“ถามมา ตอบไป”


ตอบคำถามอย่างไรให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกดี มีคุณค่า
“ถามมา ตอบไป”
     จากประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยยาเสพติด เรามักจะพบคำถามหลายประเด็จจากผู้ป่วย จากญาติ จากผู้มารับการศึกษาดูงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่เราต้องตอบ ต้องตอบให้เข้าใจตัวเอง เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น เช่น

“ผมรู้สึกพ่อรักลูกไม่เท่ากัน พ่อไม่รักผม พ่อคอยจู่จี้กับผมมาก กับน้องพ่อไม่ค่อยเข้มงวด เขารักน้องมากกว่าผม”

“ผมรักษาหายแล้ว แต่คิดว่าถ้าผมกลับไปบ้าน พ่อแม่คงไม่เชื่อและไว้ใจผม คิดว่าผมคงเลิกไม่ได้”

     ในบทบาทของนักบำบัด เราจะตอบคำถามอย่างไรให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกดี มีคุณค่า ยอมรับในความเป็นจริงและพร้อมที่จะแก้ไขตัวเอง

คำถามแรก เป็นคำถามของผู้ป่วยที่เข้าขอปรึกษา สีหน้าท่าทางแสดงความท้อแท้ รู้สึกน้อยใจที่บิดาไม่มาเยี่ยมหลังเข้ารับการบำบัดรักษาประมาณ 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกที่เก็บกดมานานว่าบิดาไม่รักตัวเอง รักน้องมากกว่าตัวเอง บิดารักลูกไม่เท่ากัน ซึ่งจากการพูดคุยทำให้ทราบผู้ป่วยมีพี่น้องด้วยกัน 2 คน ผู้ป่วยเป็นพี่ มีอาชีพรับจ้าง ติดยาเสพติดมาประมาณ 2 ปี เกเรไม่เชื่อฟังบิดามารดา เข้ามาบำบัดรักษาระบบสมัครใจครั้งแรก ผู้ป่วยมีน้องชาย 1 ชาย น้องชายเป็นคนเรียนหนังสื่อดีเชื่อฟังพ่อแม่ ไม่ใช่ยาเสพติด

จากข้อมูลที่ได้ข้าพเจ้าได้พูดแสดงความรู้สึกเข้าใจและเห็นใจผู้ป่วย ปลอบใจว่าบิดาอาจจะมีธุระไม่สามารถมาเยี่ยม แนะนำติดต่อบิดาทางโทรศัพท์ และความช่วยเหลือให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกดีขึ้นเกี่ยวกับความรู้สึกที่ว่า บิดารักลูกไม่เท่ากัน โดยการพูดให้เขาคิดและสมมุติตัวเองว่าเขาเป็นบิดาแทนบิดาตัวจริง มีลูกชาย 2 คน มีอุปนิสัยเหมือนเขาและน้องชาย เขาจะเป็นห่วงและแสดงความห่วงใยและควบคุมพฤติกรรมลูกคนไหน ผู้ป่วยตอบว่า ห่วงคนที่เป็นผู้ป่วย จากคำตอบของผู้ป่วยทำให้เขาเข้าใจบิดาว่าทำไมบิดาจึงเข้มงวดกับเขาและมีผลให้ความรู้สึกดีขึ้น

คำถามที่สอง ก็ตอบเช่นเดียวกับคำถามแรก เขาเป็นบิดามารดา บิดามารดาเป็นตัวผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมต่าง ๆ เหมือนผู้ป่วยที่ผ่านมาและเข้ารับการบำบัดรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์จนครบกำหนด เมื่อลูกกลับบ้านตัวเขาเองจะเชื่อมั่นและไว้วางใจว่าลูกสามารถเลิกยาเสพติดได้ทันทีหรือไม่ ผู้ป่วยตอบทันทีว่าไม่ ดังนั้น สรุปได้ว่าบิดามารดาของผู้ป่วยก็เช่นเดียวกัน เขาอาจมีความหวาดระแวงลูก ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องอดทน ต้องใช้เวลาพิสูจน์ตนเองว่าสามารถเลิกได้จริง

จากตัวอย่างคำถาม คำถามอาจทำให้ท่านรู้สึกไม่ยากในการตอบ เพื่อแนะนำให้ผู้ป่วยรู้จักใช้ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็จะทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผู้อื่นมากขึ้นและรับรู้ว่าตัวเองจะทำอย่างไร ขณะเดียวดับวิชาชีพการให้บริการของพวกเรา ถ้ารู้จักนำทักษะนี้มาใช้ในการให้บริการผู้ป่วยก็จะทำให้การให้บริการมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

โดย พี่กระแส

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30217เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท