Program การสอนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย


การให้ที่ประเสริฐ { ถ้า...คน /..ครู)(คนอันหมายถึงมนุษย์ ผู้เกิดมาพร้อมกับความไม่รู้)ไม่เคยเป็นผู้ได้รับจาก.....ผู้ให้ไม่หวังสิ่งตอบแทนมาก่อน .จะรู้วิธีให้ที่ปราศจากสิ่งตอบแทนได้อย่างไร..?..ผู้บันทึกอนุมานเอาจากการได้ศึกษาข้อธรรมมะ...ตามแนวทางขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า....(ครูคือผู้สร้างชาติ เปลี่ยนใหม่ครูไม่ใช่เรือจ้าง..เพราะเราไม่ได้รับจ้างใคร..แต่เรามีสำนึกในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์).ใครว่าครู.. คือเรีอจ้าง...ฉันเห็นแตกต่างว่า..ครู,,คือผู้สร้างชาติต่างหาก...ปลูกจิตสำนึกให้ครูรักการพัฒนาตัวเอง..(ได้อย่างไร?)..ดีกว่าวิจัยเพื่อพัฒนาครู.....(คิดแบบครูอนุบาล..ที่มีจิต และวิญญาณครู..ที่รักการสอนเด็ก..มากว่ารักการสอนหนังสือ......) บันทึกแรกแห่งปี ๒๕๕๓ ฉันไม่ใช่นักดนตรี ไม่ได้จบการศึกษาทางด้านดนตรีแต่ฉันมีความรักทางด้านเสียงดนตรีมาตั้งแต่จำความได้...(ครรภ์มารดา คือเวทีดนตรี... แห่ง... แรก....ของลูก) รักดนตรี ไม่มีวันแก่

           การสอนการละเล่นพื้นบ้านด้วยเพลง

ความสอดคล้อง และความเหมาะสม  ของสื่อประเภทเพลงกับวุฒิภาวะของเด็กปฐมวัย เด็กสามรถรับรู้และตอบสนองเสียงดนตรีได้ตั้งแต่ปฏิสนธิในครรภ์มารดา (ปัญญา รุ่งเรือง  ,2546) กล่าวไว้ว่า ด้านเสียงดนตรีนั้นมีความสัมพันธ์กับเด็กมาตั้งแต่เกิด มนุษย์ถือกำเนิดมาก็รู้จักทำนองและจังหวะได้โดยไม่ต้องมีใครสอน  เพราะว่ามันเกิดมาจากอารมณ์เป็นสำคัญ  ดนตรีนั้น เกิดจากอารมณ์ของมนุษย์  ดีใจ สนุกสนาน ก็ตบมือกระทืบเท้า  (ณรุทธิ์  สุทธจิตต์,2540) อธิบายว่า เสียงดนตรีเป็นประสบการณ์สำคัญมากอย่างหนึ่งที่เด็กปฐมวัยควรจะได้รับจากกระบวนการการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นการจัดประสบการณ์ด้านดนตรีโดยตรงให้กับผู้เรียน หรือการใช้เสียงดนตรีเพื่อช่วยเสริมการเรียนรู้ด้านอื่นๆ โดยได้กล่าวถึง ปฏิกิริยาตอบสนอง  ต่อเสียงดนตรีที่ได้ยิน ตั้งแต่เด็กแรกเกิด เด็กอายุ 1 ขวบ  เด็กอายุย่างเข้า 2 ขวบ และ เด็กอายุ 3 ขวบ จะมีการตอบสนองต่อเสียงดนตรี มีการเคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรีมากขึ้น เด็กอายุ 4-5 ขวบมักจะร้องและเล่นเครื่องประกอบจังหวะร่วมกันกับเพื่อน ๆ เมื่อมีการเล่นร่วมกัน  และมักจะร้องเพลงโดยพยายามจะทำให้เข้ากับจังหวะดนตรีมากขึ้น 

การจัดกิจกรรมประเภทเพลงสามารถทำได้ ดังนี้

1.  กิจกรรมการร้องเล่นและทำท่าทางประกอบ

2.  กิจกรรมการร้องตอบ-โต้

3.  กิจกรรมการร้องเล่นทายปัญหา 

4.  กิจกรรมการร้องประกอบการเล่น และการละเล่นพื้นบ้าน  

คุณค่าของเพลง

1.  ให้คุณค่าทางอารมณ์ ทำให้เศร้า สนุกสนาน ร่าเริง

2.  ก่อให้เกิดจินตนาการ

3.  ก่อให้เกิดอารมณ์ขัน

4.   เกิดสุนทรีรส หรือความไพเราะ

5.  ให้เรื่องราว

ประโยชน์ของเพลง

  ด้านร่างกาย  ความจำเป็นของการเคลื่อนไหวร่างกาย จังหวะและดนตรีจะช่วยกระตุ้นให้เด็กเคลื่อนไหวมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงมีการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อ และทรงตัวได้ดี ดนตรีที่เหมาะสำหรับการเคลื่อนไหว ได้แก่เครื่อง เคาะจังหวะ

 ด้านอารมณ์-จิตใจ  การเคลื่อนไหวเป็นการสนองต่ออารมณ์ บนพื้นฐาน

ความต้องการเบื้องต้นของมนุษย์ ก่อให้เกิดความพึงพอใจ ความสนุกสนาน เพลิดเพลินเครื่องดนตรีทุกประเภทมีผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์

ด้านสังคม   เครื่องดนตรี เพลงส่งเสริมให้เด็กรู้จักกัน เล่นด้วยกันมากขึ้น เพลงเด็กจะสอดแทรกเนื้อหา และเรื่องราวไว้ให้ได้เรียนรู้ทั้งทางตรง และทางอ้อมอย่างไม่รู้เบื่อ

ทุกประเภทมีผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์

ด้านสติปัญญา   เพลงทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย เป็นอิสระและเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง ทำให้เด็กกล้าตัดสินใจ คิดและแสดงออกในสิ่งที่เขาต้องการจะทำ เครื่องดนตรีที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา เช่น เปียโน ออร์แกน และระนาด

สรุปโดยรวม  ดนตรีมีเกี่ยวข้องกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด จนเมื่อเติบโตขึ้นถึงวัยเข้าเรียน ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาวิชาที่เรียน และ เป็นส่วนประกอบของกิจกรรมต่างๆ ดนตรีสำหรับปฐมวัยนั้น มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากดนตรีในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา เพราะดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ดนตรีที่เด็กแสดงออกตามความพร้อม การรับรู้และ ความสนใจของเด็กแต่ละคน การแสดงออกของเด็กจะอาศัยสื่อบางอย่างได้แก่ เสียงร้อง อุปกรณ์เครื่องดนตรี หรือ การเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งการแสดงออกทางดนตรีของเด็กจะแสดงออกหลายรูปแบบเช่น การร้องเพลง การเคลื่อนไหวตามจังหวะตามทำนอง และตามเนื้อร้องของเพลง รวมทั้งการเล่นอุปกรณ์เครื่องดนตรี และการสร้างสรรค์ทางดนตรี ครูเป็นบุคคลสำคัญและมีอิทธิพลในการช่วยเหลือเด็กให้เกิดความรักทางด้านดนตรีมีประสบการณ์ทางด้านดนตรีมีความเจริญงอกงามทางดนตรี มีการพัฒนาการทางดนตรีและมีพฤติกรรมใหม่เกิดขึ้นอันเป็นผลจากการเรียนรู้ ซึ่งผลการเรียนรู้นี้ช่วยให้เด็กมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่างๆคือ
        1.  มีทักษะทางด้านดนตรี
        2.  มีความชื่นชมและรักในดนตรี
        3.  มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออก และอยากทดลองสิ่งใหม่

 

             แนะนำเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดกับเด็กปฐมวัย เด็กในยุคสมัยนี้โชคดีกว่าฉันมาก ฉันรู้จักคีย์บอร์ดแบบที่เรียกว่า ได้เรียนรู้อย่างถูกต้อง ไม่ใช่แค่เห็น เมื่ออายุได้ ๑๘ปีโดยประมาณ มันนานมากเมื่อเทียบกับอายุฉันในปัจจุบัน ความทรงจำเกี่ยวกับเจ้าเครื่องดนตรีชนิดนี้ เมื่อครั้งเมื่อได้มีโอกาสเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ ด้วยประสบการณ์เดิมที่นำติดตัวมาเมื่อครั้งเรียนที่ต่างจังหวัด ฉันเป็นนักร้องของโรงเรียนมาก่อน เครื่องดนตรีชนิดนี้คุณครูจะเป็นผู้เล่นให้เราร้อง แต่ครูไม่ได้สอนหลักวิธีการเล่นให้เรา ครั้งนั้นจำความได้ว่าตัวเองเป็นนักร้องของโรงเรียนมาตั้งแต่อายุ๑๐-๑๑ขวบ งานแรกที่มีโอกาสได้ร้องแสดงความเป็นตัวเป็นตนของตนเองว่า "ฉันนะมีความสามารถทางด้านนี้" ก็เมื่อจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ ๔ ที่ทางโรงเรียนจัดจะเป็นเหมือนการอำลาโรงเรียน ครู และเพื่อนๆ พี่ ๆ ฉันจำได้ว่าครั้งนั้นฉันร้องเพลงแม่พิมพ์ของชาติ ต่อจากนั้นมาเรียนประถมปลายที่โรงเรียนใหม่ ฉันโตขึ้นอีกหน่อยแต่ยังมากด้วยความสามารถทางด้านการร้องเพลงคุณครูที่โรงเรียนนี้ให้ฉันร้องเพลงต่อไปอีก คุณครูที่สอนดนตรีขณะนั้น ชื่อคุณครูมนตรี สุวรรณรงค์ สอนโน้ตสากลให้รู้บ้างพออ่านออกไม่ชำนาญอะไร จนจบชั้นประถมปลาย ย้ายไปเข้าโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนแห่งใหม่นี้ก็ให้ฉันเป็นนักร้องโรงเรียนต่อไปอีกจนจบชั้นมัธยมต้น...(เป็นประสบการณ์ที่ยาวนานเหมือนกันเกือบ ๑๐ ปี ไม่มีเวทีชิงช้าสวรรค์ หรืออะไรให้แสดงจะมีก็แต่งานราดรีสโมสร งานเลี้ยงสังสรรค์ของเจ้านายระดับอำเภอให้เราได้ไปร้องบรรเลงให้สำราญ..งานในชุมชนก็มีงานลอยกระทง งานวันเด้กวันครูอะไรต่างๆ ประมาณนี้...)...และย้ายไปเรียนต่อชั้นประถมปลายอีกแห่งหนึ่ง...เวลานี้ฉันโตเป็นสาวรุ่น..ใจยังอยากเป็นนักร้องโรงเรียนอยู่เหมือนเดิม...แต่...ไม่ร้องดีกว่า...ตั้งหน้าเรียนหนังสืออย่างเดียวจนจบ ม.ปลายก็เข้ามาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ......ไปร้องอีกทีก็ที่ โรงเรียนสอนขับร้องดนตรีของป.วรานนท์..เรียนรู้เครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด...และฝึกร้องเพลงบังคับ(เพลงที่ใช้ฝึก /เพลงบังคับส่วนมากก็ตั้งแต่ ๒ เพลง-๓ เพลงเกือบเหมือนๆกันทุกสถาบันการสอนขับร้องดนตรี ที่เราต้องเรียนรู้ตัวโน้ต การใช้เครื่อง)  เมื่อนึกย้อนหลังและเทียบกับเด็กสมัยนี้ที่มีโอกาสมาเสนอให้อย่างหลากหลาย ฉันอาจจะไม่ใช่ครูสอนเด็กปฐมวัยแน่นอน เมื่อเข้ามากรุงเทพฯก็แอบไปเรียนดนตรีร้องเพลงที่โรงเรียนสอนขับร้องดนตรีของ ป.วรานนท์ ตั้งที่ซอยสายน้ำทิพย์ ฉันจำเป็นซอยสายน้ำผึ้ง จำโรงเรียนนี้ได้เวลาเข้าไปในซอยจะผ่านโรงเรียนนี้

                                                  (ปล่อยให้คนอ่านสับสนอยู่นานเพราะผู้บันทึกสับสน ต้องไปค้นเอกสารเก่ามาดู ตัวจริงของจริง...กัน..เป็นคนชอบเก็บเอกสารเก่า แม้กระทั่งบัตรสมัครสอบบรรจุ(ปี ๒๕๒๘)ก็ยังมีอยู่..จริง..ๆ....อะไรที่ทำให้เราภูมิใจ..เราจะเก็บมันไว้.. จดจำ..สมองเราที่ผ่านอะไรมาเยอะ..บางอย่างก็ถุกลืม..ลบเลือน.ไปบ้าง....) 

สุขุมวิทที่ ๒๒ ฉันน่าจะจำสับสนอยู่บ้าง ต้องยอมรับ อายุที่เขามาเยือนเรา แต่ฉันก็ยินดีที่จะต้อนรับเขา...มีอายุ เพราะถ้าไม่ยินดี ก็ย่อมไม่มีอายุ คนหมดอายุ นั่นหมายถึงอะไร และปีนี้ ก็ต้องขอบคุณทุกสิ่งอย่างธรรมชาติรอบตัว หรือจะอะไรก็เถอะที่ทำให้ฉันมีอายุยืนยาวขึ้นมาได้อีก๑ ปีและนี่ก็เป็นบันทึกแรกแห่งปีอายุนี้                                     

 จากอายุ๑๘ - ๕๑ ย่าง คือปัจจุบันฉันเหลืออะไรบ้างเกี่ยวกับคีย์บอร์ด ฉันถามตัวเอง คำตอบรู้ว่ามันมีรูปร่างอย่างไร ใช้อย่างไร แต่หลังจากนั้นฉันก็พยายามที่จะทบทวนความจำให้กลับคืน ได้ติดต่อครูดนตรีมาสอนที่บ้าน แต่ไม่ประสบความสำเร็จความทรงจำไม่เพิ่มขึ้น เพราะมีภาระ หลายอย่างเหลือเกิน ๑.ฉันเป็นแม่ของลูก ๒ คน พวกเขายังเด็ก คนเล้กอายุ๑ขวบ ๒.ครูสอนกับเราเวลาว่างไม่ตรงกันบ่อย ๓. เลยเลือกเอาทำงานบ้านและเลี้ยงลูกไปเสียเลย จนปัจจุบัน ฉันคิดว่าตัวเองว่างมาก ถึงมากเสียด้วย ก็หวนกลับไปหาสิ่งที่เคยรักเคยชอบอีกครั้ง เริ่มฝึกฝนดนตรีใหม่อีกครั้ง ไม่ยาก และก็ไม่ง่ายเท่าใดนักจากทุนเดิมที่มีอยู่(ครูที่สอนดนตรีบอกว่า ถ้าไม่มีประสบการณ์มาก่อน จะยากมาก ถึงขั้นไม่มีการพัฒนาเลย เมื่อมาเริ่มในวัย๕๐-๕๑)  แน่นอนที่สุดฉันประทับใจ ฉันรู้สึกมีความสุขเมื่อได้ฟังเสียงดนตรี กับเครื่องดนตรีที่ฉันรู้สึกคุ้นเคยกับเขามาก่อน จะได้ไหมถ้าฉันจะใช้ประโยชน์จากสิ่งนี้...เพื่อประโยขน์สำหรับเด็กๆ อย่างน้อยที่สุดก็เป็นพื้นฐานหรืออาจะเป็นประสบการณ์แรกที่เขาต้องจดจำ.....และระลึกขึ้นได้เหมือนฉันเป็นอยู่ ณ..ปัจจุบันนี้ก็ได้...คือคำถามที่จะต้องตอบตัวเอง...



 คำตอบที่ฉันต้องให้กับตัวเองก่อนที่จะไม่มีโอกาสได้ทำสิ่งที่ชอบ ที่ชอบได้ด้วยตนเอง ตอบว่า (ครูไทยทำได้ทุกอย่าง.....อย่าเพิ่งเหมาว่าครูจะมั่ว...เมื่อมีโอกาสเรียนต่อ ป.โท ฉันเลือกเรียนสาขาปฐมวัย และเลือกทำวิจัยเกี่ยวกับเพลง...เพลงเด็กๆ..เพลงและดนตรีทำไม..? มีผลต่อเรา..ต่อคนอื่นๆ ทุกเพศ..ทุกวัย..ทุกชาติ..ทุกภาษา.....น่าฉงน..นัก...) ครูไทย..ทำได้ทุกอบ่าง..เคยได้ยินคนอื่นเขาพูดลักษณะนี้มาก่อน...ขอเอาเป็นตัวอย่างแม้มันอาจจะไม่เลิศหรู.. แต่จริงใจ..ต่อเด็กๆ...

ครูไทยทุกวันนี้ ต้องพัฒนาตัวเอง(ตัว

ของเรา..เรารัก..เรารู้..เราตั้งใจ..สร้าง(เสริม)สรรค์..ด้วยตัวเรา...ใครจะรู้ข้อบกพร่องของเราได้ดีกว่าเรา..

การสร้างเครื่องมือวิจัยประกอบด้วย

  • ศึกษาค้นคว้าสื่อประเภทเพลงจากของเดิมที่มีอยู่ โดยเลือกจากเพลงที่มีตัวโน้ตเรียงลำดับ "โด เร มี ฟา วอล" เลือกเพลงสั้น ง่าย และยากขึ้นตามลำดับ
  • เชียนเพลงใหม่เพิ่มเติมเพื่อความเหมาะ
  • แผนการสอน
  • สร้างแบบวัด
  • สร้างเกณฑ์การประเมินผล
  • แบบฝึกการใช้นื้วมือขวาบนคีย์บอร์ด
  • รูปภาพสัตวืที่สอดคล้องกับเนื้อหาของเพลง  ได้แก่ กบ แมง ม้า หนู หมู เป็นต้น

นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถุกต้อง แล้วปรับปรุงตามคำแนะนำเพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนสูงสุด เมื่อได้เครื่องมือที่ดีแล้วได้เสนอต่อผู้บริหารเพื่อขอความอนุเคราะห์ทดลองเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชายหญิงที่มีอายุระหว่าง4-5 ขวบกำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนอนุบาลบุรีรมย์ ระยะเวลาในการทดลองเครื่องมือ 1 สัปดาห์ ตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 9.00-9.30  

      

วันที่ ๒ ของการ try-out

หลังจากแนะนำเครื่องดนตรี กับเด็กๆ

ครูพาเด็กๆร้องเพลงไก่ และสนทนาเกี่ยวกับธรรมชาติของไก่

            

เด็กๆ แสดงท่าทางเลียนแบบไก่ ภาพนี้ "ไก่ทุกตัวออกไปหากิน" ๒ ตัว.๓ ตัวออกหาไก่

 แผนการจัดประสบการณ์ที่ ๓ ร้องเพลงไก่เพื่อเป็นการทบทวน และสอนอ่านโน้ตทำนอง(แผนนี้จะมีความยากในระดับกลาง เนื่องจากเด็กต้องปฏิบัติตัวโน้ต ถึง ๕ ตัว)

ข้อเสนอแนะในการฝึก ต้องฝึกให้เด็กฟังจังหวะไปพร้อมกับฝึกใช้นิ้ว เพื่อให้เด็กคุ้นเคย

    

ให้เด็กฟังเสียงดนตรี เด็กอ่านโน้ต ครูปฏิบัติเครื่องเล่นฯ

 

ให้เด็กฝึกการใช้นิ้วมือขวาบนคีย์บอร์ด ตัวโน้ต "มีซอล  มีโด" ผลของการปฏิบัติ จะยากหน่อยนึง เนื่องจากเล่นโน้ตข้ามนิ้ว  แต่ฝึกเพียงครั้งที่ ๒,๓ เด็กก็สามารถทำได้ (ต้องขอชมเชยเด็กเก่ง จริง ๆ)

    

 

 

   

วันที่๔ แผนฯ ๓ เด็กร้องเพลงได้แม่นยำ ครูสอนให้อ่านโน้ตทำนอง"เพลงไก่"

เด็กร้องโน้ตทำนอง ครูเล่นเครื่องดนตรีฯ (ซ้ำ หลายครั้ง)

เมื่อเด็กจำโน้ตได้แม่นยำ ครูทดลองให้เด็กฝึกการใช้นิ้วมือขวาบนคีย์บอร์ด

     

 

 

     

 ให้เด็กฝึก ครูคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

เด็กเรียนรู้ทุกอย่างไดเร็วมาก จากการสัมภาษณ์เด็กเรียนครั้งนี้เป็นประสบการณ์แรก และเพลงที่ใช้ค่อนข้างยาก แตกต่างจากแผนที่ ๑,๒ ที่มีโน้ตเพียง ๓ ตัวเท่านั้น

ทดลองเครื่องมื ๑ สัปดาห์ นำเครื่องมือมาปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้กิจกรรมในการฝึกปฏิบัติเครื่องเล่นคีย์บอร์ดมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนสูงสุดผลปรากฏว่าเครื่องมือที่นำไปทดลองกับเด็กมีความเหมาะ

  • ในด้านวุฒิภาวะของอายุ กับพัฒนาการของเด็ก
  • เนื้อหาไม่ง่าย และยากจนเกินไป
  • จัดกิจกรรมโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ไม่แยกเรียนเป็นรายบุคคล
  • เนื้อหาในแต่ละแผนฯเหมาะสมกับเวลา
  • แบบทดสอบสอดคล้องกับเนื้อหา และครอบคลุมวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  • แบบทดสอบสอดคล้องกับนิยามศํพย์
  • แบบทดสอบสอดคล้องกับวัตถุปรสงค์

สรุป เครื่องมือที่นำไปทดลองมีความเหมาะสม ไม่มีข้อบกพร่องที่ก่อให้เกิดโทษหรืออันตรายต่อผู้เรียน 

 (ปัญญหและอุปสรรคของการเรียนรู้ทางด้านดนตรี รวบรวมจากงานวิจัยที่ผู้รู้ได้ศึกษาไว้ :

  • เสียงของเด็ก คือความแตกต่างอันดับแรก ที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงอย่างมาก บางครั้งครูสอนเด็กให้ร้องเพลง ครูร้องไม่รู้กี่จบเด็กก็ไม่ยอมร้องออกมาสักที ..การเรียนการสอนล้มเหลว....แต่คุณครูจะรู้ไหมว่าทำไมเด็กจึงไม่สนองตอบเสียงเพลง... 
  • เด็กชายมีปัญหาเสียงเพี้ยนมากกว่าเด็กหญิง
  • เด็กเรียนร้องเพลงจากครูผู้หญิงได้ดีกว่าเรียนร้องเพลงจากครูผู้ชาย
  • เด็กทุกคนสามารถได้รับความบันเทิงและประสบความสำเร็จในการร้องเพลงจากความช่วยเหลือของครู
  • การพัฒนาทักษะทางดนตรีโดยใช้กระบวนการกลุ่มจะประสบความสำเร็จได้สูงในกลุ่มเด็กที่มีอายุ ๔-๙ ขวบ
  • เด็กยังไม่สามารแยกความแตกต่างและปรับเสียงร้องให้สูงหรือต่ำได้(โดยธรรมชาติเด็กจะมีเสียงสูงมากกว่าเสียงต่ำ)
  • การฝึกลมหายใจมีผลต่อทักษะการร้องเพลง)

การเก็บข้อมูล

นำเครื่องมือไปใช้สอนระเวลา 4 สัปดาห์กับกลุ่มทดลองได้แก่นักเรียนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ขวบกำลังศึกษาในชั้นอนุบาลที่ 1/ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา 2552โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์

แผนที่ 1 สัปดาห์ที่ 1 เพลง กบตัวน้อย เพลงเธอและฉัน

 แนะนำเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ด

ครูให้เด็กสังเกตเครื่องเล่นคีย์บอรืด ครูอธิบายและแบ่งกลุ่มคีย์บอร์ดสีขาวและสีดำให้เด้กสังเกตลิ่มคีย์บอร์ดสีดำ ในแต่ละกลุ่มว่ามีจำนวนเท่าใด ครูให้เด็กๆหาเสียง "โด" โดยการใช้นิ้วมือขวาวางบนคีย์บอร์ด ที่ด้านข้างคู่ดำ เมื่อกดลิ่มคีย์บอร์ดจะได้เสียง "โด"วางนิ้วอื่นๆที่ลิ่มคีย์บอร์ดถัดไปจะมีเสียง "เร มี ฟา ซอล " ตามลำดับ

     

เมื่อเด็กเข้าใจวิธีวางมือแล้วให้ฝึกใช้นิ้วมือขวาบนคีย์บอร์ด ตามขั้นตอน คือ

  • ฝึกการใช้นิ้วมือขวาให้คล่องก่อน "โด เร มี ฟา ซอล ซอล ฟา มี เร โด"

เด็กอนุบาล๔ขวบ กล้ามเนื้อมือขวาแข็งแรงพอที่ฝึกเล่นคีย์บอร์ดแล้ว แม้กระทั่งเด็กที่ถนัดเขียนหนังสือด้วยมือซ้ายก็สามารถพัฒนาการเล่นด้วยมือขวาได้ โดยครูอธิบายให้เด็กเข้าใจว่าเวลาเขียนหนังสือหนูจะใช้มือซ้ายก็ได้ แต่การเล่นคีย์บอร์ดคุณครูให้หนูลองฝึกด้วยมือขวา เด็กเข้าใจและทำตามที่ครูแนะนำ ในที่สุดเด็กก็สามารถใช้มือขวาในการเล่นคีย์บอร์ดได้ ทุกคน

เด็กฝึกไล่นิ้วไม่นานก็คล่อง เมื่อคล่องแล้วครูใหเด็กลองเล่นตัวโน้ตเพลง ที่ครูสอนโน้ตจำนวน ๓ ตัว เด็กสามารถเรียนรู้ได้เร็วมาก และที่สำคัญเพลงที่ครูใช้สอนต้องเรียงตัวโน้ต "โด เร มี" และย้อนกลับ "มี เร โด" ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ถูกต้องตามทฤษฏี

         

 

                 

 แผนที่2 ส้ปดาห์ที่2 เพลงม้าสีขาว,เพลงหนูมาลี

วันที่ 3 สัปดาห์ที่ 2 เด็กสามารถใช้เครื่อง คีย์บอร์ดได้อย่างคล่องแคล่ว

สัปดาห์นีครูจัดกิจกรรมให้สัมพันธ์กับหน่วยการเรียนรู้รายสัปดาห์ "หน่วยกล้วย"

      น้องแสตมป์  

 น้องแสตมป์ เป็นเด็กที่มีพรสรววค์ ในด้านดนตรี สำหรับฉันคิดว่า "คำนี้ไม่เชยหรอก"ถ้าสมัยใหม่อาจเรียกได้เป็น ความสามารถพิเศษทางดนตรี เพราะสามรถฟัง จำแนกเสียง สูง-ต่ำ จังหวะได้เป็นอย่างดี และในขณะเดียวกันก็ต้องปกิบัติการเล่น ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมือและการประสานสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อกับประสาทตา (ในชั้นนี้โปรแกรมของเราจะยังไม่ให้เด็กใช้เสียงประสาน/chord ซึ่งอาจจะยากเกินไปสำหรับเด็กอนุบาล 4 ขวบ ต่อเมื่อเด็กมีความสามารถทางด้านดนตรีสูงก็สามารถแยกฝึกเป็นกรณีพิเศษได้เช่นกัน)

 

        เล่นประกอบเพลงม้าสีขาวแบบไม่ใช้อุปกรณ์

 

         เล่นประกอบอุปกรณ์ "ม้าก้านกล้วย"(ให้สอดคล้องกับหน่วยการเรียน "สัปดาห์นี้เราเรียนหน่วยกล้วย")                                              

 

        

เพลงม้าสีขาว มีโน้ต 5 ตัว วิธีเล่นยากขึ้นกว่าแผนที่หนึ่ง สอง เด็กค้องเล่นข้ามนิ้ว ในวรรคแรกของเพลง

          วันที่ สี่ แผนที่ สอง วันนี้น้องแสดมป์ลาป่วย แต่เราก็มีตัวแทน มาเล่น คีย์บอรืดให้เพื่อนๆได้เล่นสนุกนะค่ะ

คุณครูให้น้องเกรดมาเล่นแทน คุณครูเรียกน้องเกรดมาเป็นผู้นำการเล่น โดยน้องเกรดเล่นเพลง "ม้าสีขาว" เพื่อนเล่นม้าก้านกล้วยกำหนดกลุ่มย่อย สีคน(เด็กที่มีพัฒนาการทางด้านดนตรีระดับเดียวกันกับน้องเกรด มีประมาณ หก-เจ็ดคน น้องเกรดมีบุคลิกที่โดเด่นกว่าคนอื่นๆ ตรงที่กล้าแสดงออก ช่างเจรจา และเป็นเด็กร่าเริง )

 

  เพื่อนๆ ในกลุ่มนี้ มีเด็ก Hyperactivity สองคน อีกสองคนเป็นเด็กมีข้อบกพร่องทางพฤติกรรมสังคม ปกติกลุ่มนี้จะมีน้องอุ้มอีกคนหนึ่ง ซึ่งเด็กจะเล่นด้วยกันเป็นประจำเนื่องจากมีความพร้อมใกล้เคียงกัน

 

   

 

น้องมะนาวความสามารถใกล้เคียงน้องเกรด  เด็กชายชานนท์และคนอื่นๆ

 เด็กกลุ่มนี้ใช้นิ้วมือขวาบนคีย์บอร์ดได้อย่างคล่องแคล่วเด็กจะเรียนรู้ได้ดีต้องมีการร้องเพลงประกอบขณะเล่น ยิ่งถ้าระดับเสียงของครูกับเด็กสอดคล้องกันเด็กจะเรียนรู้การใช้เครื่องได้เร็วมาก คือความแตกต่างในการเรียนของผู้ใหญ่และเด็ก  เด็กไม่ต้องการคำอธิบายมากมาย เหมือนผู้ใหญ่ เพราะความรู้ทางภาษาเด็กมีน้อยมาก(พูดไปเด็กก็ไม่เข้าใจหรอก) ในบางครั้งจากการสังเกตขณะเด็กปฏิบัติเครื่องเล่น เมื่อเขาเล่นผิด ครูร้องเพลงให้ฟังอีกครั้ง เขาสามารถแก้ไขให้ถุกต้องได้ โดยที่ครูไม่ต้องบอกว่า เสียงเร เสียงโด กดใหม่ซิ ใช้นิ้วนี้ อะไรทำนองนี้ ซึ่งคำพูดของครูจะทำให้เด็กงงไปใหญ่

     

       

 การสอนคีย์บอร์ดเด็ก ไม่ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ครูผู้สอนต้องปรับตัวให้สอดคล้อง-กลมกลืนไปกับเด็กให้ได้ (เข้าใจธรรมชาติของเขาให้มากๆ ลูกศิษย์ของฉันคนหนึ่ง/จากคำบอกเล่าของผู้ปกครองนำเด็กไปฝากเรียนที่โรงเรียนสอนดนตรีแห่งหนึ่ง ซึ่งเปิดสอนในระดับประถมคือเด็กอายุ หกขวบชึ้นไป ผลปรากฏว่าลูกไปเรียนไม่กี่ครั้งก็ต้องหยุดเรียน และเสียเงินเปล่า บังเอิญฉันรู้จักกับครูที่สอนเลยแอบถามว่า"ทำไมหยุดเรียน พฤติกรรมขณะเขาอยู่ที่โรงเรียนสอนดนตรีเป็นอย่างไร" ครูที่สอนดนตรีบอกว่าไม่เข้าใจเด็กเลย ขออนุญาติเข้าห้องน้ำตลอดชั่วโมง สรุปว่าอยู่ในห้องนำมากกว่าอยู่ในห้องเรียนดนตรี ) 

  

แผนที่3 ส้ปดาห์ที่ 3

เพลงไก่ "ไก่ ไก่ ไก่ ตัวเล็ก ตัวใหญ่

ชวนกันไปคุ้ยเขี่ยหากิน

บ้างก็วิ่ง บ้างก็บิน

ชวนกันกินจนตัวมันใหญ่"

                   

เพลงนี้มีโน้ต ๕ ตัว น้องแก้ม และน้องมะนาว สามรถพัฒนาทักษะการเล่นกับเครื่องดนตรีฯ ได้ดีตามลำดับอาสาเล่นดนตรีทำนองเพลงไก่ให้เพื่อนๆ ฟัง

เนื้องเพลงนี้ เด็กส่วนมากจะคุ้นเคยกับทำนองเพลง เด็กบางคนรู้จักเพลงนี้ตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๓ ขวบ จึงทำให้ง่ายต่อการจดจำทำนอง(จากการทดลองเด็กสามรถจำทำนองเพลงดีกว่า ตัวโน้ตทำนอง  ความสำคัญในการสอนดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยครูผู้สอนต้องร้องเพลงให้ชัดเจนเสียงไม่เพี้ยน การใช้นิ้วมือขวาบนคีย์บอร์ดก็ไม่ใช่เรื่องยาก เด็กมีความจำดี และเม่นยำในการแยกเสียงสูง-ตำที่ครูร้องได้โดยไม่ต้องอ่านตัวโน้ต)

    

 วันศุกร์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ แผนการสอนที่ ๓

  เด็กมีพัฒนาการกับเครื่องดนตรีดีขึ้นตามลำดับ อยู่ในเกณฑ์ ดีมาก

 

                  

แผน4ส้ปดาห์ที่4 เพลงแมงมุมลาย (ไม่ทราบนามผู้แต่ง)

แมงมุมลายตัวนั้น     ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน

วันหนึ่งมันถูกฝน      ไหลหล่นจากบนหลังคา

พระอาทิตย์ส่องแสง น้ำแห้งเหือดไปลับตา

มันรีบไต่ขึ้นฝา        แล้วหันหลังมาทำตาลุกวาว

 เพลงนี้มีโน้ต ๕ ตัว ความยากอยู่ที่ การเล่นโน้ตเสียงสูง ผู้สอนต้องสามารถร้องสียงสูงได้ไม่เพี้ยน (โดยจริตของเด็กมีเสียงสูง)

เด็กอนุบาล ๔ ขวบเล่นได้ ไม่ยากอย่างที่ครูคิค 

                      

 

       

 

สัปดาห์สุดท้าย ครูทบทวนทักษะการเล่นกับเครื่องดนตรีประเภท Keyboard

 - การใช้สัญญลักษณ์แทนทำนองบนเครื่องเล่น

 - สังเกตการใช้นิ้วมือขวาบนเครื่อง

- การร้องเพลง ทั้งสิ้น ๑๑ เพลง

- การอ่านโน้ตเพลง

- การเล่นเพลงง่ายๆ

ทดสอบหลังเรียนใช้แบบวัดความรู้ความเข้าใจ และวัดทักษะ

แบบวัดความรู้ความเข้าใจ 

- การใช้สัญญลักษณ์แทนทำนองบนเครื่องเล่น

แบบวัดทักษะ

การใช้นิ้วมือขวาบนเครื่อง

วิธีการ  ครูให้เด็กจับกลุ่มย่อย ๒-๓เล่นกับเครื่อง คีย์บอร์ดโดยผลัดกันเป็นผู้เล่นและอ่านโน๊ต

        ครูสังเกตเด็กใช้นิ้วมือขวาบนเครื่องคีย์บอร์ด "โด เร มี ฟา ซอล ซอล ฟา มี เร โด" ๑๐ คะแนน)

๑.นิ้วหัวแม่มือโด              

๒.นิ้วชี้ เสียง เร 

๓.นิ้วกลางเสียง มี

๔. นิ้วนาง เสียงฟา

๕.นิ้วก้อยเสียง ซอล

เกณฑ์

เด็กปฏิบัติได้ถูกต้องได้ถูกต้อง            ได้ ๑   คะแนน   ไม่ถูกต้องได้ ๐ คะแนน

 

การร้องเพลงและอ่านโน้ต (ทั้งสิ้น ๑๑ เพลง ในที่นี้ เป็นเพลงที่มีทำนองซ้ำๆ เรียงลำดับตัวโน้ต ๓, ๔, ๕ ตัวตามลำดับ)

วิธีการ 

ให้เด็กจับกลุ่มย่อย ๒-๓ ออกมาร้องเพลง

 เกณฑ์

เด็กรอ้งเพลงได้  ได้ ๕ คะแนน  ร้องไม่ได้ ได้ ๐ คะแนน 

 วิธีการ 

ครูให้เด็กจับกลุ่มย่อย ๒-๓ คน ออกมาเล่นคีย์บอร์ดโดยปฏิบัติกับเครื่องทีละคน ผลัดกันเล่นและร้องเพลงหรืออ่านโน้ต จนครบทุกคน

  • ครูสังเกตการใช้นิ้วมือวางในตำแหน่งที่ถูกต้องอย่างคล่องแคล่ว ทุกตำแหน่ง

กณฑ์

เด็กเล่นเพลงกบตัวน้อยได้                  ได้  ๑ คะแนน 

เด็กเล่นเพลงเสียงกบได้                     ได้  ๑ คะแนน 

เด็กเล่นเพลงเธอและฉันได้                  ได้  ๑ คะแนน 

เด็กเล่นเพลงฉันรักเธอได้                     ได้ ๑ คะแนน

เด็กเล่นเพลงจับมือกัน ได้                    ได้  ๑ คะแนน

 

                    

แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ การใช้สัญลักษณ์แทนทำนองเพลงบนคีย์บอร์ด(หลังเรียน) 

 วิธีการ

ครูให้เด็กสังเกตภาพการใช้นิ้วมือขวาบนคีย์บอร์ด โดยกำหนดให้นิ้วหัวแม่มือแทนเสียงโด นิ้วชี้ เสียง เร นิ้วกลางเสียง มี นิ้วนาง เสียงฟา นิ้วก้อยเสียง ซอล ๒ ครั้ง

 แล้วให้โยงเส้นสัมพันธ์ภาพนิ้วมือขวา กับแป้นคีย์บอร์ด ให้ถุกต้อง

เกณฑ์

เด็กโยงเส้นถุกต้อง ได้ ๑ คะแนน ไม่ถูกต้อง ได้ ๐ คะแนน

 ผลการวิจัยและข้อวิจารณ์

   ๑.การใช้สัญญลักษณ์แทนทำนองบนเครื่องเล่น

เด็กส่วนใหญ่เข้าใจสัญลักษณ์แทนเสียงบนเครื่องเล่นซึ่งมีความสอดคล้องกับทักษะการเล่นของเด็ก เด็กหญิงมีคะแนนสูงกว่าเด็กชาย โดยเด็กได้คะแนนสูงสุด ๕ คะแนน จำนวน ๑๖ คน แยกเป็นหญิง ๑๑ คน  เด็กชาย ๕ คน เด็กที่ได้คะแนน รองลงมาคือ ๔ คะแนน  เป็นเด็กหญิง ๑ คน เด็กชาย ๒ คน และเด็กที่ได้คะแนนต่ำสุด ๒ คะแนนเป็นเด้กชาย(เด็กชายหริรักษ์ กัณฑภัย เป็นเด็ก สมาธิสั้น) 

   ๒.การใช้นิ้วมือขวาบนเครื่อง

ก่อนเรียนเด็กมีคะแนนสูงสุด ๔ คะแนนจำนวน ๘ คน เป็นเด็กหญิง ๗ คน เด็กชาย ๑ คน คะแนนต่ำสุด ๑ คะแนน ข้อบกพร่องที่พบ.....

คำสำคัญ (Tags): #ดนตรี
หมายเลขบันทึก: 305421เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2009 07:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมนายโมครา เอกพันธุ์  ได้อ่านบันทึกนี้แล้ว   มีความรู้สึกซาบชึ้ง เป็นอย่างมาก จนบอกไม่ถูก ทำให้นึกถึงและจำสิ่งที่เกิดในอดีตที่ตนเองประสบมาด้วยตนเอง และ ที่ตนเองเคยเรียนที่นี่ร่วมกันกับเพื่อนๆหลายคน ที่จำได้ไม่กี่คน  บันทึกนี้ค้นมาจากกูเกิ้ล โดยพิมพ์คำว่า นงลหงษ์ พ่ออามาตย์  เพื่อนเรียนที่พอจะจำได้ ก็พิมพ์ค้นหาบันทึกไปเรื่อยๆ จนได่้มาพบกับสิ่งนี้ มาป่านนี้ไม่รู้ว่า ท่านคุณครูทุกท่าน และเพื่อนๆที่่เคยเรียนด้วยกัน ก็ไม่ทราบว่า..จะเป็นเช่นรัย? โอ้ชีวิต ....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท