ปุ๋ย : ปัจจัยสำคัญการผลิต


พรบ.ปุ๋ย แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2550

คณะกรรมการ

                              วันนี้ ได้อ่านเอกสารของกรมวิชาการเกษตร 37 ปี ฉบับพิเศษ มีเนื้อหาที่ควรเผยแพร่ นำมาขยายผลต่อให้เกษตรกรได้รับทราบในหัวข้อ “ค้าปุ๋ยถูกกฎหมาย นำเข้าและขายปุ๋ย” สาระสำคัญที่เกิดประโยชน์ กับผู้ใช้ปุ๋ย และนักส่งเสริมการเกษตร เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 ได้ขยายนิยามของปุ๋ย ครอบคลุมถึงอินทรีย์สังเคราะห์ และจุลินทรีย์ จากเดิมที่กำหนดไว้เฉพาะอินทรีย์ และ อนินทรีย์เท่านั้น

                                ปุ๋ยเคมี หมายถึงปุ๋ยที่ได้จากอนินทรีย์หรืออินทรีย์สังเคราะห์ รวมถึงปุ๋ยเชิงเดี่ยว ปุ๋ยเชิงผสม และปุ๋ยอินทรีย์เคมี   แต่ไม่รวมถึงปูนขาว      ดินมาร์ล ปูนพลาสเตอร์ ยิบซั่ม โดโลไมต์ หรือสารอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด

                                ปุ๋ยชีวภาพ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จากการนำจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่สามารถสร้างธาตุอาหาร หรือช่วยให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์กับพืชมาใช้ในการปรับปรุงบำรุงดินทางชีวภาพ ทางกายภาพ หรือทางชีวเคมี และให้หมายความรวมถึง หัวเชื้อจุลินทรีย์ด้วย ตัวอย่างปุ๋ยชีวภาพ เช่น ไรโซเบี้ยม  สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว  ไมโครไรซา

                                ปุ๋ยอินทรีย์เคมี หมายถึง ปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารรับรองแน่นอนโดยมีปริมาณอินทรีย์วัตถุตามที่รัฐมนตรีกำหนด

                                ปุ๋ยอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้มาจากวัสดุอินทรีย์ ซึ่งผลิตด้วยกรรมวิธีทำให้ชื้น สับ หมัก บด ร่อน สกัด หรือด้วยวิธีการอื่น และวัสดุอินทรีย์ถูกย่อยสลายสมบูรณ์ด้วยจุลินทรีย์แต่ไม่ใช่ปุ๋ยเคมี และปุ๋ยชีวภาพ

              จากคำนิยามของปุ๋ยเคมี ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์เคมีและปุ๋ยอินทรีย์ข้างต้น จึงอยากให้ผู้อ่านทุกคนได้ให้ความสำคัญกับการโฆษณาของผู้ประกอบการจำหน่ายปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ที่มักเหมารวมปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี โดยไม่ให้รายละเอียดที่สำคัญตาม พรบ.ปุ๋ย พ.ศ.2518 แก้ไขเพิ่มเติม ปี พ.ศ.2550 นำเสนอขายปุ๋ยให้เกษตรกรเน้นการเพิ่มผลผลิต แต่ราคาปุ๋ยชนิดต่าง ๆ อาจไม่คุ้มค่ากับการเพิ่มของผลผลิต  และขอแจ้งคำนิยามสำคัญเกี่ยวกับปุ๋ยปลอมและปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน ตาม พรบ. ดังนี้

                      ปุ๋ยปลอม คือปุ๋ยที่มีปริมาณธาตุอาหารพืชไม่ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบ เช่น ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ถ้าวิเคราะห์แล้วมีเนื้อธาตุไนโตรเจนไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 16) เนื้อธาตุฟอสฟอรัสไม่ถึง 14.4 เปอร์เซ็นต์ (14.4 = 90 เปอร์เซ็นต์ ของ 16) หรือเนื้อธาตุโพแทสเซียมไม่ถึง 7.2 เปอร์เซ็นต์ (7.2 = 90 เปอร์เซ็นต์ของ 8) ปอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าปุ๋ยสูตรนี้เป็นปุ๋ยปลอม

ถ้าปุ๋ยกระสอบใด มีปริมาณเนื้อธาตุมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ครบปริมาณที่ระบุไว้บนกระสอบแสดงว่าปุ๋ยกระสอบนั้นเป็นปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน  เช่น  ปุ๋ยสูตร 16-16-8 ถ้าวิเคราะห์แล้วมีเนื้อธาตุไนโตรเจน   15.2 เปอร์เซ็นต์ (15.2 = 95 เปอร์เซ็นต์ของ 16) เนื้อธาตุฟอสฟอรัส   15.4 เปอร์เซ็นต์ (15.4 = 96.25 เปอร์เซ็นต์ ของ 16) หรือเนื้อธาตุโพแทสเซียมไม่ถึง 7.6 เปอร์เซ็นต์ (7.6 = 95 เปอร์เซ็นต์ของ 8) อย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าปุ๋ยสูตรนี้เป็นปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน 

 

  

 

หมายเลขบันทึก: 303417เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2009 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

    ขอบคุณครับที่นำมาแบ่งปัน-แลกเปลี่ยน

หวัดดีครับ

  • ปุ๋ยแพงละ
  • ผิดมาตรฐาน
  • หรือปลอม ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท