จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

สร้างคุณภาพงานวิจัยชาวบ้าน


วันนี้มีงานแทรกการเป็นนักศึกษาชั้นดีของผมครับ (ฮิฮิ ตั้งใจแล้วเชียวว่าจะไม่รับงานอื่น แต่สุดท้ายก็เกือบๆ เต็มสัปดาห์อีกแล้ว) อันเนื่องจากเมื่อสองวันก่อน ทีมงาน สกว.โหนดอิสลามศึกษาฯ โทรมาถามว่าได้รับหนังสือเชิญแล้วยัง เลยต้องย้ำไปว่า บอกแล้วว่า เอกสารส่งที่สาขาวิชาได้ แต่อย่าลืมอีเมลมาบอกด้วย ไม่งั้นผมตกข่าวแน่ๆ เนื่องจากถ้าไม่มีกิจธุระหรือว่าไม่มีที่ไหนเหมาะสำหรับเขียนวิทยานิพนธ์นอกจากสาขาวิชาแล้ว ก็จะไม่เข้าไปแน่นอน 

สงสัยอยู่เบื้องต้นแล้วครับว่า ทำไมเริ่มประชุมช้าจัง เริ่มเอาสี่โมงเช้า แต่ก็ยังคิดว่าประชุมครึ่งวันครับ เลยรับปากว่าช่วงบ่ายจะเป็นสารถีขับรถพาคุณแม่ (ยาย) ไปสายบุรีเพื่อเยี่ยมหลานคนใหม่ ฮือ จำไม่ได้แล้วว่าคนที่เท่าไร (สารภาพเลยว่า ผมยังจำชื่อหลานฝั่งภรรยาได้ไม่หมดครับ) แต่พอไปถึงห้องประชุมเลยถึงบางอ้อว่า วันนี้เขาประชุมช่วงบ่ายด้วย อ้าวแย่ละสิ รับปากทางโน้นไปแล้ว

ประเด็นคือการสรุปงานที่ผ่านมา แล้วก็ชวนคุยต่อว่าจะดำเนินงานโหนดต่ออย่างไร โดยเฉพาะภายใต้ข้อจำกัดใหม่ของ สกว. ซึ่งผมได้นำเสนอโจทย์ให้กับโหนดในเรื่องของการยกระดับคุณภาพงานวิจัยชุมชน ในมุมมองส่วนตัวคือ โครงการส่วนใหญ่ของนักวิจัยของโหนดยังขาดฐานคิดสำคัญสำหรับการนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมการวิจัย คือ ไม่ได้บอกว่าจะให้ชาวบ้านไปรีวิวเอกสารงานวิชาการหรอกครับ แต่อยากให้ชุมชนเน้นการนำเสนอมุมมอง ความเชื่อ และพลังในตนเองออกมาให้มากที่สุด ที่สำคัญ ตัวกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นน่าจะเกิดจากมุมมองดังกล่าวด้วยครับ ฟังดูเหมือนยาก แต่จริงๆ ไม่ยากครับ ประเด็นคือ พฤติกรรมที่แสดงออกมา มันก็ด้วยความเชื่อความศรัทธาของแต่ละตัวบุคคล ทำไมคุณทำอย่างนี้? จึงน่าจะเป็นเรื่องแรกที่ควรจะนำเสนอออกไปก่อน และถ้าคนเข้าใจว่าเราคิดอย่างไร เขาก็จะเข้าใจสิ่งที่เราทำด้วย

อีกประเด็นสำคัญคือ เมื่อมีข้อจำกัดในการสนับสนุนโครงการใหม่ ในขณะที่ชุมชนเริ่มรับรู้การทำงานของสกว. และมีความอยากทำวิจัยบ้าง ผมเสนอว่า กลุ่มสนใจเหล่านี้ควรมีโอกาสในการมีส่วนร่วมกับงานวิจัยที่ได้รับอนุมัติแล้วก่อน เพื่อการเรียนรู้ก่อนมีโอกาสได้พัฒนาโจทย์ของตนเองต่อไป 

คุยกันจนถึงเที่ยงนิดๆ ก็มีการสอบถามเกี่ยวกับการประชุมในช่วงบ่าย ปรากฏไม่ใช่ผมคนเดียวครับที่มีภารกิจอื่น ซึ่งนั่นก็หมายถึง น่าจะเก็บประเด็นไว้คุยในการประชุมครั้งแต่ไปแล้วกัน แต่เพื่อให้ได้ประเด็นที่ครบถ้วนเลยคุยต่อจนกระทั่งบ่ายโมงครึ่งครับ

ผมไม่ได้ร่วมวงอาหารเที่ยงครับ เพราะรีบไปปัตตานี แล้วก็วนไปสายบุรี แล้วก็กลับมาปัตตานีอีกครั้ง ถึงปัตตานีก็ค่ำพอดีครับ แวะไปละหมาดที่มัสยิดรายอปัตตานี ออกจากละหมาดก็ได้เจอะเจอกับ ผศ.จีระพันธ์ เดมะ ทักทายท่านแล้วก็นั่งคุยกันหน้ามัสยิดครับ จนกระทั่งเขาอาซานอีชา ฮิฮิ ตั้งใจว่าจะรีบกลับ ก็เลยละหมาดอีชาต่อแล้วจึงได้กลับบ้าน

ได้แง่คิดเยอะครับ โดยเฉพาะ คนกับองค์กร ในคำว่า องค์กรก็จะมีคำว่าวัฒนธรรมองค์กรอยู่ครับ คำถามหลักๆ คือ วัฒนธรรมองค์กรเกิดจากคนในองค์กรสร้างขึ้น ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว แล้วคนที่ผิดไปจากวัฒนธรรมองค์กรอยู่อย่างไร ทำอย่างไร ถูกมองอย่างไร และคนใหม่ๆ ที่มีวัฒนธรรมการทำงานต่างออกไป จะเข้าสู่องค์กรในรูปแบบไหน ฮือ ทำให้นึกถึงน้องๆ และคนรู้จักหลายคนที่อยากเข้ามาทำงานในมหาวิทยาลัย แต่มักจะถามผมว่า ผม/หนู/ฉัน ต้องเปลี่ยนตัวเองก่อนเข้าทำงานที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาหรือเปล่า

คงถึงเวลาชำระวัฒนธรรมองค์กรกันแล้วกระมังครับ

คำสำคัญ (Tags): #วิจัยท้องถิ่น
หมายเลขบันทึก: 305093เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2009 00:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ก่อนเข้ามาทำงานที่นี่ก็เคยคิดว่าต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองมากมายรึเปล่า อยู่ไปๆเริ่มคิดว่าเป็นเราแหละดีที่สุดเพราะถ้าไหลตามชาวบ้านอาจความเป็นตัวของตัวเอง แต่สิ่งหนึ่งครับที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดสำหรับการมาอยู่ที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา คือองค์ความรู้ที่ใหม่ๆ (อัลฮัมดุลิลละฮฺ)

ขอบคุณครับอาจารย์ เสียงเล็กๆ فؤاد 

นอกจากความรู้ใหม่แล้วอีหมานก็ต้องเพิ่มขึ้นเรื่อยๆด้วยครับ

เปลี่ยนตัวเองให้อยู่ได้ในองค์กรหรือว่าให้องค์กรเปลี่ยนเราสู่การเป็นมุสลิมที่ดี

 

เมื่อกี้เขียนรีบๆ (เขาอาซานละหมาด) เลยขอเขียนต่อ

ผมขอนำหลักการของแบนดูรามาใช้

จากผังอันนี้ทำให้เข้าใจว่า มีการให้และรับกันและกัน

ตัวเราในที่นี้หมายถึงอีมานหรือความศรัทธาที่มีอยู่ในตัวเรา เป็นตัวแปรสำคัญสู่การเกิดพฤติกรรมหรืออัคลากที่พึงประสงค์ และในเวลาเดียวกันก็สู่การทำให้สังคมเปลี่ยนแปลงด้วย

อัคลากหรือพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ก็ไปมีอิทธิพลต่อการสร้างอิมานของเราและในเวลาเดียวกัน ไปสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรมุสลิมตามที่อัลลอฮต้องการ

เช่นกัน องค์กรอย่าง มอย. มันก็สามารถสร้างอีมานและสร้างอัคลากที่พึงประสงค์ได้เช่นกัน

สรุปแล้ว องค์กรมี่รับและให้ การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ก็มีทั้งรับจากเราและให้เราด้วย

والله أعلم

ขอบคุณครับอาจารย์ Ibm ครูปอเนาะ ڬوروفوندق 

เป็นความเห็นที่ครบถ้วนสมบูรณ์ครับ

คนในองค์กรเป็นส่วนสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรครับ ที่สำคัญคนในองค์กรต้องไม่สร้างวัฒนธรรมที่เป็นภัยต่อองค์กรมาเข้าครับ

งานวิจัย เพื่แการพัฒนา ย่อมส่งผลดีต่อชุมชน ขอสนับสนุนด้วยคน

ขอบคุณครับ คนตานี 

ต้องร่วมแรงร่วมใจกันสนับสนุนครับ

มาชม

มางานเข้าเยอะจริงนะครับนี่...อิ อิ อิ

เป็นสุขกับการทำงานนะครับ...

-ผมว่าถ้าคนเราอยู่ในวัฒนธรรมที่ดี จะดีตามสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้นถ้างานวิจัยมีออกมาเยอะ ได้ผล สามารถสร้างองค์ความรู้ในตัวประชาชนทำให้มีมุมมองและวัฒนธรรมที่ดี เกิดขึ้นได้ทุกที่ และการต่อต้านวัฒนธรรมที่ดีจะมีน้อยลง

ขอบคุณครับท่านอาจารย์ umi 

มีความสุขกับการทำงานเช่นกันครับ

ขอบคุณครับอาจารย์ฮาลีม

คนสร้างวัฒนธรรม และวัฒนธรรมสร้างคนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท