หลังจากที่คุณหมอนนทลี ทยอยเรื่องเล่า
กรมอนามัยรับแขก เป็นหนังยาวหลายซีรีย์ ทำให้ดิฉันต้องหันกลับมาเขียน
blog อีกครั้ง แต่ภายใต้ หัวเรื่อง สาระวนเตรียมการ เพื่อ micro success ของการดูงาน KM
กรมอนามัย ว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร
ถือเป็นการถอดบทเรียนขั้นตอน BAR(Before action review)
และเขียนเรื่องเล่าสู่กันฟังอีกเรื่องหนึ่ง
ที่ต่างมุมจากเรื่องเล่าที่คุณหมอนนทลีกำลังถอดอยู่นะคะ
ทุกๆครั้งของการเริ่มต้นงานKM หัวใจสำคัญคือการพยายามเดินทางไปให้ถึง visionของการจัดการความรู้
เราในที่นี้คือ KM team กลางของกรมอนามัย ตัดสินใจรับแขก
ด้วยเหตุผลตามที่อาจารย์หมอสมศักดิ์
ชุณหรัศมิ์ ประธานKM กล่าวไว้ คือ
1). ก็ไม่ใช่ว่าเรารู้อะไรมากมาย แต่เราเชื่อว่า
การที่มีคนมาเยี่ยมเรา
ก็จะเป็นโอกาสที่จะทำให้เราได้รู้ว่าเรามีอะไรกันบ้าง
เราก็พยายามควักความรู้ที่มีอยู่...มาให้ผู้ที่มาดูงานเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
(ลปรร.)
...ต่อจากนี้...ศรีวิภาพูดเองนะคะ และเรา ในที่นี้คือ KM team กลางของกรมอนามัย
2).
อยากกระตุ้นให้หน่วยงานต้นแบบของเราฟู
เหมือนขนมเค็กหรือขนมปังน่ะคะ
ที่ได้เติมยีสต์ลงในส่วนผสมแล้วพอเข้าเตาอบมันก็ฟูขึ้น
...อยากให้หน่วยงานต้นแบบที่มานะก้มหน้าก้มตาทำKMนั้น
มั่นใจในความสำเร็จของท่าน
มั่นใจในองค์กรของเรา
มั่นใจในถนนสายนี้ของKMร่วมกัน
3) อยากท้าทาย...พวกเรา KM team ทุกคน ทุกหน่วยงาน ให้ฮึกเหริม
กล้าลุย ไม่กลัวผิด ไม่กลัวอาย เพราะเราเป็นมนุษย์ผู้มีศักยภาพ ผ่านการพัฒนาแล้ว
กำลังเจริญ เติบโต และก้าวสู่การพัฒนาต่อยอด
จึงพร้อมแบ่งปันค่ะ
เป็นความสุขเหลือเกินค่ะ
เพราะทีมงานของเราน่ารักมาก
เราเตรียมการกันอย่างเข้มข้น
-มีการเตรียมการ ระหว่างประธาน KM อาจารย์หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ กับ เลขาและผู้ช่วยเลขาKM Team 2-3 ครั้ง ทุกเช้า เท่าที่พอมีเวลา เพื่อออกแบบการดูงาน
- มีการหารือกันกับคุณเอื้อ...ระดับสูง ...ท่าน CKO รองอธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์ประเสริฐ หลุยเจริญ อาจารย์หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ และพญ.นันทา อ่วมกุล ที่ปรึกษา KM ไม่น้อยกว่า 2ครั้ง ต่อทุกท่าน... ถึง Stepของการดูงาน ได้แก่ การเน้นย้ำและเคลียร์เป้าหมายของการดูงาน การกำหนดข้อตกลงหรือกติกาของการดูงาน การเตรียมและปรับรูปแบบการประชุมอย่างน้อย 2ครั้ง การจัดรูปแบบฐานย่อย การกลุ่มผู้ดูงาน การกำหนดวาระและเวลาในการดูงานทั้งภาพรวมและในแต่ละฐาน
และวิเคราะห์/คาดประมาณการถึง ผลลัพธ์ที่น่าจะเกิดจากการจัดการความรู้ครั้งนี้ ...เพราะการดูงานเป็นกระบวนการหนึ่งของการพัฒนาคน พัฒนางานกรมอนามัย ที่จะทำให้KM Teamของกรมฯ เกิดการเรียนรู้อันเป็นผลจากการจัดการความรู้
- มีการประสานงานกับเลขาKM Team กพร.สป ซึ่งเป็นผู้ประสานงานหลัก คือ พี่กาญจนา ..ว่า
..ขอเป็นการมาดูงานแบบKM คือ ทางเราขอไม่ lecture
แนวคิดKMนะคะ ขอความร่วมมือในการมา
ลปรร.(แลกเปลี่ยนเรียนรู้) เพื่อเรามาเติมเต็มซึ่งกันและกัน
และมีการชี้แจงรูปแบบการดูงาน ซึ่งการติดต่อเจรจากันทางโทรศัพท์
ก็ประมาณ 3-4ครั้ง และหารือกันแบบ Face 2 Face 2ครั้ง เรื่อง
การแบ่งกลุ่มผู้ดูงาน และรูปแบบการดูงาน
- การประสานกับหน่วยงานต้นแบบ 5
หน่วยงาน ซึ่งเป็น Modeling KMกรมอนามัย
ในรอบนี้ อย่างเป็นระยะๆทางโทรศัพท์เสียส่วนใหญ่ค่ะ
เพื่อเคลียร์concept เพื่อเตรียมผู้เล่า และเตรียมเรื่องเล่า
- การให้คำปรึกษาให้กับหน่วยงานต้นแบบที่ร้องขอตัวช่วย เช่น ที่กองคลัง กรมอนามัย เพื่อร่วมประชุมและให้ข้อเสนอแนะ และเทกำลังใจให้แบบสุด .. สุด ..ไปเลย ว่า คุณทำได้ ...เรามั่นใจในคุณ...ไม่น้อยกว่า 2-3 ครั้ง
- การประชุม Intensive course ...เมื่อ วันที่ 10 พ.ค.49 กับ CKOและผู้แทนจากทีมงานต้นแบบ 5 หน่วย เพื่อพิจารณาร่าง "วาระและกำหนดการของการดูงาน" และหาข้อสรุปร่วมเนื้อหาสาระ การเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อการนำเสนอ บันทึกภาพของแต่ละฐานดูงาน และสารพัดไขข้อกังขาร่วมกัน
-
การเตรียมผู้ประสานงานของแต่ละฐานที่เป็น KM Team
กลางทั้งหมด
ฐาน1 คุณสุกัญญา อุชชิน ฐาน 2 คุณ จันทนา
วรรณเพิ่มสุข ฐาน3 คุณ ลาวัณย์ ขำประเสริฐ ฐาน 4 ศรีวิภา
เลี้ยงพันธุ์สกุล และ ฐาน 5 คุณหมอนนทลี วีรชัย
ที่จะต้องทำหน้าที่
พาทีมงานไปดูงานในแต่ละฐาน ทำหน้าที่จับเวลา
และเป็นแมวมองผู้ดูงานที่คุย/แลกเปลี่ยนและเรียนรู้เก่งๆ
หมายตาไว้และจีบให้มาเป็นผู้ทำหน้าที่ ถ่ายทอดสิ่งที่เห็นจากฐานนั้นๆ
เพื่อเล่าสู่ให้ท่านอื่นที่ไม่ได้เรียนรู้ฐานนั้นทราบด้วย
...และเตรียมพร้อมสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันด้วย
เพื่อให้บรรยากาศช่วง AAR มีชีวิตชีวา ค่ะ
และในการเตรียมการ...เราคำนึงถึงลูกค้า ที่มาดูงานของเราว่า...ควรได้ผลลัพธ์ที่น่าจะคุ้มค่า ในระยะเวลาที่กำหนด
การหมุนดูงานในแต่ละฐาน ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ตามกองต่างๆกัน เช่น
ฐาน 1 และ2 จะดูงานที่กองคลัง ซึ่งอยู่อาคาร4 ขั้น 2 แล้วหมุนหลังจาก 40 นาที มาดูงานที่กองแผนงานอยู่ชั้น 4 สลับกัน
หรือคนดูงานที่ ฐาน3 กองอนามัยการเจริญพันธุ์ หลัง 40 นาที จะต้องเดินไปฐาน 4 ซึ่งอยู่ไกลกันสักหน่อยถึงอาคาร7 ชั้น 3 เพื่อดูKMสำนักส่งเสริมสุขภาพ
ทุกอย่างต้องถูกคำนวณเวลาไว้สำหรับการเดินทางของการดูงาน
ผู้ประสานจะต้องทำหน้าที่ควบคุมเวลาให้ดี
และผู้นำเสนอการดูงานก็จะต้องพูดให้กระชับภายในเวลา 30 นาทีแรกและ10
นาทีที่เหลือเราเน้นย้ำต้องเป็นเวลาของการ ลปรร. ของทุกฐาน
สำหรับผู้ดูงานฐาน 5 ก็โชคดีหน่อย
อยู่ในห้องประชุมสมบูรณ์ วัชโรทัย ห้องที่เราลงทะเบียนกัน
ซึ่งหลังจากฐาน 1 - 4 ดูงานเสร็จเวลา11.00 น. ก็จะมารวมกันที่ห้องนี้
เพื่อฟังสรุปการบรรยาย
Knowledge center ซึ่งเป็นส่วนของแหล่งคลังความรู้กรมอนามัย และ AAR
ก่อนเสร็จสิ้นดูงาน
- การเตรียมรายละเอียดอื่นๆที่แม้ไม่ใช่ประเด็นใหญ่ แต่ละเลยไม่ได้ คือ การเตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่ม การเตรียมอาหารกลางวัน ซึ่งคุณมนฑกานต์ เลขาฯอาจารย์หมอนันทา กรุณาช่วยดิฉัน รับเป็นแม่งานใหญ่ร่วมกับน้องเล็กๆเพียง2 คน
การเตรียมขั้นตอนนี้เราต้องวางแผนด้วยนะค่ะ
เพราะเราคำนึงว่า ทุกอย่างของstepการทำงานจะต้องคำนวณเวลาไว้
การรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จึงถูกออกแบบให้จัดเป็นชุดพร้อมถือเป็นเลย
จะทานตรงไหนสุดแต่ความสดวก ลงทะเบียนตอนเช้า
8.30น.กรุณารับ Break ไปท่านละ 1 ชุด ค่ะ
แต่บางฐานก็ใจดีมาก
จัดเครื่องดื่มเล็กๆน้อยๆเสริมให้
โดยที่เป็นความกรุณาของแต่ละฐาน
นี่แหล่ะค่ะที่ดิฉันบอกว่า
เป็นความน่ารักของทีมงานเราชาวกรมอนามัย
ขอบคุณจริงๆเลยค่ะ
-
การประสานทีมงานต้นแบบครั้งสุดท้ายก่อนเริ่มงาน
เพื่อปรับหัวข้อ/สาระชื่อฐานดูงานให้น่าดู
น่าฉงน น่าติดตามยิ่งขึ้น
...ซึ่งแต่ละหน่วยก็ให้ความร่วมมือดีมาก กรุณาตั้งชื่อแบบเก๋ไก๋
แต่เป็นความหมายชวนติดตามและใคร่รู้ เช่น
...KM
Bakery ของศูนย์อนามัยที่1 อานิสงค์ของ
AAR:กองอนามัยการเจริญพันธุ์ แฟ้มภูมิปัญญา
:ความรู้ที่จับต้องได้ COPกับงานส่งเสริมสุขภาพ และ
KMในงานกองคลังกับระบบ GFMIS
- การเตรียมพิธีกร โชคดีเหลือเกิน คุณวิมล โรมา ช่วยเป็นพิธีกรให้ เธอยินดีและเต็มใจอย่างยิ่งที่ดิฉันชวนให้มาร่วมทีมงานด้วย และตอบรับอย่างไม่อิดออดตามสไตล์คนรู้ใจกัน หน้าที่ของดิฉันในฐานะคุณอำนวย ก็ต้องจัดเตรียมเอกสารทุกอย่างสำหรับพิธีกร ตั้งแต่คำกล่าวต้อนรับของท่านCKO กำหนดการดูงาน รายชื่อผู้ดูงานในแต่ละฐาน การเล่า...รายละเอียดและStepการดูงาน เพื่อให้พิธีกรรับทราบเสมือนเป็นคนเดียวกับดิฉัน เพื่อที่พิธีกรจะเนียน...และ..อิน...เมื่อเข้าสู่บรรยากาศในวันงาน คือวันที่ 18 พ.ค.49 และเธอก็เป็นพิธีกรที่วิเศษสุด สำหรับการดูงานในวันนั้นทีเดียวค่ะ
- หลังจากการดูงานเสร็จสิ้นลง
ดิฉันก็ประสานหน่วยงานทั้ง 5ฐาน ขอข้อมูลในส่วนที่สามารถเผยแพร่ให้ส่งข้อมูลต่อไปยังคุณหมอนนทลี
เพื่อดำเนินการเก็บเป็นคลังความรู้ของกรมอนามัยและเผยแพร่ต่อไปค่ะ
ทพญ.นนทลี เป็นWeb Master และมือ note taker ที่สามารถนะคะ เพราะเธอจะเร็วมาก จะเก็บเรื่องราวดีๆทุกครั้งหลังคุยกัน แกะจาก MP3 มาถ่ายทอดให้กับทุกคนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสามารถ link สาระสำคัญใน K center หรือเขียน Blog ให้ทุกคนได้อ่านกัน
ก่อนสุดท้าย คือ การรายงาน...การประเมินผลอย่างไม่เป็นทางการ กับคุณเอื้อทั้งหมด การประเมินผลโดยการสุ่มสัมภาษณ์กับผู้ดูงาน และจากการอ่านแบบประเมินผลอย่างคร่าวๆ(scanเร็วๆ และอ่านข้อเสนอแนะเป็นหลัก)
และการขอบคุณ...ผู้มีอุปการะคุณ/ผู้มีส่วนร่วม...เท่าที่พอจะทำได้ ไม่ว่าจะแบบ F2F (Face to Face) หรือ พยายามโทรศัพท์เพื่อขอบคุณก็ตาม เพราะถ้าไม่มีทุกท่าน คงไม่มีmicoo success มาเล่าสู่กันฟังนะคะ
- และสุดท้าย ที่เหลือ ก็คือ สรุปแบบประเมินผลและถอดบทเรียนอย่างเป็นทางการ ก็ได้ความกรุณาจากคุณหมอนนทลี ตัวอิฉันเองและ หลายๆท่านอีกแหล่ะค่ะ
ความสำเร็จของKM กรมอนามัยในการดูงานวันนี้
มีเรื่องราวเกิดขึ้นก่อน ระหว่าง และหลัง...ของฟิลม์
"หนังเล็ก" เรื่องนี้อย่างมากมาย หากขาดการเขียน/บันทึกเก็บไว้
ก็คงขาดร่องรอยของบทเรียนให้เราชาว KM
ได้เก็บเกี่ยวร่วมกัน
...micro success ของผลงานเล็กๆ เป็นอีกหนึ่งบทเรียนที่ ขอบรรจงเขียนด้วยลายพิมพ์บางนิ้วมือ เพื่อเล่าสู่ท่านผู้ฟังให้ทราบว่า ...KM Teamเราชาวกรมอนามัย...สาระวน...แบบ..ไหน และอย่างไร ...กว่าจะไปถึงซึ่งวันนั้น
ความทรงจำที่กำลังบันทึกต่อไป คือ
เส้นทางเดินสู่ความสำเร็จในวันนั้น...เราพบว่า...มีพระเอกและนางเอกหลายคนค่ะ ...
ละครเรื่องนี้ ขาดคนใดคนหนึ่งก็ไม่ได้เลย แม้แต่สักคนเดียว
...เพราะทั้งหมด...เป็นฐานของความสำเร็จบน กระบวนการจัดการ
เพื่อการจัดการความรู้ของกรมอนามัย
อย่างมีส่วนร่วมและแท้จริงค่ะ
อ่านบันทึกนี้แล้วได้ทั้งความสุขและความรู้ ขอแสดงความชื่นชมและยินดีครับ
วิจารณ์