Tacit Knowledge เมื่อโผล่ปุ๊บต้อง "จับ" ปั๊บ...


ความคิดที่กำลังพุ่ง ตอนที่ความคิดมัน "เกิด" นั้น ก็ต้องรีบ "ถอด" เร่ง "บันทึก" เดี๋ยวจะงงงัน เพราะถ้าเลยเวลานั้นเดี๋ยวจะ "ไม่มีอารมณ์..."

Tacit Knowledge ต้องใช้สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อ "อารมณ์" เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก
พอสภาพแวดล้อมได้ บริบทเหมาะ ความรู้ที่ฝังอยู่ก็ "ผุด" ขึ้นมาซะอย่างงั้น
ถ้าผุดขึ้นมาแล้วก็ต้องรีบเขียน รีบบันทึกอย่างนี้แหละเน๊อะ

หลาย ๆ ครั้งที่ความคิดมัน "พุ่ง" ขึ้นมาตอนที่เรา "ติดงาน"
พอตั้งใจว่าจะเข้ามาเขียนตอนที่ว่าง ก็เขียนไม่ได้ หรือเขียนได้ก็ไม่ได้ตามที่ใจหมาย

สิ่งนี้เป็นโจทย์ที่น่าคิด
เพราะความคิดที่ "พุ่ง" ขึ้นมานั้น ไม่ใช่ความรู้ที่ "คิด" หรือ "นึก" เอาได้
ความรู้ที่พุ่งขึ้นมานั้นเป็นความรู้ที่อยู่ดี ๆ มันก็ "โผล่" ขึ้นมาจาก "ดวงจิต"

จิตที่เก็บสะสมอะไรไว้มาก  ๆ
และเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย
สภาพแวดล้อมนี้คือ "กายและจิต"
กายได้สัมผัส เย็น ร้อน อ่อนแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตที่ "สงบ" ความรู้มันก็ "ผุด" ขึ้นมาดื้อ ๆ ซะอย่างนั้น
หนึ่งในความรู้ที่ฝังลึกที่จะขุดออกมาได้นั้น ก็เกิดขึ้นได้จากกระบวนการของกายและจิตอย่างนี้...

ดังนั้น ก็ไม่ต้องสงสัยหากใครมาเจอคนที่ดูแปลก ๆ อยู่ดี ๆ ก็ต้องรีบคว้า รีบหากระดาษมาเขียน ถึงแม้นว่าจะอยู่บนโต๊ะอาหาร
เพราะอยู่ดี ๆ ความรู้มันก็เกิด มันก็มีขึ้นมาซะอย่างนั้น

ความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) จึงได้แก่ สิ่งที่ผุดขึ้นมาจากดวงจิต เป็นสรรพสิ่งที่ดวงจิตในเคยสัมผัสและเก็บไว้
ดวงจิตนี้เป็นจึง "ฮาร์ดดิสก์" ที่ใหญ่มาก

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า เราจะสามารถดึงความรู้ต่าง ๆ ที่จิตเก็บไว้ขึ้นมาใช้ได้อย่างไร

คนที่ไม่เคยฝึกจิต ก็ต้องรอเวลา รอโอกาสที่สภาพแวดล้อมพร้อม คือ กายและใจพร้อม กายถูกกระทบ จิตพอที่จะมี "ความสงบ" ความรู้ที่ฝังอยู่นั้นก็จะได้พบ "รู" แยกที่แตกออกซึ่งสามารถจำทำให้ความรู้นั้นโผล่ขึ้นมาได้

แต่ทว่า เจ้า "รู" นี้มันเป็น "รู" ที่ "ยืดหยุ่น" คือ เมื่อโผล่ปุ๊บมันก็จะหุบปั๊บ ถ้าเราไม่รีบเด็ด รีบตัดความรู้ที่มันโผล่ขึ้นมา ความรู้นั้นก็จะ "ผลุบ" กลับคืนสู่หลุมลึก ณ จุดเดิม

ดังนั้นเมื่อความรู้ฝังลึกนั้นหลุด นั้นรั่วออกมาแล้วจึงต้องรีบดัก รีบตัด รีบตัก รีบตวง ความรู้ที่โผล่ขึ้นมา ณ เวลานั้นให้ได้
เพราะถ้าเราปล่อยให้เลยเวลานั้นแล้ว เป็นเรื่องที่ยากนักที่จะทำให้สิ่งที "ผลุบ" ลงไปแล้ว "โผล่" ขึ้นมาใหม่ได้

เทคนิคในการ "จัดการ" ความรู้ฝังลึกนั้นจึงต้อง "ว่องไว" ถ้าเจอตัวการณ์แล้วต้องรีบจับไว้ ไม่ปล่อยให้หลุดมือไป
ความรู้ฝังลึกโผล่มาเมื่อใดต้อง "พร้อม" ที่จะ "สแกน" ความรู้นั้นเก็บไว้ให้ทันท่วงที
ต้อง "เกี่ยว" ปลายที่โผล่ขึ้นมานั้นไว้ให้ได้
เมื่อ "เกี่ยว" แล้วต้องพยายาม "ดึง" ขึ้นมาจาก "หลุม" ให้ได้มากที่สุด

การทำจิตนิ่ง ๆ แล้วรีบเขียน รีบบันทึก สานต่อความรู้ ความคิด ณ ตรงนั้นจึงเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่ง
ยิ่งคิดมาก ก็เปรียบได้กับการพยายามดึงความรู้ขึ้นจากหลุมให้มากเท่าที่จะมากได้
 
คิดมันตรงนั้น ณ เวลานั้น คิดไป เขียนไป ปล่อยไป ปล่อยให้ไหลไปเรื่อย ๆ
อะไรมันโผล่พ้นขึ้นมาจาก "หลุม" ให้รีบกัก รีบเก็บ
กักเก็บแล้ว อีกมือหนึ่งก็ดึงมันขึ้นมาอีก
มือหนึ่งดึง มือจับตัก จับให้มั่น คั้นให้ตาย
เมื่อความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) โผล่มาเมื่อใด ต้องรีบบันทึกไว้ในทันที...


ที่มาจากบันทึก กระบวนการเรียนรู้ R2R ที่ได้เกิดขึ้น ณ รพ.สุวรรณคูหา หนองบัวลำภู

หมายเลขบันทึก: 303042เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2009 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

กระผมพึ่งเข้าใจถึง ความหมายของคำว่า Tacit knowledge เมื่ออ่านบทความของพระคุณท่านนี่เอง แล้วจะให้คำจำกัด ความอย่างไรดีครับ บ่อยครั้งที่ความรู้ มันเกิดขึ้นในเวลา ที่ไม่น่าจะเกิดและ ความรู้ชนิดนี้มัน เป็นความรู้ชนิด เข็มข้น (Concentrate) เสียด้วยสิ เมึ่อผุด ออกมาแล้วมันจะ แตกออกเป็นแขนง เป็นฝอย อย่างรวดเร็ว ทีเดียวแล้วมันก็จะ อันตรธานไปอย่าง รวดเร็วเช่นกันถ้า ไม่รีบเก็บกักมันไว้ แรก ๆ ผมมักจะถูก คนที่นอนอยู่ข้างๆ ลุกตามขึ้นมาดู อย่างงง ๆแล้วถามว่า คุณเป็นอะไร..?เมื่อรู้ ว่าผมแอบลุกจากที่ นอนมาเปิดไฟแล้ว นั่งจดอะไรก็ไม่รู้ ตอนตีสองตีสาม ซึ่งผมอธิบายว่าถ้า ไม่รีบลุกมาจดไว้ เป็นหลักฐานเช้า มามันจะหายไปกับ แสงแดด แต่ตอน นี้เธอเข้าใจผม แล้วครับ

คำจำกัดความของ Tacit knowledge คือ "ความรู้ฝังลึก" เข้าใจแล้วครับท่าน

ฟังดู....Tacit knowledge เหมือนเป็นความรู้ที่เกิดเองโดยไม่ได้ตั้งใจ

แต่เอ จะว่าไป ก็ไม่เชิงแต่ละท่าน ต้องทำ ๆ ๆ มาก่อนจึงจะมี

 

อืม แล้วถ้า.....เป็นคนที่ไม่เคยตะครุบความคิดตนเองหล่ะค่ะ

คนที่ชอบไหล ๆ ไปเรื่อย ก็แย่หน่ะซิ ความรู้ไม่เกิดปัญญาไม่มี

อย่างหนูเอง แทบจะไม่ค่อยรู้จักเจ้าความรู้แบบนี้เลยเจ้าค่ะ

อ่านของท่านสูญญตาและพี่ Ka-Poom รู้สึกได้ความรู้ดีค่ะ

แต่พอมองย้อนมาหาตนเอง

เหมือนเรื่องแบบนี้ ไม่มี ไม่เกิดขึ้น

 

อืม สงสัย ติดนิสัยเอาแต่เสพข้อมูลซะแล้วซิ

เจ้าความรู้ที่เรียกว่า "ความรู้ฝังลึก" ตามที่ค้นและพบนั้น จะเป็นความรู้ของ "จิต..."

ความรู้ของจิตนั้นเป็นส่วนที่แยกออกจากความของ "สมอง"

ความรู้ที่บรรจุอยู่ใน "สมอง" ที่ขด ๆ อยู่นั้น สามารคิดได้ นึกได้

แต่ถ้าวันใดสมองส่วนนั้น ส่วนที่เก็บนั้น เสียหายหรือพังไป ก็ไม่สามารถนึกขึ้นได้ไปตลอดกาล

สมองนี้ก็เปรียบ "หน่วยความจำชั่วคราว" คือ มีใช้ชั่วคราวในชีวิตนี้ เมื่อสมองตายทุกอย่างที่บรรจุอยู่ในสมองก็ "จบ..."

สิ่งที่เราเรียนรู้จากหนังสือ จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ที่เกิดจาก "การอ่าน" "การดู" และ "การฟัง" เป็นส่วนที่บันทึกอยู่ใน "หัวสมอง..." นาน ๆ ไปก็ลืม...

แต่ทว่ามีความรู้ที่หลุดลงไปสู่จิตนั้นจะเป็นความรู้ที่เกิดจาก "การปฏิบัติ" เกิดจากประสบการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์ที่ต้องแลกมาด้วยความเป็นและ "ความตาย..."

ความรู้ที่หลุดไปยังจิตนี้ หลุดลงไปโดยเราไม่รู้ตัว คือเรื่องของเรื่อง ความรู้แบบนี้มันหลุดลงไปในทุกขณะที่ก้าวเดิน ไม่ว่าเราจะมอง จะเห็น จะได้ยิน จะได้กลิ่น หรือจะสัมผัสอะไรมา จิตของเรารับรู้และเก็บไว้ได้หมด

แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าเราจะเอาสิ่งที่จิตเก็บอยู่นี้เอามาใช้ได้อย่างไร...?

ดังนั้นหากเราสังเกตุให้ดี ความรู้ประเภทนี้ถ้าผุดขึ้นมานั้นจะมีเหตุ มีปัจจัยนำ เช่น เราได้เห็น หรือได้สัมผัสสถานที่เดิม ๆ กลิ่นเดิม ๆ พอเห็นปุ๊บความเชื่อมโยงแห่งจิตก็จะไปดูสิ่งที่เราเคยสัมผัสมาปั๊บ

แต่สิ่งเหล่านี้จะขึ้นมาได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับ "กำลังของสติ..."

ถ้าสติอ่อน สติไม่กล้าแข็ง สติไม่ "นิ่ง" ขึ้นมาแล้วก็หายไป

แต่ถ้าหากสติเรามี สมาธิเรากล้าแข็ง ขึ้นมาปุ๊บ แล้วเราทำให้สตินิ่งได้ปั๊บ ก็เหมือนกับเส้นด้ายที่เรากำลังดึงความรู้นั้นอยู่ไม่ขาดหาย

สติหลุด เส้นด้ายก็ขาด ความรู้ก็หาย

สติอยู่ เส้ยด้ายก็อยู่ ความรู้ก็ยังคงอยู่ให้อย่างเฟื่องฟูให้เราดึง

ดังนั้นเมื่อมีสิ่งใดมากระทบเราจะต้องดึงไว้ให้ได้ อันนี้อย่างหนึ่ง คือ เป็นความรู้ฝังลึกที่โผล่ขึ้นมาตามสภาพแวดล้อที่สัมผัส

อย่างที่สองได้ ผู้ที่มีสมาธิของจิต คือ ผู้ที่รู้จักทำจิตใจให้เป็น "สมาธิ"

ผู้ที่เคยฝึกสมาธิมาในระดับหนึ่ง เมื่อต้องการความรู้เรื่องใด เขาจะทำจิตนิ่ง ๆ เราใช้จิตที่นิ่ง ๆ นั้นขุด คุ้ยลงไปในแหล่งที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่สะสมข้อมูลไว้อย่างเยอะแยะมากมาย นั่นก็คือ "จิต" ของเราเอง

จิตที่นิ่ง ๆ ก็จะประมวลผลข้อมูลตามที่เราต้องการออกมา สิ่งที่ใดออกมานี้จึงเป็นความรู้ที่สำคัญหนักหนา เพราะประมวลออกมาจากจิตใจ

ดังนั้นจึงมีสองทางที่จะสามารถดึงความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) นี้ออกมาได้

คือ หนึ่ง เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ความรู้โผล่ปุ๊บก็ให้รีบดึงปั๊บ อันนี้ความรู้ที่ออกมานั้นบางครั้งก็ได้ประโยชน์ บางครั้งก็ไม่ได้ประโยชน์ คือ ไม่จำเป็นต้องใช้ หรือออกมาได้ก็ไม่ทันเวลา

หรือสอง ใช้จิตนิ่ง ๆ ขุดและค้นลงไปตามสิ่งที่เราต้องการ ณ ขณะนั้น ความรู้แบบนี้จะ "ตรง" กับความจำเป็นที่เราจะใช้และทันเวลา

แต่ถึงอย่างไร ถ้ามีความรู้ฝังลึกใด ๆ โผล่ออกมาก็ต้องรีบเก็บ รีบบันทึก และ "ดึง" ออกมาให้ได้มากที่สุด

จากนั้นจึงค่อย ๆ พัฒนา "สมาธิ" ของตนเองให้ "นิ่ง" เพื่อที่จะรู้หลัก รู้แนว รู้ทาง ที่จะสามารถไป "โหลด" ออกมูลออกจากจิตมาใช้ตามความต้องการให้ได้อย่างทันที ทันเวลา...

กราบขอบพระคุณที่เมตตาเจ้าค่ะ

เมื่อความโกรธโผล่ปุ๊บ ก็ต้อง "เมตตา" ปั๊บนะ

เมื่อความโกรธโผล่ปุ๊บ ก็ต้อง "ยิ้ม" ปั๊บนะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท