น้ำใจ (ยังอยู่) สู้ภัยสึนามิ : การสร้างเครือข่าย NGO ที่เริ่มจากศูนย์


หากแนวคิดของคนนั้นตรงกับแนวทางการทำงานของกลุ่มที่วางไว้ เขาจะเป็นหนึ่งในกลุ่มทันที เพราะมีแนวทางเดียวกัน

การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ย่อมมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น แล้วการสร้างเครือข่ายที่เริ่มจากศูนย์ ซึ่งต่างจากที่อื่นๆ จะเกิดขึ้นมาได้อย่างไรกัน


"มีสิ่งของหลายสิ่งที่เจ้าของมองว่า มันคงไม่มีคุณค่าต่อคนอื่นมากนัก หรือไม่มีประโยชนอะไรเลย
พวกเราจึงมักจะเห็นของหลายสิ่ง ถูกทิ้งไว้ให้ฝุ่นจับ หยากไย่เกาะเต็มไปหมด

เราทำให้สิ่งของเหล่านั้น มันด้อยค่าลงไปต่างหาก
แต่ในความเป็นจริง แม้แต่ขยะที่ถูกทิ้ง ยังมีคนนำขยะไปรีไซเคิล
นำไปใช้ประโยชน์ได้อีกเยอะ

แล้วทำไม บันทึกใน blog ที่ถูกกลั่นกรองมาจากใจ
เมื่อเวลาผ่านไป ข้อความเหล่านั้น จะไม่มีประโยชน์บ้างหรือ"

นี่คือจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายเล็กๆขึ้นมา...

???


บันทึกในบล็อกของหลายคน เป็นการบันทึกไปเรื่อยๆ เจ้าของบันทึกประเมินว่า ไม่ได้ให้สาระความรู้ ประเทืองปัญญามากนัก

คุณศศิพร สาวกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นคุณครูคนขยัน คิดนอกกรอบ เมื่อเห็นเด็กวัยรุ่นในหมู่บ้าน อยู่ว่างๆ ไม่ได้ทำอะไร
จึงเริ่มการสร้างทีมงาน ชวนเด็กๆไปเรียนคอมพิวเตอร์ที่วิทยาลัยสารพัดช่าง ไปติดต่อขอข้อมูลในบล็อกที่สนใจ Copy ข้อความจากบล็อกเตรียมเอาไว้

หลังจากเด็กวัยรุ่นกลุ่มนั้น สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้แล้ว ศศิพรก็จับมาสอนการพิมพ์ เพื่อให้สามารถหารายได้เสริมจากการรับจ้างพิมพ์รายงาน โดยไปรับงานจากร้านถ่ายเอกสารหน้าสถาบันการศึกษาต่างๆได้ด้วย

สอนทักษะและให้ความรู้จนสนิทคุ้นเคยกัน จึงสอนการผลิต E-book กันต่อ

ในการทำหนังสือสักเล่ม มีกระบวนการหลายอย่าง
การได้อ่านหนังสือ เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง การได้ทำหนังสือ เป็นการฝึกทักษะการเรียนรู้ไปด้วย

แล้วเด็กๆในชนบท ที่ไม่ได้เรียนในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง
เค้าจะไม่มีโอกาสได้หัดทำหนังสือเลยหรือ

การลงทุนทำอะไรซักอย่าง ต้องใช้เงินทั้งนั้น ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคสำคัญในการทำความฝันนี้ให้เป็นจริง
ทักษะการทำหนังสือ จะให้อะไรหลายอย่างกับเด็กๆ

เมื่อได้หัดทำ E-book ต้องตกแต่ง จัดรูปแบบ เช็คคำถูกผิด การฝึกทักษะนี้ เป็นการส่งเสริมให้เด็กกลุ่มนั้น รักการอ่านไปด้วย

เมื่อเรียนรู้ทักษะการพิมพ์ การอ่าน และจะต้องเขียนเก่งอีกด้วย เพราะอยากให้ถ่ายทอดแนวคิดออกมาเป็นตัวหนังสือ แล้วรวบรวมเป็นหนังสือจากแนวคิดของแต่ละคน

"หากทำเป็นหนังสือ E-book แล้ว มันเผยแพร่ได้ง่าย จะแนบไฟล์ส่งไปให้คนอื่นทางเมล์ก็สะดวกมากขึ้น จะ print มาอ่าน หรือมาเข้าเล่มเก็บในห้องสมุดก็สะดวกมากขึ้น กระดาษ 1 ริม print หนังสือได้ตั้งหลายเล่ม ถือว่าเป็นการเปิดโอกาสให้คนอื่นมีโอกาสได้อ่านบันทึกเหล่านี้ด้วย ไม่จำกัดเฉพาะคนที่เปิดอ่านเวบเท่านั้น"

นี่คือการสร้างเครือข่าย โดยการฝึกฝนทักษะการทำ E-book ให้ ซึ่จะต้องเรียนรู้ การใช้คอมพิวเตอร์ กรพิมพ์ การอ่าน การออกแบบ จนถึงการถ่ายทอดเนื้อหา เรียนรู้จากเนื้อหาที่นำมาทำ E-book นั่นเอง แล้วเด็กๆแต่ละคนจะได้ถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองคิดไว้ ออกมาในสื่อที่ตัวเองผลิตเอง

หากแนวคิดของคนนั้นตรงกับแนวทางการทำงานของกลุ่มที่วางไว้ เขาจะเป็นหนึ่งในกลุ่มทันที เพราะมีแนวทางเดียวกัน

เป็นแนวทางการสร้างเครือข่าย โดยเริ่มจากศูนย์ ฝึกทักษะตั้งแต่ต้น สร้างความคุ้นเคย จนได้พิสูจน์ฝีมือ เพื่อนำมาสู่การยอมรับ และการทำงานร่วมกันในอนาคต

(ยังมีต่อ)

หมายเลขบันทึก: 30307เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2006 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอชื่นชมครับ...
ถ้ามีภาพประกอบกิจกรรม และตัวอย่างผลงาน (คิดว่าน่าจะนำมาลงเร็วๆนี้) ก็จะเห็นภาพได้จัดเจนยิ่งขึ้น และถ้ามีบทสัมภาษณ์ของน้องๆ และคุณครู มาลงด้วยแล้วยิ่งเพิ่มอรรถรสในการอ่านเป็นอันมาก หรือถ่ายวิดีโอคลิบมาลงด้วยแล้ว สุดยอดครับ ขอบอก..

ฝาก์พิจารณา บันทึกนี้ด้วยครับ
"ฝากไว้ให้ช่วยกันกระตุ้นสื่อเพื่อสังคมหน่อยนะครับ โปรดอ่านที่ ขอความเห็นจากทุกๆท่าน เรื่องการตีแผ่วงจรธุรกิจน้ำเมา แล้วไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อที่บอร์ดของทีวีบูรพา ตามหัวข้อที่แนะนำนะครับ ขอขอบคุณครับ.."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท