ทบทวนกิจกรรมชีวิตในผู้ป่วยมะเร็ง


บทคัดย่อนี้เป็นกรณีศึกษาที่ผมลองเปิดโอกาสให้คุณลุงและเพื่อนคุณแม่ที่กำลังได้รับเคมีบำบัดมาเข้า Fatigue Management Program ตามโมเดลของ Prof. Tanya L. Packer เป็นเวลา 5 สัปดาห์ ...งานนี้ผมได้สมัคร WFOT Congress เพื่อนำเสนองานวิจัย แต่เสียดายที่อีกงานหนึ่งของผมเข้ารอบ 1 ใน 50 ของนักกิจกรรมบำบัดโลกแทนเรื่องนี้...จึงนำเสนอเรื่องนี้ผ่าน G2K และผู้สนใจแทนครับ

SELF-EFFICACY OF FATIGUE MANAGEMENT IN THAI PEOPLE

Supalak Khemthong

Occupational Therapy Division, Faculty of Physical Therapy, Mahidol University, Thailand

Introduction: Fatigue management for people with and without chronic conditions has been reported in term of improvement of self-efficacy in daily livings. However, this is a new concept and implication for Thai people in the field of occupational therapy service. Therefore, small group discussion over 5 weeks had been conducted among an occupational therapist, a client with cancer (A), a client with rheumatoid arthritis (B), and a client preferred Buddhist and spiritual health (C).  

Objectives: This pilot study aimed to understand self-efficacy of fatigue management among Thai people.   

Report: Fatigue management, programmed from previous studies, was introduced to 3 people with different backgrounds and health conditions. The structured exercises consisted of 5 sessions (2 hours per session, 1 session a week): fatigue in daily lives, banking energy, body communication, activity schedule, and balancing activity domains. Rating scale of self-efficacy per participant (the least score of 1 to the most score of 10) was reported after each session. Client A decreased feeling of physical fatigue and increased self-efficacy of fatigue management from 5 (1st session) to 8 (5th session). Client B decreased feeling of mental fatigue and increased self-efficacy of fatigue management from 4 (1st session) to 7 (5th session). Client C decreased feeling of cognitive fatigue and increased self-efficacy of fatigue management from 6 (1st session) to 8 (5th session).

Discussion: Attitudinal motivation and inspiration of the individuals appears to be a major factor regarding fatigue management. Understanding of self-efficacy through health and occupational performance must be shared and learned as an interactive group. 

Conclusion: Self-efficacy of fatigue management has improved over 5 weeks in different cases of Thai people. 

Evidence Base of Occupational Therapy: This report has showed an important evidence for occupational therapists and further implications of interventions in a wider population. 

ปัจจุบัน ผมได้ติดตามผลผู้ป่วยโรคมะเร็ง 2 กรณีศึกษา ภายหลังจากท่านหนึ่งที่เป็นเพื่อนคุณแม่ของผม เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่สาม ได้เข้าโปรแกรมกับผมจนสามารถสื่อสารกับร่างกายและจัดการแผนการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตโดยป้องกันสภาวะความล้าทางร่างกาย ที่เกิดจากการสูญเสียพลังงานในร่างกายขณะทำการเคมีบำบัด ...ผมพบว่ากรณีศึกษาท่านนี้มุ่งมั่นดำเนินชีวิตเพื่อครอบครัวที่เขารักและทำงานได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องมีการใช้เวลาว่างที่มีคุณค่า จากที่เคยถ่ายใส่ถุงหน้าท้อง ก็กลับสู่การถ่ายผ่านลำไส้ด้วยการผ่าตัดใหม่และฝึกทักษะการขับถ่ายอีกครั้ง เขาภูมิใจนำเสนอ "บ้านนก" ที่เกิดจากความคิดที่ไม่อยู่ว่าง ออกแบบบ้านเล็กๆ จากกล่องพิซซา แล้วจ้างช่างมาต่อเติมให้กลายเป็น "บ้านนก" อยู่มุมหน้าบ้าน คล้ายบ้านบนต้นไม้ ติดกระจกมองได้สี่มุมบ้าน บ้านทรงแป้นทำให้รับลมเย็นๆ และกันเปียกเวลาฝนตกได้ ใช้เป็นที่พักผ่อนคลายกายใจได้ดีจริงๆ กรณีศึกษาท่านนี้ไม่รู้สึกกังวลถึงผลกระทบของโรคมะเร็งหรือเคมีบำบัดที่ทำให้เกล็ดเลือดต่ำลงเรื่อยๆ เขาวางแผนที่จะใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวภายในช่วง 2 ปีอย่างมีความสุขที่สุดแห่งชีวิตบนโลกใบนี้

อีกท่านหนึ่งคือลุงของผม ซึ่งท่านเข้าโปรแกรมกับผมเพียงครั้งเดียวจากห้าครั้ง ท่านให้เหตุผลว่า อยากอยู่บ้านเขียนหนังสือมากกว่า และไม่สะดวกเดินทางมาเข้าโปรแกรมที่บ้านผม จริงๆ แล้วคุณลุงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะแรกและผ่านเคมีบำบัดช่วงแรกจนดีขึ้นแล้ว เพียงแต่ขาดการวางแผนการใช้พลังงานและการรู้จักจัดการความล้าทางร่างกายที่สัมพันธ์กับความล้าทางความคิดและจิตใจ ล่าสุดผมได้ไปเยี่ยมคุณลุง ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเนื่องจากคุณหมอสงสัยว่าเซลล์มะเร็งจะลามไปที่ลำไส้ใหญ่จนเกิดอาการอักเสบตรงท้องน้อย พร้อมมีเกล็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวต่ำมากเกินไป จึงงดเคมีบำบัดเพื่อรอการวินิจฉัยอีกครั้ง ผมเข้ากอดคุณลุงด้วยความรักและส่งกำลังใจให้คุณลุงรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์ยั้งยืนนานๆ ผมนัดคุณพ่อและคุณอาที่ไปเยี่ยมว่า "อย่าคอยถามว่าอาการเป็นอย่างไร อยากให้คุยสบายๆ ถึงเรื่องชีวิตที่ผ่านมาสมัยเรียนจนถึงคุยเรื่องชีวิตที่ดีของญาติพี่น้อง" สังเกตคุณลุงกินกับข้าง รพ. ที่ดูไม่น่าอร่อย พร้อมคุยกับพวกเราอย่างมีชีวิตชีวา แทนที่จะนั่งรอผลการตรวจต่างๆ เกือบสองอาทิตย์ ในห้อง VIP พร้อมคนดูแลจากศูนย์ ที่ต้องจ่ายให้วันละ 600 บาท

ผมคิดทบทวนว่า "โปรแกรม Fatigue Management ที่อาศัยแนวคิดกิจกรรมบำบัดและการจัดการความคิดเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีแก่คนหนึ่งคน" ส่งผลให้เห็นความแตกต่างของการได้รับผลกระทบจากโรคมะเร็งจาก 2 กรณีศึกษานี้

ปล. หากท่านสนใจเรื่อง กิจกรรมบำบัดกับความล้า ลองเปิดชมรายการ One World ทางช่องทีวีไทย ศุกร์ที่ 18 และ 25 กันยายน นี้ เวลา 15.30 น.  

 

หมายเลขบันทึก: 297741เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2009 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 05:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณ คุณหมอป๊อบ สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ถ้ามีขัอมูลเพิ่มเติม กรุณานำมาอัพเดท อีกนะค่ะ

อบรมฟรี กิจกรรมบำบัดจิตสังคมกับการจัดการมะเร็ง 17 ก.ย. 54

คลิกอ่านประชาสัมพันธ์ที่ http://www.gotoknow.org/classified/ads/1623

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท