K II
มังกรนิทรา- คนเก่งฟ้าประทาน

โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่สำคัญ ต่อ


โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า

โรคพิษสุนัขบ้า  หรือที่เรียกอีกหลายชื่อว่า     โรคกลัวน้ำ  โรคหมาบ้า   โรคหมาว้อ

สาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้า

   โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า(Rabies virus) เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้าเมื่อออกจากร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน ถูกทำลาย   ได้ง่าย เมื่อถูกความร้อน ยาฆ่าเชื้อที่ได้ผลดี คือ ฟอร์มาลิน 70%แอลกอฮอล์ ไลโซล กรดหรือด่างอย่างแรง หรือ 10%ไฮโปรคลอไรด์ (น้ำผสมคลอรีนไฮเตอร์หรือคลอร็อคในอัตราส่วน 1 ส่วนต่อน้ำ 9 ส่วน)

สัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า

   สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น วัว ควาย ม้า หมู ลิง ชะนี กระรอก กระต่าย พังพอน หนู

     แต่ที่พบได้มากที่สุดคือ สุนัข 96% รองลงมา  คือ แมว 4%

การติดต่อ

  คนเราจะติดเชื้อชนิดนี้ก็ต่อเมื่อ

-          ถูกกัดหรือข่วน

-          ถูกเลีย หรือน้ำลายสัตว์กระเด็นเข้าแผล รอยขีดข่วน หรือเยื่อบุตา จมูก ปาก ถ้าน้ำลายถูกผิวหนังปกติไม่มีรอยขีดข่วนบาดแผลไม่มีโอกาสติดโรค

-          การติดต่อทางระบบหายใจ  โอกาสติดน้อยมาก

-          การติดต่อโดยการกิน เกิดขึ้นได้ยาก ไม่เคยมีรายงาน

-          การติดต่อจากคนสู่คน ในธรรมชาติ ไม่เคยมีรายงาน

อาการของสุนัขที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้า

                1.ระยะแรก  2 - 3 วัน

อารมณ์และอุปนิสัยเปลี่ยนไป

              กินข้าว  กินน้ำน้อยลง / การเคี้ยวหรือกลืนผิดไป

                                                   

                2.ระยะตื่นเต้น(อาการบ้าแบบดุร้าย)

                     ไม่อยู่นิ่ง  มีอาการทางประสาท  กัดทุกสิ่ง

                   เสียงเห่าหอนเปลี่ยนไป ตัวแข็ง ล้มลงชักกระตุก

 

              3. ระยะอัมพาต(อาการบ้าแบบซึม)

                   คางห้อยตก  ลิ้นห้อยออกนอกปาก  น้ำลายไหล   ขาอ่อน  ล้มลงแล้วลุกไม่ได้

                   เป็นอัมพาตทั้งตัวและตาย

 

อาการบ้าในสุนัขมี  2  แบบ

    ชนิดซึม  หมายถึงสุนัขที่แสดงอาการในระยะตื่นเต้นสั้น  และแสดงอาการในระยะอัมพาตเด่นชัด

   ชนิดดุร้าย  หมายถึงสุนัขบ้าที่แสดงอาการในระยะตื่นเต้น ให้เห็นเด่นชัดยาวนาน  แสดงอาการระยะอัมพาตสั้น

การเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในคน

เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยการถูกกัด ข่วน และเพิ่มจำนวนในเซลล์

กล้ามเนื้อเข้าทางระบบประสาท เข้าสู่สมองและเพิ่มจำนวนมากขึ้น

           * * * พร้อมทำลายสมองของคนเรา***

 

ส่วนใหญ่ระยะฟักตัวในคนประมาณ  3 สัปดาห์   จนถึง  4 เดือน มีบางรายเร็วเพียง 4 วันหรืออาจนาน  เกิน 1 ปี  จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  คือ    

                -   จำนวนปริมาณเชื้อที่เข้าไป

        -   ตำแหน่งที่เชื้อเข้าไป

        -   เชื้อจากสัตว์ป่า

อาการในคน  มี 2 แบบคือ                                    

 1.  แบบก้าวร้าวดุร้าย         

2.  แบบอัมพาต 

อาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะคือ

1. ระยะเริ่มแรก

    อาจมีอาการไม่สบาย  ครั่นเนื้อครั่นตัว  มีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้ ปวดท้อง และที่พบบ่อยที่สุด คือ อาการคันมักเริ่มจากบริเวณแผลที่ถูกกัด

2. ระยะอาการทางประสาท

    อาจคลุ้มคลั่ง ดุร้าย กลัวน้ำ ความรู้สึกไวกว่าปกติ  ทุรนทุราย   เป็นอัมพาต น้ำลายไหลต้องบ้วนทิ้ง    กลืนน้ำลายไม่ได้

3.ระยะสุดท้าย

    ไม่รู้สึกตัว หายใจกระตุก ผู้ป่วยส่วนมากมักจะตายภายใน 7 วัน หลังจากเริ่มแสดงอาการ

 

อาการของโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์อื่น

แมว- หลบซุกตัวในมุมมืดแล้วจะมีอาการตื่นเต้น ฉุนเฉียว ดุร้าย กล้ามเนื้อสั่น น้ำลายไหล    มีอาการทางประสาท   

สุกร- ในสุกรมักแสดงอาการเฉียบพลัน นิสัยเปลี่ยนไป  ดุร้ายขึ้น ตื่นเต้น น้ำลายไหลมาก กระวนกระวาย

โค-กระบือ ไม่กินหญ้า กระสับกระส่าย ตื่นเต้น กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ร้องเสียงแหบ น้ำลายไหล กัดฟัน ท้องป่อง หางบิดหรือขาอ่อน

ม้า-มีอาการตื่นเต้น ดุร้าย กัดคน  ไวต่อเสียงมาก เอาเท้าโขกพื้น กัดรางอาหาร กินอุจาระ      ตาแดง จ้องนิ่ง หรือมีอาการท้องผูก

แพะ-แกะ มีอาการไม่กินหญ้า  กระวนกระวาย ตื่นเต้น ดุกว่าปกติ  ตาเบิกกว้าง จ้องนิ่ง ชอบเอาเท้าโขกพื้น

การควบคุมและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับผู้เลี้ยง

n    เลี้ยงสุนัขหรือแมวต้องพาไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เมื่ออายุ 2-4 เดือน แล้วฉีดกระตุ้นอีกครั้งตามกำหนดนัด และฉีดซ้ำทุกปี

n    ไม่นำสัตว์ป่าหรือเก็บลูกสุนัขมาเลี้ยง

n    ไม่ควรปล่อยสุนัขออกมาเพ่นพ่านนอกบ้าน

n    ถ้าไม่ต้องการเพิ่มจำนวนลูกสุนัข ควรทำการคุมกำเนิดสุนัข

n    พบเห็นสัตว์สงสัยเป็นโรคพิษสุนัขบ้า ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์

การหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกสุนัขกัด

อย่าแหย่

อย่าเหยียบ

อย่าแยก

อย่าหยิบ

อย่ายุ่ง

 

จะทำอย่างไรเมื่อถูกสัตว์กัด

1.  ล้างแผล  ล้างแผลด้วยสบู่กับน้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อล้างเชื้อออกจากบาดแผล ถ้ามีเลือดออกควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือ เค้นแผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น

2. ใส่ยา  ใส่แผล  เช่น  เบตาดีน ทิงเจอร์ไอโอดีน แอลกอฮอล์ 70 % จะช่วยฆ่าเชื้อโรค อย่าใส่สิ่งอื่น เช่น เกลือ ยาฉุน ลงในแผล ไม่ควรเย็บแผล ถ้าจำเป็นควรรอไว้ 3-4 วัน        ถ้าเลือดออกมากหรือแผลใหญ่อาจเย็บหลวม ๆ และใส่ท่อระบายไว้

3.กักหมา   กักสัตว์ที่กัดไว้ดูอาการอย่างน้อย  15 วัน โดยให้น้ำและอาหารตามปกติ อย่าฆ่าสัตว์ให้ตายทันที   เว้นแต่สัตว์นั้นดุร้ายกัดคนหรือสัตว์อื่นหรือไม่สามารถกักสัตว์ไว้ได้ ถ้าสัตว์หนีหายไปให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า

4.หาหมอ  รีบไปหาแพทย์หรือสัตวแพทย์ทันทีที่ถูกกัด เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนและซีรั่ม อย่ารอจนสัตว์ที่กัดตาย เมื่อสัตว์ตายรีบตัดหัวส่งตรวจโรคพิษสุนัขบ้า

 

จะส่งซากสัตว์วินิจฉัยโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร

1.ตัดหัวสัตว์   ตัดหัวสัตว์ตรงคอต่อ ใส่ถุงพลาสติกซ้อนหลาย ๆ ชั้น รัดปากถุงให้แน่น ใส่ถุงมือทุกครั้งที่ตัดหัวสัตว์ ถ้าเป็นแมวหรือสัตว์ตัวเล็กสามารถส่งได้ทั้งตัว

2.แช่แข็ง  ใส่กระติกหรือภาชนะอย่างอื่น  เช่น  กล่องโฟม แล้วใส่น้ำแข็งให้เย็นตลอดเวลา

3.ประวัติ  ส่งพร้อมประวัติสัตว์ ชนิด เพศ อายุ สี อาการป่วย ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เจ้าของสัตว์ และผู้ถูกกัด

 

หน้าที่ของเจ้าของสุนัขตามพระราชบัญญัติ  โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ 2535

1.  นำสุนัขไปรับการฉีดวัคซีนครั้งแรกเมื่อสุนัขอายุ  2 – 4 เดือนและครั้งต่อไป

     ตามที่กำหนดในใบรับรองการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

2.  เมื่อสัตว์ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วให้ติดเครื่องหมายประจำตัวและเก็บ

     ใบรับรองการฉีดวัคซีนไว้ การขายหรือให้สุนัขแก่ผู้อื่น  ต้องมอบใบรับรอง

      ให้ด้วย

 3. ไม่ปล่อยสัตว์ออกมาตามที่สาธารณะ  สัตว์ที่ไม่มีเครื่องหมายแสดงการฉีดวัคซีนจะถูกเจ้าหน้าที่จับขัง    5  วัน  ถ้าไม่มีผู้ไปรับ  จะถูกดำเนินการตามกฎหมาย

4.  เมื่อสัตว์มีอาการของโรคพิษสุนัขบ้า ให้แจ้งต่อสัตวแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขภายใน 24 ชม.

ท่านกำลังทำผิดต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง ถ้าท่านทำตนอย่างนี้

1.ปล่อยสุนัขของท่านเพ่นพ่านในที่สาธารณะโดยไม่ดูแล

2.ปกปิดเมื่อสุนัขที่เลี้ยงอยู่ไปกัดกับสุนัขบ้าแล้วไม่แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพราะสุนัขอาจติดเชื้อโรค พิษสุนัขบ้า

3.นำสุนัขไปปล่อยตามสถานที่ต่างๆ เช่น   วัด  โรงเรียน

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

-       ฉีดสัตว์อายุ 3 เดือนขึ้นไป และฉีดกระตุ้นเข็มที่ 2  เมื่ออายุ 4 เดือน หลังจากนั้นฉีดทุก ๆ 1 ปี(ระยะ  คุ้มโรค 1 ปี)

-        การเก็บรักษา ต้องเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 4-6องศาเซลเซียส

-        ตำแหน่งที่ฉีด ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือกล้ามเนื้อในขนาด 1 ซีซี / ตัว

คำสำคัญ (Tags): #โรคพิสุนัขบ้า
หมายเลขบันทึก: 301219เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2009 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • มาเรียนรู้สิ่งดีๆกับหมอเก่ง
  • คงต้องเป็นแฟนประจำกันเสียแล้วครับ..
  • ถ้าไม่แวะเข้ามา..เสียใจแย่เลย..น๊อ
  • ความรู้ดีๆ...ทั้งน๊าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท