บริหารด้วย POCCC ของ Henri Fayol


หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมากๆ ในการทำงานแล้ว ละก็ หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วยกัน 5 ปัจจัย

 

          อองริ  ฟาโยล  (Henri Fayol)  เป็นทั้งวิศวกรและนักวิชาการชาวฝรั่งเศส เขาได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมากๆ  ในการทำงานแล้ว ละก็ หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วยกัน 5 ปัจจัย  ทฤษฎีของเขา มักถูกเรียกว่า POCCC ซึ่งมีดังนี้

 

P = Planning

          การวางแผน  (Planning)  หมายถึง จินตนาการหรือวิสัยทัศน์ที่เราวาดภาพไว้ล่วงหน้าแล้วว่า งานที่เรากำลังจะทำนั้น เมื่อเสร็จออกมาแล้ว หน้าตามันน่าจะเป็นอย่างไร..?

 

O = Organizing

          หลังจากรู้แล้วว่าจะทำงานให้มีหน้าตาออกมาอย่างไร..? ก็ต้องมาจัดหน่วยงาน(Organizing) ที่จะต้องเข้ามารับผิดชอบในการทำงานเหล่านั้นให้สำเร็จลุล่วง การออกแบบหน่วยงานจะออกแบบจากหน่วยงานที่ใหญ่ที่สุด เช่น ฝ่ายผลิต แล้วค่อยๆซอยงานให้เล็กลง เช่นในฝ่ายผลิตควรจะต้องมีงาน อาทิ แผนกเตรียมวัตถุดิบ แผนกควบคุมเครื่องจักร แผนกซ่อมบำรุง แผนกคลังสินค้า ฯลฯ และก็เล็กซอยลงไปอีก เช่นในแผนกเตรียมวัตถุดิบควรจะต้องมี หมวดควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ หมวดควบคุมปริมาณวัตถุดิบ หมวดติดตามประสานงานวัตถุดิบ ฯลฯ

 

C = Command

          เมื่อมีงาน ก็ต้องมีคน ดังนั้นเราจึงต้องวางคนตามความเหมาะสม ทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความถนัด ฯลฯ ให้เต็มอัตรากับงานที่เราจัดแบ่งไว้ โดยคนที่รับผิดชอบหน่วยงานที่ใหญ่กว่า ก็จะต้องสามารถสั่งการคนที่รับผิดชอบหน่วยงานเล็กกว่า การวางคนให้สามารถสั่งการกันได้นี้ เรานิยมเรียกว่า สายการบังคับบัญชา (Command) เพื่อให้คนที่เราจัดวางกำลังเหล่านี้ ทำงานที่ได้รับมอบหมาย ให้สำเร็จลุล่วง บรรลุตามแผน

 

 C = Coordinate

          เมื่อวางแผน แบ่งงานและวางกำลังคนแล้วก็ต้องมีการประสานงาน(Coordinate) เพราะขืนต่างคนต่างทำ เหมือนงาน กทม.วันนี้ประปามาขุดถนนวางท่อ พอเทกลบเรียบร้อย พรุ่งนี้ โทรศัพท์มาขุดกันอีหลุมที่เพิ่งกลบเมื่อวาน เพื่อวางสายโทรศัพท์ พอโทรศัพท์กลบเสร็จ อีกสามวันไฟฟ้าก็มาขุด อีหลุมเดิมหลุมเดียวบางครั้งมาขุดกันได้ยังไงไม่ทราบห้าหกหน่วยงาน กรณีนี้ ฟาโยล บอกว่า เป็นเพราะมีแต่การวางแผน แบ่งงาน วางคน แต่ไม่มีการประสานงานที่ดี ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในหน่วยงานที่ใหญ่กว่า จะต้องคอยช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อให้หน่วยงานย่อยๆของตน มีการประสานงานที่ดี เพราะหากหน่วยงานย่อยที่ตนรับผิดชอบดูแลไม่มีการประสานงานที่ดีแล้ว อองริ ฟาโยลบอกว่าไม่ต้องไปด่าใคร ตัวเองนั่นแหละไร้ฝีมือ

 

C = Control

          ปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการทำงานให้สำเร็จ ก็คือจะต้องมีการควบคุม (Control)  ให้หน่วยงาน กำลังคน การประสาน สามารถดำเนินให้แล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้ ในเวลาและค่าใช้จ่ายที่กำหนด เพราะหากปราศจากการควบคุม บ่อยครั้งที่เราเห็นว่างานไม่เดิน หรืออาจเดินไม่เสร็จตามแผน ผู้นำที่ได้แต่สั่งๆๆโดยไม่เคยลงมาควบคุมหรือกระทั่งจะมากำกับดูแลเลย ปัจจุบันนี้หาไม่ค่อยจะเจอแล้วครับเพราะส่วนใหญ่ไม่ถูกไล่ออกก็เจ๊งไปหมดแล้ว  

 

หมายเลขบันทึก: 300042เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

PLOCCC

Planning

Leading

Organizing

Controlling

Communicating

Coordinating

ขออนุญาติแชร์ไอเดียครับท่าน

น่าจะมี Leading ก่อน จึงจะ ตามด้วย Organizing นะครับ

การนำ (Leading) คือ ความพยายามของผู้บริหารที่จะต้องทำให้พนักงานเกิดความร่วมมือกันในการปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ

เพราะหากไ่ม่มีการชี้นำก่อน ก็จะไม่บรรลุได้ (ซึ่งอาจะคล้ายๆ commanding)

... แต่ ควรมี C = Communicating เพื่อขึ้นด้วย เพราะการสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ

รวมแล้วเราจะเรียกว่า " PLOCCC Function" ครับ

ด้วยความนับถือ

Mike from SAIDI, School of OD.

เสริมอีกหน่อย

ปัจจุบัน หลักการของ Henri Faloy ถูกนำมา ย่อ ให้เหลือแต่

4อย่าง คือ Planning Organizing Leading และ Controlling

ครับ

พระ นิมิตร daeng กลิ่นดอกแก้ว

ขอบคุณทุกความเห็นที่ร่วมแสดง ขอน้อมรับด้วยความเคารพ พร้อมจะนำไปปฏิบัติในหน้าที่ของตน และเผยแผ่ต่อไปเมื่อมีโอกาส

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท