ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ
|
1.
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
|
คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ
และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้
คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า
ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)
|
|
ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5
ส่วน คือ
|
อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ
(Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch
Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic
Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)
|
อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ
(Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล
|
หน่วยประมวลผลกลาง
จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล
โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์
โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
|
หน่วยความจำหลัก
มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ
และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล
รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
|
หน่วยความจำสำรอง
ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน
เพื่อการใช้ในอนาคต
|
|
ซอฟต์แวร์
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
|
ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ
ภายในระบบคอมพิวเตอร์
และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ
|
1.
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ
ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น UNIX, DOS, Microsoft
Windows
|
2.
โปรแกรมอรรถประโยชน์
ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น
โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor)
|
3.
โปรแกรมแปลภาษา
ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ
และทำงานตามที่ ผู้ใช้ต้องการ
|
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ
ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
|