(ร่าง) โครงการจิตอาสากิจกรรมสร้างสุขและส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ (ม.ขอนแก่น)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

ในสังคมไทย ผู้สูงอายุจัดเป็นกลุ่มบุคคลที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ เนื่องจากท่านเหล่านั้นเป็นผู้มีพระคุณสูงยิ่ง ที่นอกจากจะเป็นผู้ให้กำเนิดแล้ว ยังเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรหลานจนเติบใหญ่ มีหน้าที่การงานที่ดี        เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและประเทศชาติ ความสำเร็จของบุตรหลาน จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าปราศจากความรักความเมตตา การเกื้อหนุน ส่งเสริม จากพวกท่านเหล่านั้น

แต่ในปัจจุบัน เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมบีบบังคับ ทำให้มีผู้สูงอายุที่ถูกบุตรหลานทอดทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง หรืออาศัยอยู่ในบ้านพักคนชราเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การจัดกิจกรรมสร้างสุขและส่งเสริมสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ จึงจัดขึ้นเพื่อให้ผู้สูงอายุมีความสุขและเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมสันทนาการต่างๆ รวมสามารถดูแลสุขภาพช่องปากได้ด้วยตนเอง การมีสุขภาพปากและฟันที่ดีจะทำให้ผู้สูงอายุบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีบุคลิกภาพที่ดี สามารถสื่อสารได้อย่างชัดเจน การรับบริการส่งเสริมป้องกันโรคตามชุดสิทธิประโยชน์  ร่วมไปกับการรักษาและการใส่ฟันเทียมในระบบบริการปกติ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดี  สามารถดำรงตนอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีจนตลอดอายุขัย ส่วนกิจกรรมด้านสันทนาการ จะช่วยผู้สูงอายุได้ผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

จากปัญหาการสูญเสียฟันของผู้สูงอายุในจังหวัดขอนแก่น ที่มีจำนวนมาก ทำให้เกิดความต้องการ บริการใส่ฟันเทียม (ฟันปลอม) โดยเฉพาะฟันเทียมทั้งปาก หรือเกือบทั้งปาก เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต  คณะทันตแพทยศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการเพื่อรณรงค์ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยโครงการส่งเสริมสุขภาพ  ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคในกลุ่มผู้สูงอายุ  เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ โดยสร้างสุขนิสัยในการดูแลความสะอาดช่องปากแก่ผู้สูงอายุและจัดระบบบริการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากตามความจำเป็นและเพื่อเป็นการฟื้นฟูสภาพจิตใจของคนชรา ที่ขาดการดูแลจากลูกหลาน ให้มีจิตใจที่แจ่มใสขึ้น  ร่วมทั้งเป็นการฝึกการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีจากการทำกิจกรรมร่วมกันกับคนชราและหมู่คณะ

กิจกรรม

ช่วงเวลาดำเนินการ

1.การประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรม

ตุลาคม 52

2. การประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรม

ตุลาคม 52

3.การจัดกิจกรรม ที่ ณ ศูนย์บ้านพักคนชรา บ้านน้อยสามเหลี่ยม

พฤศจิกายน 52

กิจกรรมด้านสุขภาพช่องปาก

-การตรวจสภาวะช่องปาก  เพื่อการให้คำแนะนำ  และเพื่อการส่งต่อไปรับบริการป้องกันโรคในช่องปาก

 

-การให้คำแนะนำและฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปาก 

 

-การใช้ฟลูออไรด์  หมายถึง  การใช้ฟลูออไรด์วานิช  เพื่อป้องกันรากฟันผุ

 

-การขูดหินน้ำลายและขัดทำความสะอาดฟัน

 

4.การสรุปผลและการประเมินผลการจัดกิจกรรม

ธันวาคม 52

หมายเลขบันทึก: 302406เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แบบสรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

โครงการ จิตอาสากับผู้สูงอายุ

วันที่สรุปผลการประเมิน 31 ต.ค. 52

ประเด็นพิจารณา

ผลการพิจารณา

 ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

คำชี้แจง / การแก้ไขของหัวหน้าโครงการ (ในลักษณะข้อต่อข้อ)

  1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์  เป็นไปได้ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

1.1 โครงการนี้ดูเป็นโครงการ routine ของหน่วยงานเฉกเช่นการออกหน่วยแต่เป็นการออกหน่วยในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ศูนย์บ้านพักคนชรายังไม่เห็นว่าจะเชื่อมโยงประเด็นหลักได้แก่

-          การเรียนรู้อย่างเป็นสุข

-          การนำแนวคิดสุขภาพองค์รวมไปใช้ในงานทันตกรรม

อย่างไร

 

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

(เป็นไปได้  วัดได้  สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

2.1  ควรเน้นการทำให้ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ดีขึ้น

 

  1. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน

(สมเหตุสมผล  ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

3.1

 

  1. วิธีการดำเนินโครงการ

(เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

4.1 กิจกรรมให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุเป็นกิจกรรมที่ดี  แต่ควรต้องเน้นการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุในการเสนอความคิด เทคนิค  โดยทันตแพทย์ต้องรับฟังความคิดของเขาด้วย  (participation) และควรหากลวิธีให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นสามารถดูแลตนเองได้ (empowerment) เช่น ตรวจสุขภาพช่องปากเองได้  หรือทำความสะอาดช่องปากตนเองได้ แม้ว่าจะไม่มีทันตแพทย์คอยกำกับ

 

 

  1. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้

(ใช้วิจัย  KM  ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

5.1 โปรดเล่าบทเรียนจากการไปทำกิจกรรมครั้งนี้ ในลักษณะเรื่องเล่า และนำขึ้นบล็อกของแผนงานฯ คือ gotoknow.org/blog/ismile

 

  1. งบประมาณ

(ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

 

6.1

6.2

6.3

6.4

 

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

  1. อันที่จริงเป็นโครงการที่มีแนวคิดที่ดีในการจัดกิจกรรมร่วมกับผู้สูงอายุ  แต่ควรพยายามนำเอาแนวคิดของสุขภาพองค์รวมออกมาแปลเป็นภาคปฏิบัติให้มากขึ้นกว่านี้  โดยรับฟังผู้ป่วยมากกว่าการไปสอนให้เขาฟังเราอย่างเดียว

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท