คนทำทาง : กับ KM นักศึกษา


การจัดการความรู้ทำอย่างไรจะฝัง....ไว้ในวิถีการทำงานของนักศึกษาเเละคนรุ่นใหม่ๆได้แบบเนียนที่สุด

ผมเคยพูดให้นักศึกษาที่เรียนกับผม ฟังอยู่เสมอถึงเพลงคนทำทาง ซึ่ง อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูรณ์เเต่งไว้ ว่ามีเนื้อหาใจความที่ดีงามมากๆๆ ผมเองส่วนหนึ่งก็ถือเป็นคนทำทางได้บ้างเล็กน้อย เพราะทุกวันนี้ทำหน้าที่ในการเอื้ออำนวยกระบวนการให้ ผู้นำชุมชน พัฒนากร เเละนักศึกษาที่ผมสอนอยู่ในมหาวิทยาลัย ได้เรียนรู้ ได้เเลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ทุกครั้งที่ก้าวเข้าสู่ชั่วโมงการเรียนการสอน ผมมักสวมบทของคนอำนวยกระบวนการมากกว่าสอน เพราะแท้จริงเเล้วผมไม่ได้ เก่งกาจ ดีเลิศ รู้ลึกไปกว่านักศึกษา หรือผู้นำเหล่านั้นเลย ในทางกลับกัน เขาเหล่านั้นต่างหากที่เป็นครูสำหรับผม

  

 

 ภาพที่หยิบมาไว้นี้เป็นนักศึกษา สาขาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี ศูนย์นครนายก ซึ่งผมรับผิดชอบสร้างการเรียนรู้อยู่ 2-3 วิชา เขาพัฒนาการได้เร็วมาก ณ ขณะนี้คงจบปริญญาและถึงฝั่งฝันกันแล้ว ครูดีใจด้วยกับทุกๆคน เธอต้องทำหน้าที่ของนักพัฒนาให้เต็มขีดความสามารถ ส่วนครูจะทำหน้าที่เสมือน คนทำทาง ต่อไป

 

 

 การที่ผมนำเครื่องมือการจัดการความรู้เข้าใช้ในการเรียนการสอนให้นักศึกษา โดยเฉพาะภาคพิเศษนั้น ด้วยเป้าหมายหลัก คือการนำไปประยุกต์ใช้ ในวิถีเเห่งการทำงานอย่างแท้จริง...

หมายเลขบันทึก: 297682เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2009 03:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เเวะผ่านมา ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ระบบการเรียนการสอนบ้านเรา ท่องจำเป็นว่าเล่นครับ

ดีครับในกรณีที่ให้นักศึกษาเรียนรู้

ขอบคุณคุณครูวัชรีที่ให้กำลังใจ ระยะนี้ไม่มีโอกาสเข้ามาดูแลห้องความรู้นัก เพราะภารกิจต้องฝึกเลี้ยงนกครับ

การติดตั้งครื่องมือเสริมการเรียนรู้เหล่านี้นับเป็นการติดอาวุธทางปัญญาอย่างหนึ่ง นักศึกษาจะได้ประโยชน์ คือ สามารถนำเครื่องมือเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้

โห..ขับรถมาถึงบ้านเลยนะครับ..เยี่ยมจริงๆ

อาจารญ์น้องกู้เกียรติ สอนแบบผู้ใหญ่ พี่สุก็พึ่งจบระดับปริญญาตรีปี 2552 รอใส่เสื้อครุย(คุย)ปี่ 2553 คะ สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น คนที่มาเรียน เป็นผู้นำและองค์กรชาวบ้าน  เช่นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย อบต.สท.สข. สส.สว.อสม.ผู้นำกลุ่มสตรีแม่บ้าน เขาจะยกระดับผู้นำชุมชน ให้มีความรู้ ที่ทันสมัยเหมาะกับยุคโลกาภิวัตน์คะ

นึกภาพน้องกู้เกียรติ สอนนักศึกษา พี่สุพอนึกภาพออก สอนให้คนแก่ มีแต่ฟรีเซ้นท์ รายงาน ที่ไปทำมา เป็นกำลังใจให้นะคะ  ยังมีคนอีกมากที่ต้องการพัฒนา คงอีกยาวไกล สู้ สู้ คะ

สวัสดีค่ะ

  • มาทักทาย มาอ่านบันทึกค่ะ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

ขอบคุณครับพี่สุ เรื่องการเรียนไม่ช้าหรอกครับ

และการเรียนสาขาที่พี่สุว่านั้น เป็นหลักสูตรที่น่าสนใจมาก

เป็นการเรียนเชิงบูรณาการสหวิทยาการสำหรับผู้นำโดยตรง.....ดีจังครับ

สวัสดครับครูคิม ขอบคุณนะครับที่เข้ามาทักทายกัน....เเค่นี้ก็เป็นกำลังใจมากทีเดียวครับ

ถ้ามีคนกลุ่มหนึ่งเดินผ่านเราไป...ต้องมีอย่างน้อยสักคนที่เป็นครูของเรา......

ขอบคุณค่ะ

  • ขอบคุณนะครับ
  •  เป็นกำลังใจให้เช่นเดิม

ขอบคุณมากๆครับคุณชาดา ~natadee

การทำงานเพื่อการเรียนการสอนโดยเฉพาะการติดตั้งเครื่องมือสร้างการเรียนรู้ใหม่ให้นักศึกษาเป็นสิ่งที่นักจัดการเรียนรู้ต้องใส่ใจขอรับ

  • การเขียนแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด(Mind Map) (เพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูล อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ จัดระเบียบความคิด จำได้ทนนานนักแล....) ………………………………………
  • Mind Map คืออะไร? Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มี อยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็น บรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิด สร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูล หรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า “ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิด รอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” ผังความคิด (Mind Map) “ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และ ความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” ลักษณะการเขียนผังความคิด เทคนิคการคิดคือ นำประเด็นใหญ่ ๆ มาเป็นหลัก แล้วต่อด้วย ประเด็นรองในชั้นถัดไป 2 การสร้าง แผนที่ความคิด หรือ Mind Map ขั้นตอนการสร้าง Mind Map
  •  1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
  • 2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ
  •  3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ
  • 4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด
  • 5. เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน
  • 6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน
  • 7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ 3 เขียนคำหลัก หรือข้อความสำคัญของเรื่องไว้กลาง โยงไปยังประเด็นรองรอบ ๆ ตามแต่ว่าจะมีกี่ ประเด็น
  •  กฏการสร้าง Mind Map
  • 1. เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ
  • 2. ใช้ภาพให้มากที่สุดใน Mind Map ของคุณ ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ก่อนคำ หรือรหัส เป็นการช่วยการทำงานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจำ
  • 3. ควรเขียนคำบรรจงตัวใหญ่ๆ ถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ จะช่วยให้เราสามารถ ประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง
  • 4. เขียนคำเหนือเส้นใต้ แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้าง พื้นฐานรองรับ
  • 5. คำควรมีลักษณะเป็น "หน่วย" เปิดทางให้ Mind Map คล่องตัวและยืดหยุ่นได้มากขึ้น
  •  6. ใช้ สี ทั่ว Mind Map เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา
  • 7. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 4 วิธี
  • การเขียน Mind Map โดยละเอียดอีกวิธีหนึ่ง
  • 1.เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
  • 2.วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลาง หน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
  • 3.คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ ที่มี ลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละ เส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง 4.แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือ วลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
  • 5.แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่ แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
  • 6.การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มี ความหมายชัดเจน
  • 7.คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
  •  8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน การนำไปใช้ 1. ใช้ระดมพลังสมอง 2. ใช้นำเสนอข้อมูล 3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ 4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ 5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้ สรุปและสังเคราะห์โดยคณะทำงาน KM กองวิจัยฯ http://dusithost.dusit.ac.th/~aviation/mindmap.pdf

 

การสรุปความ การสรุปความ เป็นการสรุปเรื่องราวจากการฟังหรือการอ่าน ผู้ฟังหรือผู้อ่านจะต้องจับใจความและสรุปใจความสำคัญของเรื่อง เพื่อที่จะเป็นพื้นฐานของการพูด หรือการเขียนสรุปความต่อไป การอ่าน และฟังเพื่อสรุปความ จะต้องจับประเด็นให้ได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร แล้วจดบันทึกไว้ จากนั้นจึงสรุปความของเรื่องที่อ่านหรือฟัง

วิธีสรุปความ
               ใคร                                                                                                      ทำอะไร

เมื่อไร                 

อย่างไร               
ผลเป็นอย่างไร   

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท