(ร่าง) โครงการยิ้มใสวัยงาม (ม.เชียงใหม่)


เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการบริหารแผนงาน และผู้สนใจให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับหลักการ Empowerment โดยใส่ข้อคิดเห็นของท่านลงในช่องแสดงความคิดเห็นและขอให้ใช้ชื่อจริงในการให้ข้อเสนอแนะด้วย ซึ่งแผนงานจะแจ้งให้หัวหน้าโครงการทราบและชี้แจงตามข้อเสนอแนะผ่าน blog ต่อไป

    คลินิกส่งเสริมและป้องกันทันตสุขภาพ  คณะทันตแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการดำเนินโครงการ “ คลินิกยิ้มใสวัยงาม ” ตั้งแต่ปี 2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพในทุกๆ ด้าน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในเขต อำเภอต่างๆในจังหวัดเชียงใหม่  ซึ่งการดำเนินงานในแต่ละครั้งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีมีผู้สูงอายุเข้าร่วมสัมมนาในแต่ละครั้งมากกว่า 30คนขึ้นไปผู้สูงอายุมีความสุขมากที่ได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้กับผู้รู้ในสาขาต่างๆ มากมายโดยมาพูดคุยกันประมาณเดือนละครั้งๆ ละ 1-2 ชั่วโมง

        แต่เนื่องจากในปี พ.ศ. 2548  คลินิกฯ ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทำงาน ปรับเปลี่ยนบุคลากรตลอดจนนโยบายที่เปลี่ยนไป  ทำให้การดำเนินงานในโครงการ ดังกล่าวต้องหยุดชะงักเนื่องจากขาดผู้ดำเนินงานต่อ  เมื่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกำหนดภาระหน้าที่ใหม่ของบุคลากร จึงมีความพร้อมที่จะมีการดำเนินโครงการ “ยิ้มใสวัยงาม” ต่อเพื่อที่เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนประสบการณ์และการเรียนรู้ผู้สูงอายุด้านสุขภาพและสุขภาพช่องปากจากทุกเพศ ทุกวัย โดยเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุมาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ต่างๆ ต่อกันและได้ความรู้จากวิทยากรผู้ทรง คุณวุฒิหลายสาขา ทำให้เกิดการจัดการความรู้ที่ผู้สูงอายุมีอยู่ ให้เป็นระบบ เพื่อจะสามารถนำความรู้ที่ผู้สูงอายุมีการถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นๆ ได้ต่อไป

ขั้นตอน / กิจกรรมของโครงการ หรือระเบียบวิธีวิจัย (โดยละเอียด)

กิจกรรม (ตามลำดับก่อนหลัง)

ช่วงเวลาดำเนินการ

1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานในกลุ่มบุคลากรของคลินิก

สิงหาคม  2552

2. ประชุมวางแผนการดำเนินงานในกลุ่มบุคลากรของคลินิกและผู้สูงอายุ

สิงหาคม  2552

3.จัดตั้งคณะผู้ดำเนินงานที่ประกอบด้วยบุคลากรและผู้สูงอายุร่วมดำเนินงาน

กันยายน 2552

4. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อหาสมาชิกร่วมโครงการเพิ่มเติม

และแจ้งการดำเนินกิจกรรมของโครงการ

กันยายน  2552

5.ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ร่วมกัน

กันยายน 52 – กันยายน 2553

6. สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 1

มีนาคม  2553

7.  ดำเนินกิจกรรมตามที่ได้วางแผนไว้ร่วมกันต่อ

มกราคม – กันยายน 2553

8. สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน ครั้งที่ 2

กรกฎาคม 2553

9.  สรุปผลการเรียนรู้ส่ง สสส.  ปิดโครงการ

สิงหาคม 2553

10.  โครงการดำเนินต่อไปโดยคณะกรรมการผู้ดำเนินงาน

กันยายน 2553

 

หมายเลขบันทึก: 300036เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2009 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข

ประเด็นพิจารณา

ผลการพิจารณา

 ข้อคำถาม / ข้อเสนอแนะ

คำชี้แจง / การแก้ไขของหัวหน้าโครงการ (ในลักษณะข้อต่อข้อ)

  1. หลักการและเหตุผลโครงการ

(สอดคล้องกับกรอบประเด็นหลัก น่าสนใจ เป็นประโยชน์  เป็นไปได้ ฯลฯ)

 

1.1 ปัญหาของผู้สูงอายุที่โครงการนี้จะช่วยเหลือคือเรื่องใด  น่าจะเป็นปัญหาของสุขภาพช่องปากเป็นหลัก เพราะเป็นคลินิกส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ  หากการจัดกิจกรรมนี้ช่วยให้เราเข้าใจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุได้ดีขึ้น หรือช่วยให้เขาสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองก็จะเป็นประโยชน์กับทั้งตัวผู้สูงอายุเองและต่อบุคลากรในคลินิกฯ ด้วย

1.2 แต่ถ้าหากจะช่วยแก้ปัญหาสุขภาวะโดยรวมของผู้สูงอายุ  ก็คงต้องมั่นใจว่าในคลินิกนี้มีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวคอยเป็นผู้ให้คำแนะนำ  ด้วยเช่น แพทย์  นักจิตวิทยา ฯลฯ

 

  1. วัตถุประสงค์ของโครงการ

(เป็นไปได้  วัดได้  สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล)

โปรดปรับปรุง

2.1 ระบุให้ชัดเจนกว่านี้ว่ามุ่งส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในด้านใด (สุขภาพช่องปาก สุขภาพทั่วไป ปัญหาครอบครัว  ปัญหาจิตใจ ฯลฯ)

2.2 โปรดพิจารณาเพิ่มวัตถุประสงค์ที่กิจกรรมนี้จะช่วยพัฒนานักศึกษาทพ. ที่มาเรียนรู้ในคลินิกฯ

 

  1. ตัวชี้วัดและวิธีการประเมิน

(สมเหตุสมผล  ตรงประเด็น เป็นไปได้)

โปรดปรับปรุง

3.1 เป้าหมาย ลักษณะ จำนวนของตัวชี้วัดควรอยู่ในคอลัมน์ “ตัวชี้วัด”  ส่วนในคอลัมน์ “วิธีการประเมินฯ” ควรระบุวิธีการในการรวบรวมข้อมูลตามที่ตั้งไว้

3.21 เพิ่มเติมตัวชี้วัดตามข้อ 2.2 (หากทำได้)

 

  1. วิธีการดำเนินโครงการ

(เน้น participation, empowerment)

โปรดปรับปรุง

4.1 การเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ จะเลือกอย่างไร เลือกจากผู้สูงอายุในอำเภอต่างๆมารวมกันที่เดียวหรือไม่ หรือเลือกคนในแต่ละพื้นที่ ที่อยู่ใกล้กันมาทำกิจกรรมร่วมกัน ถ้าเป็นแบบหลังน่ามีความต่อเนื่อง น่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า และไม่เป็นภาระในการเดินทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าได้ explore ต่อ ว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพช่องปากเรื่องอะไรบ้าง ก็จะได้นำไปพัฒนาต่อยอดได้

4.2 การจัดการความรู้ น่าจะบอกว่ามีเรื่องอะไรบ้าง

4.3 โปรดพิจารณาเพิ่มวิธีการที่จะพัฒนานักศึกษาทพ. ในคลินิกส่งเสริมป้องกันฯ  ให้มีทักษะในการดูแลผู้สูงอายุผ่านกระบวนการในกิจกรรมนี้

4.4

4.5

4.6

4.7

4.8

 

  1. วิธีการสังเคราะห์องค์ความรู้

(ใช้วิจัย  KM  ประชุม ฯลฯ)

เหมาะสมแล้ว

5.1

5.2

 

  1. งบประมาณ

(ประหยัด สมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพ ฯลฯ)

โปรดปรับปรุง

6.1 ตามโครงการที่แก้ไขสุดท้าย

6.2

6.3

6.4

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท