งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้สอน(2)


การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยพายัพ
ความเป็นมา
- คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทต่อระบบการศึกษาทั้งในด้านการเรียนการสอนการบริหารการศึกษา ตลอดจนการบริการต่าง ๆ ซึ่งทำให้การดำเนินการทางด้านการศึกษาสะดวก คล่องตัวทันต่อเหตุการณ์และทำให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
การใช้คอมพิวเตอร์สถาบันอุดมศึกษา ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540 : 21-24) ได้แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. ใช้ในการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ เช่น ให้รู้จักการใช้ DOS การใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
2. ใช้ในการสอนวิชาต่าง ๆ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) โดยจัดทำซอฟแวร์ช่วยสอน
3. ใช้ในการทดลองในห้องปฏิบัติการ ใช้ในด้านการทดลองต่าง ๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ไฟฟ้า
4. ใช้ในงานห้องสมุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ ในการให้บริการด้านต่างๆ ของห้องสมุด เช่น การค้นหาหนังสือ ใช้ในการบันทึกการยืมคืน ใช้ในการทำบัตรดรรชนี ฯลฯ
5. ใช้ในงานสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ สามารถติดต่อเชื่อมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก โดยมีศูนย์เป็นประตูทางออก (Gateway) ของประเทศไทย มีชื่อว่า ไทยสาร (THAISARN ย่อมาจาก Thai Society Science Academic Research Network) ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 40 สถาบัน
6. ใช้ในการบริหาร การใช้คอมพิวเตอร์ในการบริหารนั้นขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร เช่น งานบัญชี งานลงทะเบียน งานพัสดุ เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการบริหาร
7. ใช้ในงานวิจัย สามารถทำงานประกอบการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูล
ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่มีบทบาทและความสำคัญต่อระบบการศึกษาอย่างมากก็ตาม แต่โดยทั่วไปแล้วยังไม่อาจจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากยังมีปัญหาและอุปสรรคต่อการนำมาใช้หลายประการด้วยกัน เช่น ปัญหาการขาดประสบการณ์ในการใช้ซอฟต์แวร์ของบุคลากรในสถาบันการศึกษา และปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนเครื่องคอมพิวเตอร์
จากปี พ.ศ. 2532 จนถึง พ.ศ. 2541 เป็นเวลา 9 ปี เทคโนโลยีการสื่อสารและคอมพิวเตอร์ได้มีการเปลี่ยนแปลงและได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา และการกระจายโอกาสทางการศึกษาทำให้มีจำนวนมหาวิทยาลัยในประเทศเพิ่มมากขึ้น 56 – 57 แห่ง ทำให้มีการแข่งขันทางด้านวิชาการมากขึ้น เพื่อให้ได้มาตรฐานทางการศึกษาทัดเทียมกันโดยกำหนดองค์ประกอบที่มีผลต่อคุณภาพการเรียนการสอน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาคณาจารย์ การพัฒนาห้องสมุด การพัฒนาสื่อการศึกษา อุปกรณ์การศึกษาและประเด็นที่สำคัญ คือ การผลิตบัณฑิตให้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
มหาวิทยาลัยพายัพเป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันได้ผลิตนักศึกษาเพื่อมากขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ย่อมส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนไป
จากสภาพการเรียนการสอนและหลักสูตรการสอนคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยพายัพที่ผ่านมา การพัฒนาในด้านการใช้คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยยังมีปัญหา และอุปสรรค ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาอุปกรณ์เครื่องคอมพิวเตอร์ ในการเรียนการสอน และการให้บริการเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยพายัพ เพื่อทีจะใช้เป็นแนวทางประกอบในการพิจารณาวางแผนพัฒนาเกี่ยวกับการมี การใช้ และการพัฒนาหลักสูตร การสอนให้สอดล้องกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ มีความสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการประกอบอาชีพและเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานต่อไป
แนวคิดทฤษฎี
- 1. สภาพการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยพายัพ
2. การใช้คอมพิวเตอร์ในการศึกษา
3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
4. การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร
5. การใช้คอมพิวเตอร์ระบบอินเตอร์เน็ตในสถานศึกษา
วัตถุประสงค์
- เพื่อศึกษาการมี การใช้ และความต้องการในการใช้คอมพิวเตอร์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยพายัพ

สมมุติฐานการวิจัย

-
ระเบียบวิธีวิจัย
- การวิจัยเชิงสำรวจ
ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 11 คน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยพายัพ จำนวน 238 คน รวม 249 คน
ตัวแปร
-
นิยามศัพท์
- คอมพิวเตอร์ หมายถึง ไมโครคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อร่วม เช่น เครื่องพิมพ์ Scanner เครื่องฉาย Projector เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
- เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 3 ชนิด คือ
1. แบบสอบถาม สำหรับหัวหน้าภาควิชาและอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นแบบสอบถามปลายเปิดและปลายปิด จำนวน 23 ข้อ มี 3 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม
ตอนที่ 2 สภาพการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ ในมหาวิทยาลัยพายัพ
ตอนที่ 3 ความต้องการและปัญหาในการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์
2. แบบสัมภาษณ์สำหรับระดับรองอธิบดีฝ่ายวิชาการ และคณบดี 9 คณะ (รวมผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัย) เพื่อถามเกี่ยวกับนโยบาย ปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน
1) ท่านมีความคิดเห็นและนโยบายเกี่ยวกับการนำเอาไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างไร
2) ความต้องการในการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในวิชาที่สอนของอาจารย์ในแต่ละวิชาเป็นอย่างไร
3) ปัญหาในการใช้คอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยพายัพ
3. แบบสังเกต ผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบมีโครงสร้าง จากสภาพโดยทั่วไปด้านอาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เกี่ยวข้องกับใช้คอมพิวเตอร์
วิธีการรวบรวมข้อมูล
-
การวิเคราะห์ข้อมูล
- ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยแล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง
สรุปผลวิจัย
- 1. อาจารย์ส่วนใหญ่มีความรู้และประสบการณ์ในการใช้คอมพิวเตอร์ (75.63%) โดยศึกษาด้วยตนเองและสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน
2. อาจารย์ใช้คอมพิวเตอร์สัปดาห์ละ 5 วัน เพื่อการผลิตเอกสารประกอบการสอนค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและการพิมพ์
3. โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ส่วนใหญ่เป็น Microsoft Word PowerPoint Exel SPSS Athorware และ Toolbook
4. อาจารย์ส่วนใหญ่ต้องการเข้ารับการอบรมเรื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. อาจารย์ส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้บริหารระดับสูง สนับสนุนการใช้คอมพิวเตอร์ในหน่วยงาน และมีการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
6. ปัญหา คือ คอมพิวเตอร์มีจำนวนน้อย ไม่พอแก่การใช้งาน

ข้อเสนอแนะ

- ข้อเสนอแนะทั่วไป
1. ควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนได้มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนให้มากขึ้น โดยจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดโครงการ Computer User Groups ขึ้น เพื่อให้อาจารย์ได้แลกเปลี่ยนความรู้ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์
2. ควรสนับสนุนโครงการจัดตั้งศูนย์บริการในการผลิตสื่อการสอน รับผิดชอบในการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้ทันสมัย
3. ควรจัดให้มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับให้บริการสำหรับอาจารย์และนักศึกษาในคณะที่ไม่มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้มากขึ้น
4. ควรจัดให้มีหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดซื้อและจัดหาและพัฒนา โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับให้บริการสำหรับอาจารย์ผู้สอนทุกคณะ และเพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรร่วมกันและช่วยแก้ปัญหาในการจัดซื้อซ้ำซ้อน
5. ควรจัดให้มีการโครงการกู้ยืมเงินเพื่อจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อเป็นการส่งเสริมให้อาจารย์ได้มีและได้ใช้คอมพิวเตอร์
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการศึกษาเฉพาะกรณีถึงความต้องการและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ของแต่ละคณะและภาควิชาต่าง ๆ ที่มีพื้นฐานวิชาต่างกัน
2. ควรมีการศึกษาในระดับลึกลงไป ถึงความต้องการและปัญหาในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษา
3. ควรศึกษาถึงรูปแบบการพัฒนาศูนย์การสอนที่เหมาะสมในการให้บริการเกี่ยวกับการให้บริการคอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอน
4. ควรมีการศึกษาสภาพการมีการใช้และความต้องการของมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชนเพื่อเป็นแนวทางในการนำผลการศึกษามาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 29812เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 15:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอบคุณมากเลยค่ะ  กำลังมีความสนใจ  และบันทึกเป็น resourcement ได้อย่างดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท