เคล็ดคิดพิชิตปัญหา : โอกาสมีสำหรับผู้เริ่มใหม่เสมอ


เคยเจอแบบนี้ไหมครับที่

  • ศึกษา

  • คิด

  • ประชุม

  • วางแผน

  • ประสาน

  • ดำเนินการ

  • ติดตาม

อย่างดี เติมความมุ่งมั่น ตั้งใจเต็มร้อย แต่แล้ว จู่ๆ กลับพบว่า มีความเปลี่ยนแปลง ที่ทำให้ "สิ่งที่ทำมาแล้วทั้งหมด" ต้องมาเริ่มใหม่ ในขณะที่เวลาเหลือน้อยลง เราเผชิญกับสถานการแบบนี้อย่างไร

  • บ่น

  • ผิดหวัง

  • เสียความรู้สึก

  • หงุดหงิด

  • ท้อแท้

  • หมดกำลังใจ

  • อยากร้องไห้

  • ฯลฯ 

จะน่าเสียดายอย่างยิ่งหากเรา "หยุดและกระโดดลงในโคลนตม" แห่ง "ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่เป็นไปตามที่เราคิดหวังไว้" ดังกล่าว เพราะนั่นเท่ากับเรา เสียโอกาส(ที่เหลืออยู่) เพื่อพยายามด้วยสรรพสิ่งบรรดามีที่เราครอบครอง เพื่อไปให้ถึง "จุดหมาย" ที่วางไว้

ความแตกต่างระหว่าง "ผู้ประสบความสำเร็จ" กับ "ผู้ไม่เคยสำเร็จ" ก็อยู่ที่ตรงนี้

จึงไม่แปลกเลยที่เรามักพบเสมอๆว่า บนถนนแห่งความเปลี่ยนแปลงที่มีความไม่แน่นอนสูง หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า "มีความเสี่ยงสูง" นั้น มีคนไม่มากนักที่เลือกเดินบนถนนสายนี้ ทั้งๆที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการบริหารอย่าง "การบริหารความเสี่ยง"

ในขณะที่บนถนนสายที่มีความ "เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย" หรือ "มีความไม่แน่นอนต่ำ" กลับอัดแน่นด้วยผู้คนจนการจารจรเกิดจารจลอลหม่านไปทั่ว

วิธีที่ดีที่สุดเมื่อเผชิญกับ "ความเปลี่ยนแปลง" ที่มีความ "ไม่แน่นอน" สูงมากๆก็คือ การปรับและแปลงสิ่งที่เราดำเนินการไปแล้ว มาใช้ในกระบวนการใหม่ให้ได้ (ถ้าหากว่ามันสามารถนำมาใช้ได้) หากไม่ก็จงอย่าเสียดายที่จะลืมมันและเริ่มใหม่

อย่าลืมว่าสำหรับทุกๆผู้ที่เริ่มใหม่ด้วยความมุ่งมั่นนั้นจะพบกับโอกาสที่ซ่อนเร้นอยู่เสมอ และสำหรับทุกๆผู้ที่หยุดและจมอยู่กับความผิดหวังกับสิ่งที่เกิดขึ้นจะไม่มีวันพานพบแสงสว่างแห่งโอกาสเลยแม้ว่าจะอยู้ใต้แสงตะวันอันเจิดจ้าก็ตาม...

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 302536เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

Assalamualaikum

  • หนูเข้ามาอ่านบทความดีๆค่ะ.. ได้ข้อคิดมากมายจากบันทึกของอาจารย์ค่ะ
  • W. Clement Stone ได้สำรวจพบภายในตัวมนุษย์เมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้วว่า..
  • "มนุษย์แต่ละคนมีข้อแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ความแตกต่างเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ สร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้ ความแตกต่างเล็กๆน้อยๆเหล่านี้คือ ทัศนคติ ส่วนความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่คือ ทัศนคตินั้นเป็นบวกหรือเป็นลบ"
  • แล้วหนูค่อยแวะมาเยี่ยมอาจารย์ใหม่ค่ะ... อินชาอัลลอฮฺ

วะอาลัยกุมุสสะลาม ครับลูกซิลเวีย (ขออนุญาตเรียกลูกก็แล้วกันนะครับ เพราะเรียกจนติด "แป้นพิมพ์แล้ว" ฮิๆ

ดีใจครับลูกที่ "บันทึก" ของอาเยาะ มีประโยชน์กับลูก

รู้ไหมว่า แม้ว่า จะเป็นเพียงเงินแค่ 1 บาท (เปรียบตนเองเช่นนี้เพราะอาเยาะไม่ได้เรียนอะไรมากมาย) แต่หากว่าเงิน 1 บาทนั้น คือ 1 บาทที่จะทำให้ใครสักคนที่กำลังจะซื้อตั๋วรถทัวร์เพื่อกลับบ้านได้ซื้อตั๋วนั้น และได้เดินทางกลับบ้านไปหาครอบครัวที่คิดถึง 1 บาทนั้นย่อมเป็น 1บาทที่ "มีค่า" เสมอ

แต่ขออย่าเป็น 1 บาทที่หลังจากซื้อตั๋ว หรือซื้ออะไรก็ได้แล้วเหลืออีก 1 บาทนะครับ เพราะแม้ราคาเงินเท่ากัน แต่ เรารู้สึกต่อมัน (1บาทนั้น) ต่างกันลิบลับเลยครับ

ขอหมายเหตุตรงนี้ว่า จำได้ว่าอาเยาะเคยเขียนทำนองนี้ท้ายบันทึกของ น.ศ. ไทยในต่างแดนคนหนึ่งนานมาแล้ว 

ลูกอ้างคำกล่าวของW. Clement Stone ทำให้อาเยาะนึกถึงอีกคนหนึ่ง รู้สึกว่าจะชื่อNapoleon Hill ถ้าจำไม่ผิดนะครับ ในช่วงมัธยมต้น (ม.ศ.ต้นรุ่นสุดท้าย)หลังเลิกเรียนอาเยาะจะไปที่ห้องสมุดประชาชนจังหวัดยะลาเกือบทุกวัน (ติดกับวัดพุทธฯ) ขึ้นไปบันใดขวามือชั้นสอง และขลุกอยู่ที่นั้นเป็นชั่วโมงๆเกือบทุกวันอ่านหนังสือแนวจิตวิทยาประยุกต์ของNapoleon Hillและรู้สึกจะมีบางเล่มที่W. Clement Stone ร่วมเขียนด้วย และอีกคนหนึ่งที่น่าสนใจมากคือเดล คาร์เนกี้หนังสือของเขาเกือบทุกเล่มอ่านแล้วช่วยให้ผู้อ่านมี "มุมมอง" ที่ positive มากๆ และช่วยให้คนที่ "ท้อแท้หมดหวัง" ฮึกสู้ขึ้นมาอีกครั้ง และอีกครั้งเสมอครับ และแม้ว่าบางวันจะอ่านเพลินจนรถตุ๊กๆที่วิ่งระหว่างตลาดกับต.สะเตงหมด จนอาเยาะต้องเดินกลับบ้านที่สะเตงระยะทางเกือบ 6 กม. แต่เพราะข้อคิดจากหนังสือที่อ่าน ทำให้การเดินกลับบ้านเป็นสิ่งที่น่าสนุก แทนที่จะเครียดกังวล แม้ว่าจะถึงบ้านช้าไปนิดหนึ่ง

ขอบคุณลูกมากครับ แค่รู้ว่ามีใครอ่านและรู้สึกดีและได้รับสิ่งดีบ้างจากเงิน 1 บาท อาเยาะก็ดีใจจนนอนหลับฝันหวานแล้วละครับ ขอบคุณอีกครั้งครับลูก

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท