เริ่มต้นเรียนรู้ เริ่มต้นฝึกงาน กลุ่มที่ 2 ม.เชียงใหม่


ก่อนฝึกงาน หากนักศึกษาได้ทบทวนสิ่งที่เรียนรู้มาแล้วจากเนื้อหารายวิชามาก่อน มานำมาผสมผสานกับสิ่งที่ได้เห็น สิ่งที่ได้ทำจะเกิดเป็นองค์ความรู้ ทักษะ ได้ดีวิธีหนึ่ง

สวัสดีครับ

วันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องราวการดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกงานของนักศึกษา ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจากสัปดาห์นี้เป็นช่วงประชุมวิชาการประจำปีของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามห้องตรวจต่างๆได้งดหรือลดบริการบางส่วน เพื่อให้แพทย์ พยาบาล อาจารย์ และบุคลากรในคณะฯ ได้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้นักศึกษาเสียโอกาสในการฝึกงาน ช่วงที่ผมว่าง ไม่ได้เข้าประชุมวิชาการ ผมได้พานักศึกษา มาแนะนำแนวทางในการฝึกงาน พร้อมกันให้เรียนรู้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ดังที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ครับ

 

เริ่มต้นด้วยการคุยกันกับนักศึกษาว่าก่อนหน้านี้ได้เรียนรู้อะไรมาบ้าง

ทำไม? ต้องถามเรื่องนี้ เพราะต้องการกระตุ้นให้นักศึกษา ได้เรียกความรู้ ดึงความจำในอดีต เตรียมความพร้อมของตนเองและหาข้อมูลก่อนที่จะเข้าฝึกงานในห้องต่างๆ

 

การเรียนรู้ในห้องเรียนและจากทฤษฎี ทำให้ทราบขั้นตอนการทำงานเบื้องต้น แต่การฝึกงานทำให้มองเห็นภาพการทำงานครบวงจร ได้เรียนรู้สิ่งที่ดี/ไม่ดี ได้ฝึกทักษะ วิธีการที่ถูก/ผิด ได้เห็นการประยุกต์ ระหว่างหลักการ หลักเกณฑ์ หลักวิทยาศาสตร์ หลักการแพทย์ หลักการของโลกแห่งความเป็นจริง จริยธรรม และจรรยาบรรณ

- สิ่งที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการ/ผู้ป่วย ตั้งแต่ขั้นตอนการทำงาน การดูแล ก่อนตรวจ ระหว่างตรวจ และหลังตรวจ

- ทำความรู้จัก ทำความเข้าใจ เกี่ยวกับเครื่องที่ใช้งาน รวมถึงการควบคุม การเลือกใช้พารามิเตอร์ต่างๆในของเครื่องที่ใช้ในการตรวจ

- การศึกษาภาพที่ได้จากการตรวจ เรียนรู้ขบวนการปรับปรุงคุณภาพของภาพที่ใช้สำหรับการวินิจฉัยโรค

 

บางส่วนของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่นักศึกษาควรทราบ ควรเข้าใจการใช้งาน และสามารถใช้งานได้ถูกต้อง เช่น การเลื่อนระดับความสูงและการเคลื่อนที่เข้าออกของเตียง การเอียงเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มุมต่างๆ การกำหนดจุดกึ่งกลางตำแหน่งของการสแกน (Scan) เป็นต้น

 

 

นักศึกษาได้ฝึกจัดท่าการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองในแบบจำลอง ก่อนที่จะได้เรียนรู้จากผู้ป่วยจริง ฝึกซ้ำๆให้เข้าใจ ใช้เวลาในการทำความเข้าใจ

การตรวจสมอง ควรจัดให้สมองผู้กึ่งกลางเครื่องเอกซเรย์

   

การจัดท่าผู้ป่วยไม่ตรง เอียงซ้ายขวา จะส่งผลต่อภาพที่ได้จากตรวจ อาจเป็นอุปสรรคต่อการวินิจฉัยโรค เช่น จัดศีรษะผู้ป่วยไม่สมดุล จะทำให้เห็นภาพสมองเอียง

 

สมรรถนะและคุณสมบัติบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้กำหนด คือ พร้อมทำงาน (Ready to work) สำหรับผมแล้ว เห็นด้วยอย่างยิ่งสำหรับข้อนี้ ดังนั้นการฝึกงานของนักศึกษาทุกสถาบัน เมื่อได้มาฝึก ณ สถาบันแห่งนี้ การเรียนรู้ การเตรียมพร้อม ความตั้งใจ ใฝ่รู้ ฝึกมาก ได้มาก  ทำมาก ได้มาก เป็นวิธีการหนึ่งที่จะบรรลุถึงลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามข้อนี้ได้

 

หมายเลขบันทึก: 305512เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 12:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เยี่ยมเลยครับ คนไข้ไม่มี เราก็ เรียนรู้จาก หุ่นจำลอง ว่างๆ นำไปเยี่ยม ร.พ ศูนย์ขอนแก่น ก็ น่าจะได้ ครับ มีลูกศฺญื แล พี่พี่น้องน้อง หลายท่าน

  • สวัสดีค่ะ
  • "การเรียนรู้ การเตรียมพร้อม ความตั้งใจ ใฝ่รู้ ฝึกมาก ได้มาก  ทำมาก ได้มาก เป็นวิธีการหนึ่งที่จะบรรลุเป้าประสงค์"
  • แวะมาอ่านบันทึกดี ๆ
  • ขอบคุณค่ะ

เรียน อ.จิตเจริญ ที่เคารพ

หากมีโอกาส อาจพาน้องๆ ไปเยี่ยม รพ.ขก เช่นกัน ครับ

เรียน คุณบุษรา

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท