รายได้จาก BPO จากเมือง ซีอานนี้ตอนนี้มีมูลค่าราว $40 ล้านเหรียญ เท่านั้น และงานส่วนใหญ่ก็มาจากญี่ปุ่น


แต่เมืองจีนนั้น ศักยภาพในด้านนี้มีมากเพราะคนงานมีความรู้พื้นฐาน ในด้านคอมพิวเตอร์และคำนวณที่ดี สิ่งที่ขาดคือความคิดสร้างสรรค์ แต่คนทำงาน เป็นกลุ่มที่มีวินัยมากๆ พร้อมที่จะเรียน สามารถและอดทนต่องานจำเจได้ดีกว่าคนอินเดีย ฉนั้นคุณสมบัตินี้ จึงเหมาะต่องาน BPO มาก งานเข้าข้อมูลเป็นงานจำเจ มีกฎที่แน่นอน ไม่เปลี่ยน ฉนั้นอาจจะต้องการแรงงาน เป็นล้านๆ คนเลย และไม่มีที่ใหนจะพร้อมเท่ากับเมืองจีน นอกจากนี้ อินเดียเคยเป็นแหล่งที่เงินเดือนวิศวกร ราคาเคยถูกแต่ปัจจุบันนี้ เงินเดือนของคนระดับนี้ ขึ้นเป็นปีละถึง 30-40 % เลย เงินเดือนขั้นต้นของคนงาน BPO ในเมืองจีนแค่ $300 ต่อเดือน ซึ่งแค่หนึ่งในสิบของค่าจ้างในอเมริกา ผู้จัดการของ SAP (บริษัท Software ยักษ์ใหญ่ของเยอรมัน) กล่าวว่า ค่าจ้างสำหรับ งาน Outsourcing ในอินเดียก็เริ่มแพงขึ้นแล้ว รวมทั้งเมืองจีน ที่ตั้งอยู่แถวชายฝั่งทั้งหลาย ( ในทีนี้ เช่น เซี่ยงใฮ้ ฮ่องกง เป็นต้น ) แต่ราคาค่าจ้างของถิ่นแถวจาก ส่วนในๆของประเทศจีนยังถูกอยู่ ฉนั้นบริษัทเหล่านี้ เริ่มมองไปทางตอนใจกลาง และบางบริษัทก็เริ่มมองผ่าน ซีอานไปแล้วเช่นกัน เช่น เริ่มไปเมือง Chengdu และ Wuhan ผู้จัดการของ NEC ใน ซีอานบอกว่า ค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ ซีอานจะต่ำกว่าเซียงใฮ้ 40-50%


การที่รัฐบาลระดับท้องถิ่นต้องการให้บริษัทยักษ์ใหญ่เข้ามาตั้งทำธุรกิจในเม ืองของตน ท้องถิ่นเหล่านี้จึงให้ข้อยกเว้นในด้านภาษี รวมทั้งมีคนงานพร้อมจะทำงานที่มีคุณภาพที่ดี ทำให้มีบริษัทอาทิเช่น IBM, Microsoft, Hewlett-Packard และ Siemens เข้าไปทำธุรกิจในเมืองจีนเป็นเวลาหลายปีแล้ว นอกจากนี้ ยังขยายขนาดกำลังคนของแต่บริษัทอีกด้วย และล่าสุดที่น่าสนใจและแปลกใจมากก็คือบริษัท ที่รับงานด้าน Outsourcing ที่ใหญ่ของอินเดีย คือ Tata Cunsultanacy Service ( TCS ) เข้าไปตั้งสำนักงานที่เมืองจีน รวมทั้งบริษัท Software ยักษ์ใหญ่ของอินเดียอีกสองบริษัทคือ Infosys และ Wipo ก็เข้าไปตั้ง สำนักงานในเมืองจีนเช่นกัน แม้กระทั่งบริษัท GE ซึ่งมีสำนักงาน ทำเรื่อง Outsourcing ในอินเดีย ก็ขยาย Office ไปตั้งที่ Dalian ประเทศจีน คาดว่าจะมีพนักงาน ราว 5000 คน


เรื่องราวและเหตุการที่เกิดขึ้นดังกล่าวเพราะงานมันขยายมากขึ้น บริษัทต้องการเพิ่มกำไรโดยตัดค่าใช่จ่ายลง จึงย้ายมาเมืองจีน ดังที่เห็นข้างต้น ไม่เพียงแค่นั้น บริษัทเหล่านี้ ก็กำลังขยายเพื่อตอบรับกับ การขยายของตลาดท้องถิ่นคือเมืองจีนเองด้วย เพราะ ตลอด 25 ปีที่ผ่านมา จีนมีอัตราเจริญทางเศรษฐกิจที่สูงมาตลอด ซึ่งไม่เคยปรากฎมาในประวัติศาสตร์โลกยุคใหม่นี้ ยกตัวอย่าง บริษัทSoftware TCS ของอินเดียได้รับงานให้จัดการระบบข้อมูลของธนาคารของจีน ( Huaxia Bank ธนาคารใหญ่อันดับ 12 ของจีน ) และคิดว่า ตลาดที่รับงานของท้องถิ่นก็กำลังเติบโตเช่นกัน อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญด้าน BPO กล่าวว่า จีนยังล้าหลังอินเดียประมาณ 5-10 ปี ด้วยสาเหตุสองอย่างคือ เรื่องความสามารถด้านภาษา อังกฤษ ทำให้มีปัญหาต่อการบริการมากเมื่อต้องติดต่อกับต่างประเทศ อีกสาเหตุก็คือ ความสามารถในเรืองทำงาน กล่าวคือ ผู้ที่จบจากสถาบันจีนนั้น มักมีความรู้เรืองทฤษฎีเป็นอย่างดีเท่าเทียมต่างประเทศ แต่ประสพการณ์ด้านการปฎิบัตินั้นด้อยมาก เพราะไม่ได้รับการส่งเสริมตอนเรียน ทำให้ไม่เคยเจอของจริง เปรียบเทียบได้ เสมือนกับว่า บัณฑิตเหล่านี้รู้และสามารถอธิบายได้ดีว่า เลื่อยเอาใว้ทำอะไร แต่หากจะบอกให้ไปสร้างประตู ก็ไม่รู้ว่าจะเอาไปใช้อย่างไร เพราะไม่เคยทำมาก่อน มีบริษัทประกาศรับคนทำงาน มีคนสมัครมาจากมหาวิทยาลัย แถวเมืองซีอาน หกแห่ง จำนวน 1200 คน แต่ได้คนที่เหมาะสมเพียง 6 คน สาเหตุสำคัญก็คือไม่มีการติดต่อกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับบริษัทธุรกิจ ในทางตรงข้าม ในยุโรปและอินเดีย คนงาน เขาต้องการและเน้น คนที่มีประสพการณ์ทำงานมาก่อน แม้แต่อาจารย์จากมหาวิทยาลัยแถวซีอาน ก็ยอมรับว่า บรรดาอาจารย์ทั้งหลาย มักจะมาจากสายวิชาการ ไม่เคยรู้ว่าโลกของธุรกิจ เป็นอย่างไร ทำให้บริษัทที่เข้าไปแถวเมืองซีอานต้องตั้งหน่วยสำหรับฝึกให้เพื่อให้คนงานใ หม่เขา สามารถเข้ากับสภาพภาวะการทำงานของบริษัท เช่น ส่งคนงานใหม่ไปฝึกที่บริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น เป็นต้น


ขนาดของงานจากสองประเทศคือจีนและอินเดียขณะนี้ ต่างกันมากยกตัวอย่าง คนงานที่ทำงานด้าน Outsourcing ของบริษัท TCS มีถึง 6000คน เมื่อเทียบกับ ของจีนบางบริษัทมีแค่ระหว่าง 600 - 1000 คน นอกจากนี้ องค์กรที่มีหน้าที่ควบคุมกิจการเหล่านี้ ในอินเดียมีการควบคุมที่ดีกว่าของจีนซึ่งบางแห่งก็ยังมีหน่วยการปกครองท้องท ี่ ที่ยังบางครั้งก็ขวางความเจริญก้าวหน้าของอุตสาหกรรมด้านนี้ เมื่อกลุ่มเหล่านี้เห็นว่าถิ่นหรือกลุ่มตนเองจะเสียผลประโยชน์


สรุปก็คือว่า จีนกำลังย่างเข้ามาใน อุตสาหกรรม BPO และจะค่อยๆโตไปเรื่อยๆ แต่อย่างไรก็ดี ขณะนี้จีนยังล้าหลังอินเดียอยู่อีกหลายขุม อินเดียคุมและทำกิจกรรมที่มีค่าตอบแทนที่สูงกว่า เช่น การให้บริการด้านค้นคว้า หรือ ออกแบบ Software ( Research & Development= R&D) เพราะด้านเหล่านี้ต้องการความสามารถในด้านสร้างสรรค์และความรู้ด้านภาษาอังก ฤษ ท้ายที่สุด เมื่อปีที่แล้ว TCS ได้ทำสัญญากับรัฐบาลจีน และ ร่วมกับ Microsoft เพื่อจะสร้างบริษัท Software เพื่อรองรับ บริการด้าน IT สำหรับ Olympics ที่จะมาเมืองจีนในไม่กี่ปีข้างหน้า


ท่านใดมีข้อคิดเห็น มุมมองอะไร ก็เชิญนะครับ


ที่มา :: http://www.thaibsd.com/webboard/show.php?Category=thaibsd&No=6067


หมายเลขบันทึก: 30555เขียนเมื่อ 24 พฤษภาคม 2006 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท