Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

TV4Kids : งานที่ไม่ตั้งใจที่จะทำ แต่ก็ทำอย่างตั้งใจ


งานวิจัยเรื่องนี้ทำให้เราได้มีโอกาสใช้แนวคิดด้านธุรกิจและสังคมในมุมที่ผสมผสานกัน พื้นที่สื่อโทรทัศน์เป็นเสมือนหน้าต่างบานหนึ่งของมนุษย์สู่โลกและชีวิต และอาจจะเป็นหน้าตาบานแรกสำหรับเด็กบางคนเสียด้วยซ้ำ เรื่องของการจัดการพื้นที่สื่อโทรทัศน์เป็นทั้งพื้นที่ของเสรีภาพส่วนบุคคลและเป็นทั้งพื้นที่สาธารณะที่ตกอยู่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐ
         วันนี้ ได้นั่งคุยกับคุณอารยา ชินวรโกมลนักวิจัยในโครงการ TV4Kids เพื่อเตรียมเขียนรายงานวิจัยเรื่องแนวคิดในการจัดการรูปแบบรายการโทรทัศน์เพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน ครอบครัว เลยคิดว่า น่าจะบันทึกถึงเรื่องนี้สักนิด 
         TV4Kids หรืองานวิจัยเพื่อพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน ครอบครัว เป็นงานที่เราคิดในปลายปี ๒๕๔๗  นึกถึงงานนี้ทีไรก็จะขำ กลิ้งไปกลิ้งมา เหตุผลที่กระโดดตามคุณหมอพรรณแสนสวยไปทำงานนี้ ก็เพราะอยากไปเจอคุณจาตุรนต์ ฉายแสง เพื่อขอให้ท่านผู้นี้ช่วยในเรื่องงานขจัดปัญหาความไร้รัฐความไร้สัญชาติให้แก่เด็กๆ
         แต่แล้วงานวิจัยชิ้นนี้ก็ให้โลกใบใหม่แก่เรา และให้ชีวิตใหม่แก่ลูกศิษย์คนหนึ่ง อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์คือลูกศิษย์คนนั้น งานวิจัยเรื่องนี้ทำให้เราได้มีโอกาสใช้แนวคิดด้านธุรกิจและสังคมในมุมที่ผสมผสานกัน พื้นที่สื่อโทรทัศน์เป็นเสมือนหน้าต่างบานหนึ่งของมนุษย์สู่โลกและชีวิต และอาจจะเป็นหน้าตาบานแรกสำหรับเด็กบางคนเสียด้วยซ้ำ เรื่องของการจัดการพื้นที่สื่อโทรทัศน์เป็นทั้งพื้นที่ของเสรีภาพส่วนบุคคลและเป็นทั้งพื้นที่สาธารณะที่ตกอยู่ภายใต้เขตอำนาจของรัฐ ตัวอย่างของการใช้อำนาจของรัฐบาลเหนือพื้นที่ในโทรทัศน์ ก็คือ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๗ โดยมติคณะรัฐมนตรีนี้ รัฐบาลไทยได้ตกลงใจที่จะแทรกแซงเข้ามากำหนดให้เวลา prime time ในพื้นที่โทรทัศน์จะต้องเป็นพื้นที่เพื่อการเรียนรู้เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว เสรีภาพในการจัดรายการโทรทัศน์ในช่วงนี้จึงถูกจำกัด แต่ก็เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
         เพื่อที่จะศึกษาถึงแนวคิดที่จะใช้ในการจัดการพื้นที่สื่อโทรทัศน์ให้เป็น "ห้องเรียนและห้องเล่น" สำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว  เราได้รับคำขอร้องให้สร้าง "ห้องทดลองทางสังคม" เพื่อสร้างสรรค์แนวคิดในการพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว 
           เราในขณะนั้น กำลังคิดวิธีการวิจัย แบบ R#D#M (Research # Development # Movement) และกำลังเตรียมทีมวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์แนวคิดในการจัดการพื้นที่สื่ออินเทอร์เน็ต  คิดง่ายๆ ตัดสินใจง่ายๆ ตะโกนเรียกอาจารย์สุรวุธ กิจกุศล คุณสมบัติ บุญงามอนงค์ คุณสมา โกมลสิงห์ และอาจารย์อิทธิพลหรืออาจารย์โก๋ "มาเร็ว มาช่วยกันหน่อย" และแล้วนวนิยายเรื่องยาวที่ชื่อ TV4Kids ก็เกิดขึ้น  ก็น่าแปลก พรรคพวกกระโดดลงมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ   ดูเหมือนทุกคน ก็เหมือนเรา ไม่ตั้งใจทำ แต่ก็ทำอย่างตั้งใจ
           ลองแวะมารู้จัก TV4Kids กันหน่อยดีไหมคะ  http://www.tv4kids.org/
คำสำคัญ (Tags): #การวิจัย#จัดการ
หมายเลขบันทึก: 30514เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2006 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วันนี้ TV4Kids เติบโตขึ้นมาก ทั้งความรู้ในการจัดทำโครงสร้างเพื่อพัฒนาทีวีเพื่อเด็ก ที่สำคัญวันนี้เห็นโครงของเครือข่ายที่เติบโตและแน่นแฟ้นมากขึ้น

อีกคำหนึ่งที่อยากตะโกนบอกกับทุกๆคนว่า งานนี้ทำอย่างตั้งใจและกัดไม่ปล่อย ไม่ใช่แค่เรา แต่รวมถึงเครือข่ายของเราด้วย

เอาน่า ยังงัยๆก็มาถึงขนาดนี้แล้ว การทำงานบนฐานของความรู้ ไปได้อีกไกลโข

ขอบคุณ อาจารย์แหวว ที่สร้างพื้นที่และรูปแบบในการทำงาน ขอบคุณเครือข่าย อาจารย์สุรวุธ พี่หริ่ง พี่สมา อ.ปุย

รวมไปถึงคุณหมอยงยุทธ คุณหมอพรรณ และอีกหลายๆคนที่ปลุกปลำงานนี้มาตลอด

อย่างนี้ไม่เรียกว่า กัดไม่ปล่อย จะเรียกว่าอะไรหละ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท