• KM ที่ผิด คือ KM ที่ทำแล้วเพิ่มงาน
พนักงานรู้สึกว่าเป็นภาระเพิ่มขึ้น
• KM ที่ผิด คือ KM ที่ผู้ทำรู้สึกว่าตนกำลังทำผลงานให้นาย
หรือให้หน่วย KM
• KM ที่ถูก คือ KM ที่ทำแล้ว “งานได้ผล คนเป็นสุข”
และได้ผลงานเพิ่มขึ้น
เกิดมิตรภาพในที่ทำงานเพิ่มขึ้น
• วิธีการคือให้เริ่มจากการเสาะหาผลงานดีๆ เชิงสร้างสรรค์
ของคนเล็กคนน้อย (เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ)
ที่จะช่วยกันต่อยอดไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร
หามาให้ได้จำนวนมากโดยมีความเชื่อว่า “ทุกคนมีสิ่งดีๆ”
แต่ที่เราเลือกมาเป็นการทำดี ผลงานดี
ที่จะขับดันไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร
• นำมาจัดเวที ลปรร. ชื่นชม และต่อยอด
โดยเอาไปปรับใช้ในงานของตน
เมื่อได้ผลดีก็นำกลับมาเล่าใหม่
จะเกิดการยกระดับความรู้ (ผ่านการปฏิบัติ)
• ต้องมีวิทยากร ทำหน้าที่ “คุณอำนวย” “คุณลิขิต”
และ “คุณ” อย่างอื่น องค์กร / หน่วยงาน จึงต้องฝึก
“คุณอำนวย” และสร้างทักษะในการเปิดพื้นที่
ลปรร.
• กิจกรรมเหล่านี้จะนำไปสู่ “งานได้ผล คนเป็นสุข”
ไม่เพิ่มงาน และกิจกรรม KM ก็แนบแน่นอยู่กับงาน
วิธีทำ KM ในองค์กรภาครัฐ : 1 วิธีทำ KM ในองค์กรภาครัฐ : 2
วิจารณ์ พานิช
๑๘ พค. ๔๙
การเป็นคุณอำนวยที่เก่งๆ จะต้องเริ่มอย่างไรบ้างค่ะอาจารย์ อยากได้คำแนะนำค่ะ
อ่านได้ที่นี่ครับ http://gotoknow.org/thaikm/blogkeyword/71
วิจารณ์ พานิช
เราจะนำการจัดการความรู้ สมรรถนะ มาใช้ในการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ใน องค์การบริหารส่วนตำบล ได้อย่างไรค่ะ แล้วระดับความรู้ทั้ง 4 ระดับ เข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ อย่างไร ควรมีการประเมินผลหรือไม่