เมื่อไม่รู้จะเขียนอะไรใน blog แต่อยากจะเขียนออกมาให้ได้ : หาประเด็นเขียนจาก..ห้องสมุด มมส.


กระตุกต้อมคิด

เรื่องการเขียนหลายท่านได้เรียนรู้มาตั้งแต่เริ่มเรียนหนังสือ แต่ทักษะในการเขียนของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป

ใน gotoknow มีข้อเขียนมากมายให้อ่าน หลายแง่มุม หลายประเด็น แต่หลายคนก็ยังไม่รู้จะเขียนอะไรอยู่ดี ถึงแม้จะมีข้อเขียนหลายชิ้น แนะนำการเขียน วิธีเขียน สารพัดเทคนิค

แต่ก็ยังไม่รู้จะเขียนอะไรอยู่ดี

แม้จะบอกเทคนิคสารพัด แต่ความเข้าใจของแต่ละคนต่างกันไป โดยเฉพาะไม่รู้ว่าจะหยิบประเด็นแบบไหนมาเขียนใน blog ได้บ้าง

ใน gotoknow นี้มีบุคลากรจากสำนักวิทยบริการเป็นสมาชิกและแวะเวียนเข้ามาใช้บริการ ทั้งเขียนและอ่าน ใน gotoknow ก็หลายท่าน

แต่หลายท่านที่ว่านี้ ก็ไม่รู้จะเขียนประเด็นอะไรกันดี อาจเพราะไม่มีเวลาในการเขียน หรือทำงานหนักจนนึกไม่ออกว่า จะเขียนประเด็นไหน ..บางท่าน ต้องใช้เวลาพอสมควรในการเรียบเรียงเนื้อหา ก่อนที่จะเขียนออกมาได้

หากตั้งธงไว้สูงเกินไป อาจจะใช้เวลานึกนานสักหน่อย ทั้งๆที่ความจริง บุคลากรจากสำนักวิทยบริการ จะอยู่กับแหล่งข้อมูลมากมายกว่า บุคลากรด้านอื่นๆ ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ในสถาบัน แค่หยิบข้อมูลบางส่วนนำมาบันทึก ก็น่าจะเขียนได้แล้ว

* * ย่อหน้าสักครู่ เป็นลักษณะของการแนะนำแนวทาง หรือเทคนิคที่อ่านแล้ว เข้าท่า แต่หลายคนก็ยังนึกไม่ออก

เอาให้ใกล้ตัวและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น ถ้าหากนายบอนเป็นบุคลากรในสำนักวิทยบริการ มมส. นายบอนจะเขียน blog ประเด็นไหนบ้าง

ความจริง นายบอนไม่ได้ทำงานที่ห้องสมุด มมส. ตอนนี้จึงเป็นมุมมองของคนนอก แต่ทว่า คนภายในห้องสมุด เมื่อทำงานประจำในหน้าที่ ทุกๆวัน บางทีก็นึกอะไรไม่ออกเหมือนกัน

ณ มุมมอง ตอนนี้ นายบอนจะหยิบประเด็น ตั้งแต่ทางเข้าห้องสมุดกันเลย

ประเด็นที่ 1. ประตูทางเข้าที่จะต้องรูดบัตรผ่านเข้ามา ซึ่งจะมี 2 ช่อง แต่ตอนนี้ เสีย 1 ช่อง รูดบัตรไม่ได้
เห็นเสียมาตั้งนานแล้วนี่นา ทำไมไม่ยอมซ่อมซักที ให้ใช้แค่ 1 ช่องอยู่ได้ แล้วเกิดเสียขึ้นมาอีก จะทำยังไงเนี่ย

นายบอนคงจะเขียนเล่าว่า
- ทำไมถึงยังไม่ซ่อม เล่าให้ฟังคร่าวๆ
- แต่ข้อดีที่ได้ คือ ช่องที่เสีย ก็จะมีป้ายมาติดไว้ ได้พื้นที่ติดประกาศตรงทางเข้าเพิ่มขึ้น
- เข้าช่องเดียว ถ้าคนเยอะ จะต้องต่อคิว มีเวลาสนใจคนรอบข้างเพิ่มขึ้น ได้เห็นความน่ารักสดใสของคนอื่นบ้าง
- ถ้ามีคนลืมเอาบัตรมา ก็ขอยืมคนที่รูดบัตรผ่านเข้าไปแล้วได้เลย

ประเด็นที่ 2 ทำไมในบริเวณศูนย์ฯ อีสานสิรินธร เมื่อเดินเข้าไปข้างใน ถึงมีป้ายห้ามถ่ายรูป
- ความจริงการจัดสถานที่ภายใน สวยงาม ได้บรรยากาศแบบอีสานมาก ถ่ายรูปออกมาได้สวยงาม
- เวลาที่มีหมู่คณะใหญ่ เดินทางมาเยี่ยมชมห้องสมุด ทำไมบริเวณอื่นถือกล้องไปถ่ายรูปได้ ทั้งๆที่ไม่บรรยากาศไม่สวยงามเหมือนศูนย์ฯ
- ที่สวยๆ เชิดหน้าชูตา กลับไม่ยอมให้ถ่ายภาพเผยแพร่

นายบอนก็คงจะเขียนเล่าเกร็ดที่น่ารู้ เบื้องหน้าเบื้องหลัง เหตุผลสำคัญ ที่จะทำให้ผู้อ่านรู้ที่มาที่ไป และจะรักษาและหวงแหนศูนย์ฯ เพิ่มขึ้น

ประเด็นที่ 3 มีเครื่องบริการยืม-คืนอัตโนมัติตั้งที่เคาเตอร์ยืม - คืน แล้วทำไม เจ้าหน้าที่ที่นั่งให้บริการยืม คืน ถึงยังมีเท่าเดิม
- เครื่องยืม-คืนเองนี้ มีประโยชน์อย่างไร หยิบเกร็ดที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง เช่น เวลาหมดเวลาให้บริการยืมคืน ตอนที่ห้องสมุด ใกล้จะปิด ก็มาใช้เครื่องนี้ได้ , ถ้าเกิดใบหน้าเป็นฝ้า หรือ สิวขึ้น แล้วอายเจ้าหน้าที่หากต้องไปยืมหนังสือ ก็เลี่ยงมาใช้เครื่องบริการที่ว่านี้ได้เลย จะได้สบายใจขึ้น
- หลายคนยังมองเครื่องนี้แบบไม่ค่อยกล้าใช้ กลัวเสีย เวลายืมคืน ใช้บริการกับเจ้าหน้าที่ สะดวกรวดเร็วกว่า แค่ยืนบัตร ยื่นหนังสือให้ แล้วรอ แต่ถ้าใช้เครื่อง ต้องทำตามขั้นตอน กดตรงนั้น ตรงนี้ เสียเวลาเพิ่มขึ้นอีก...

หยิบเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาบันทึก หรือสิ่งที่ได้พบเห็นจากผู้ใช้บริการมาบันทึก ก็จะได้ ลปรร จากชาวห้องสมุดที่อื่นๆ อีกหลายประเด็น


ประเด็นที่จะหยิบมาบันทึกก็ไม่ต้องคิดให้เสียเวลา ก็หยิบจากผู้ใช้บริการ ทั้งจากประเด็นการซักถาม หรือประเด็นที่ได้จากเวบไซต์ อีเมล์ ฯลฯ เอามาเขียน เพื่อ ลปรร. แบบนี้ สนุกครับ อย่าง 3 ประเด็นข้างต้นที่ยกมา ยังสามารถเขียนบันทึกได้อีกหลายตอนนะครับ อย่างประเด็นที่ 1 ประตูทางเข้า ยังเล่าได้อีกหลายประเด็น การรูดบัตรผ่านประตู จะมีเครื่องนับจำนวนผู้เข้าใช้บริการ เอามาบันทึกได้อีก ช่วงเวลาไหน คนเข้าห้องสมุดมากสุด น้อยสุด แล้วลองสังเกตดูเวลานั้น ก็จะได้อะไรมาบันทึกอีกหลายตอนทีเดียว หรือการออกแบบช่องคืนหนังสือ ทำไมถึงมี 2 ช่อง ทั้งด้านนอกและด้านใน

แค่มองๆดูก็เขียน blog ได้แล้วครับ เพียงแต่ต้องฝึกทักษะอีกนิด ก็สามารถ ลปรร เพื่อพัฒนางานในหน่วยงานของตัวเองได้แล้วครับ


หมายเลขบันทึก: 28724เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2006 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แนะนำได้เป็นรูปธรรมมากเลยค่ะ นับถือ นับถือ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท