โครงการพี่ช่วยน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน (ม.เชียงใหม่)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

   การเรียนการสอนในคณะทันตแพทยศาสตร์ ที่นักศึกษาทันตแพทย์จะถูกจัดให้เข้าปฏิบัติงานสับเปลี่ยนใน  แต่ละคลินิกนั้น   นักศึกษามักต้องพบเจอกับปัญหาอุปสรรค์ต่างๆ ในหลายๆ ด้าน อาทิเช่น  ความเหน็ดเหนื่อย ความกดดันจากการเรียน  ความรับผิดชอบที่มากขึ้น การที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนการสอนของอาจารย์แต่ละท่านที่แตกต่างกันออกไป เป็นต้น  ส่งผลให้นักศึกษาส่วนใหญ่ เกิดความเครียด เกิดคำถามข้อสงสัย หรือ เกิดความคับข้องใจอันเกิดจากการที่ต้องมุ่งเอาตัวรอดในระบบการศึกษา สนใจแต่เรื่องของตัวเอง โดยจำต้องละทิ้งคุณธรรม จริยธรรม การเห็นแก่ส่วนรวมไว้เบื้องหลัง

         ดังนั้นถ้าหากมีจัดกิจกรรมให้รุ่นพี่นักศึกษาทันตแพทย์ที่เคยฝึกปฏิบัติงานในคลินิกต่างๆมาก่อน รวมถึงเพื่อนๆในชั้นปีเดียวกัน ที่เคยมีประสบการณ์ในห้องคลินิกที่มีความซับซ้อนยุ่งยากในการบริหารความรู้ เวลา และความสัมพันธ์( เช่น คลินิกรวม5 ) มาช่วยเหลือ คอยให้คำปรึกษาคำแนะนำ รวมไปถึงการตอบคำถามหรือข้อสงสัยใดๆที่

เกิดจากการฝึกปฏิบัติงานในคลินิกต่างๆ  และ  แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ตนเองเคยผ่านมา  ก็จะสามารถช่วยบรรเทาความกังวลใจหรือคลายความอึดอัดคับข้องใจ   รุ่นพี่หรือเพื่อนที่เคยผ่านประสบการณ์เหล่านี้มาแล้ว  ยังสามารถช่วยเหลือในด้านการให้กำลังใจและการสร้างความมั่นใจให้กับนักศึกษาที่กำลังจะเข้าฝึกปฏิบัติงานในรุ่นต่อๆไปด้วย  นอกจากนี้การที่นักศึกษารุ่นพี่  รุ่นน้องและเพื่อนๆได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกัน ยังสามารถช่วยสร้างสายสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาทันตแพทย์ใน แต่ละชั้นปีได้อีกด้วย 

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

ช่วงเวลาดำเนินการ

1.ประชุมกลุ่มคนที่สนใจจัดกิจกรรม เพื่อก่อเกิดคณะทำงาน และ แนวทางการจัดกิจกรรม

 

25 สิงหาคม 2552 ถึง

 31 สิงหาคม 2552

2.ประชุมกลุ่มคนเพื่อติดตามงาน และ คิดกิจกรรมคร่าวๆครั้งที่ 1

 

1 กันยายน 2552 ถึง

 7  กันยายน 2552

3. จัดกิจกรรมครั้งที่ 1/2552 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5

-          กิจกรรมเล่าสู่กันฟัง

-          กิจกรรมแบ่งกลุ่ม-จับเข่าคุยกัน

-          กิจกรรมตอบคำถาม ตอบข้อสงสัย

-          กิจกรรมส่งกำลังใจ

18 กันยายน 2552

4. ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมในภาพรวมครั้งที่ 1

 

19 กันยายน 2552 ถึง

20 กันยายน 2552

5.ประชุมกลุ่มคนเพื่อติดตามงาน และ คิดกิจกรรมคร่าวๆครั้งที่ 2

1 พฤศจิกายน 2552 ถึง

15 พฤศจิกายน 2552

6.จัดกิจกรรมครั้งที่ 2/2552 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5

-          กิจกรรมระบายทุกข์

-          กิจกรรมแบ่งกลุ่ม-จับเข่าคุยกัน และจัดที่ปรึกษารายบุคคล

-          กิจกรรมตอบคำถาม ตอบข้อสงสัย แนะแนวทางแก้ไข

-          กิจกรรมส่งกำลังใจ

19 ธันวาคม 2552

7.ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมในภาพรวมครั้งที่ 2 และสรุปผลของโครงการ

ทั้งหมดเพื่อวางแผนในการส่งต่อโครงการสู่นักศึกษาชั้นปีที่6และชั้นปีที่5รุ่นต่อไป

 

       20 ธันวาคม 2552

8.ประชุมกลุ่มคนที่สนใจจัดกิจกรรม เพื่อก่อเกิดคณะทำงาน และ แนวทางการจัดกิจกรรมในปีการศึกษา 2553

          มีนาคม 2553

9.ประชุมกลุ่มคนเพื่อติดตามงาน และ คิดกิจกรรมคร่าวๆครั้งที่ 1

      ต้นเดือนเมษายน 2553

10.จัดกิจกรรมครั้งที่ 1/2553 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และปีที่ 5

 

          เมษายน 2553

(สัปดาห์แรกของการเปิดเทอม)

11.ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมในภาพรวมครั้งที่ 1 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และปีที่ 5

          พฤษภาคม 2553

12.ประชุมกลุ่มคนเพื่อติดตามงาน และ คิดกิจกรรมคร่าวๆครั้งที่ 2 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5

           มิถุนายน 2553

13.จัดกิจกรรมครั้งที่ 2/2553 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5

           กรกฎาคม 2553

14.ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมในภาพรวมครั้งที่ 2 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5

           กรกฎาคม 2553

15.ประชุมกลุ่มคนเพื่อติดตามงาน และ คิดกิจกรรมคร่าวๆครั้งที่ 2 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 และครั้งที่ 3 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5

 

           สิงหาคม 2553

16.จัดกิจกรรมครั้งที่ 2/2553 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4

และจัดกิจกรรมครั้งที่ 3/2553 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5

 

          กันยายน 2553

17.ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมในภาพรวมครั้งที่ 2 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4

และครั้งที่ 3 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5

 

          กันยายน 2553

18.ประชุมกลุ่มคนเพื่อติดตามงาน และ คิดกิจกรรมคร่าวๆครั้งที่ 4 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5

         พฤศจิกายน 2553

19.จัดกิจกรรมครั้งที่ 4/2553 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 5

            ธันวาคม 2553

20.ประชุมสรุปผลการจัดกิจกรรมในภาพรวมครั้งที่ 4 และสรุปผลของโครงการ

ทั้งหมดเพื่อวางแผนในการส่งต่อโครงการสู่ชั้นปีที่6และชั้นปีที่5รุ่นต่อไป

 

            กุมภาพันธ์ 2554

หมายเลขบันทึก: 302400เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2009 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แบบสรุปผลประเมินโครงการโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

โครงการ .พี่ช่วยน้อง เพื่อนช่วยเพื่อน

 

 

ประเด็นพิจารณา

ผลการพิจารณา

 ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

คำชี้แจง / การแก้ไขของหัวหน้าโครงการ (ในลักษณะข้อต่อข้อ)

  1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์  เป็นไปได้ ฯลฯ)

ดีแล้ว

1.1

 

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

(เป็นไปได้  วัดได้  สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

ดีแล้ว

2.1 

 

  1. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน

(สมเหตุสมผล  ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดพิจารณา

3.1 มีตัวชี้วัดหลายตัว จะสามารถประเมินติดตามอย่างเป็นรูปธรรมได้ตามที่เสนอไว้ได้หรือไม่

 

  1. วิธีการดำเนินโครงการ

(เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

4.1 จะเป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น ถ้าทำเป็น action research เช่น Before – after activities & impact of the activities

4.2 ควรจะมี survey เพื่อสืบค้นความต้องการของ

นักศึกษาก่อนจัดกิจกรรมเพื่อ focus กิจกรรมได้ชัดเจนขึ้นและเพิ่ม participation

4.3 ระยะเวลาดำเนินโครงการค่อนข้างยาว จึงอยากให้พิจารณาทดลอง4.ทำเฉพาะภาคการศึกษาแรก  โดยสิ้นสุดในเดือนต.ค 53

4.4 พึงระวังการปรับทุกข์แล้วทำให้เกิดความทุกข์มากขึ้น เนื่องจากไม่มีทางออก  ในบางครั้งควรมีผู้รู้ที่จะมาช่วยแนะนำแนวทางแก้ปัญหาด้วย

 

 

  1. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้

(ใช้วิจัย  KM  ประชุม ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

5.1 ให้นำสรุปการถอดบทเรียนเขียนใน blog ของ ismile เป็นระยะๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนในวงกว้าง

 

  1. งบประมาณ

(ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

6.1 งบค่าอาหาร staff 6 วันควรอยู่ในหมวดดำเนินการ  สงสัยว่าแต่ละครั้งมี staff 100 คนใช่หรือไม่

6.2  ปรับงบประมาณใหม่หากเห็นด้วยที่จะลดระยะเวลาดำเนินโครงการ

6.3 ปรับงบประมาณหากต้องมีวิทยากรกระบวนการเพิ่ม

 

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. อยากให้ผู้ดำเนินโครงการทบทวนผลการสำรวจความทุกข์ ความสุขในนักศึกษาของ อ.จรัญญา ซึ่งจะเห็นได้ว่าทักษะสำคัญที่นักศึกษาควรเพิ่มเติม คือ การบริหารจัดการ การบริหารเวลา การบริหารความเครียด ซึ่งอาจจะต้องอาศัยวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมทักษะให้ หากสามารถเพิ่มกระบวนการนี้ได้คิดว่าจะมีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท