การพัฒนารูปแบบการส่งต่อระหว่างหน่วยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
จังหวัดขอนแก่น
The Development of Dual System EMSS in Khon Kaen Province
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบในการจัดระบบบริการการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต อาศัยอยู่ห่างไกล โดยอาศัยการติดต่อสื่อสาร ผ่านศูนย์สื่อสารและสั่งการระดับจังหวัด วิธีการศึกษา ศึกษาขั้นตอนการสั่งการของศูนย์สื่อสารและสั่งการ นำเสนอปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีศึกษาที่เกิดความล่าช้าต่อการกู้ชีวิต ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อหาแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้แนวทางปฏิบัติดังนี้ เมื่อศูนย์สื่อสารและสั่งการรับแจ้งข้อมูลว่าผู้บาดเจ็บ/ป่วยฉุกเฉินมีภาวะวิกฤตระยะทางเกิน 10 กิโลเมตร สั่งให้ทีม A และทีม B ออกปฏิบัติงานพร้อมกันโดยศูนย์สื่อสารประสานงาน เพื่อรับส่งต่อระหว่างหน่วยบริการ
การศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 ราย ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวไม่มีชีพจร มีจำนวนทั้งสิ้น 30 ราย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 11.66 ได้รับการช่วยเหลือ โดยการเปิดทางเดินหายใจและช่วยหายใจ นวดหัวใจ ณ จุดเกิดเหตุ เสียชีวิตที่ ER จำนวน 6 ราย คิดเป็นร้อยละ 20 รอดชีวิต 24 รายคิดเป็นร้อยละ 80 ผู้ป่วยจำนวน 270 คน ได้รับการช่วยเหลือในการช่วยหายใจและให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ แบ่งเป็นประเภทการเจ็บป่วยฉุกเฉิน 220 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.33 และผู้ป่วยอุบัติเหตุ 80 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.66 ระยะเวลาของการเข้าถึงผู้ป่วยของทีม Advance ( Response Time) ใช้เวลา 8.25 นาทีในผู้ป่วยอุบัติเหตุและ 12.45 นาที ในผู้ป่วยฉุกเฉิน สรุปผลการศึกษา รูปแบบการส่งต่อระหว่างหน่วยในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤตจำเป็นต้องได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ ได้รับการช่วยเหลือจากทีมแพทย์และพยาบาลรวดเร็วมาก และส่งผลให้ผู้ป่วยรอดชีวิต ซึ่งรูปแบบนี้สามารถนำไปพัฒนาในจังหวัดที่มีพื้นที่ห่างไกลได้
สวัสดีค่ะ คุณสุภลักษณ์ ขอเป็นกำลังใจให้กับคนทำงานนะค่ะ
ขอบคุณนะคะ สำหรับกำลังใจ ทุกวันนี้ก็พยายามคิดถึงแต่ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในงานค่ะ
จึงได้มีกำลังใจ