CQI : โครงการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการ Alcohol withdrawal


ฉันม่ายเมา !

                 

 

       เริ่มใช้บริการระบบ GTK ที่ปรับโฉมใหม่  ต้องนำตัวอย่างการประกวดผลงาน CQI สักตัวอย่างมาให้ชมค่ะ    ที่แน่ ๆ คือ ผลงานบ้านเรา ward 1 นั่นเองค่ะ

 

โครงการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการAlcohol withdrawal
          วัตถุประสงค์
  • เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากอาการ alcohol withdrawal
  • เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุของผู้ป่วยและบุคลากร
 
           เป้าหมาย
ผู้ป่วยทุกรายที่มีอาการ alcohol withdrawal

 

 

  • ผู้ป่วยทุกรายที่มีประวัติดื่มสุรา
 
           มูลเหตุจูงใจ/ปัญหา/สาเหตุ
ผู้ป่วยที่มีอาการ alcohol withdrawal พบบ่อย หลังจากเข้ารักษาตัวใน ร.พ. 2 - 3 วัน
ผู้ป่วยมีแผล bed sore และแผลจากการผูกยึด
บุคลากรผูกยึดหรือเข้าช่วยเหลือในการเข้าผูกยึดไม่ถูกวิธี
บุคลากรได้รับอุบัติเหตุจากการผูกยึดผู้ป่วย
                 
                     Plan
  • จัดทำแนวทางป้องกันผู้ป่วยตกเตียงและแนวทาง การผูกยึดผู้ป่วย
  • กำหนดให้มีการซักประวัติการดื่มสุรา ความเจ็บป่วยและความผิดปกติทางระบบประสาทจากการดื่มสุรา
  • ประเมินระดับความรู้สึกตัวและอาการทางระบบประสาท

 

                                           

 

                      Do

 

  • ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตึกผู้ป่วยใน1 ให้ทุกคนมีส่วนร่วมระดมความคิดในการวิเคราะห์ปัญหา กำหนดแนวทางในการดูแลผู้ป่วย
  • ดูแลผู้ป่วยตามแนวทางที่กำหนดตั้งแต่แรกรับจนถึงจำหน่าย
  • เฝ้าระวังผู้ป่วยที่มีอาการ alcoholic withdrawal
  • จัดให้นอนเตียงใกล้กับ Nurse’s station
  • เฝ้าระวังและติดตามอาการโดยการประเมิน GCS  
  • ส่งต่ออาการทุกเวร และทำสัญลักษณ์รูปดาวสีแดง ที่กระดานรายชื่อผู้ป่วย, Kardex, หน้า
  • กรณีญาติไม่อยู่และผู้ป่วยมีอาการ alcoholic withdrawal รายงานแพทย์เพื่อพิจารณาผูกมัดตามแนวทาง
  • ถ่ายทอดความรู้ ทักษะในการดูแลผู้ป่วยแก่ผู้ปฏิบัติงานใหม่
Chart
 
                     Check

 

  • ประเมินผลการดำเนินงาน และทบทวนการดูแล ผู้ป่วยโดยติดตามภาวะแทรกซ้อน อุบัติการณ์ต่างๆ
  • ติดตามเฝ้าดูพฤติกรรมการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยขณะอยู่โรงพยาบาล
  • ติดตามภาวะแทรกซ้อนและการเกิดอุบัติเหตุของ ผู้ป่วย
  • ติดตามการเกิดอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานของ เจ้าหน้าที่ในการเข้าผูกมัดผู้ป่วย
  • ประเมินผลการปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด วิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข
 
                          ACT
  • จัดทำแนวทางการปฏิบัติงาน
  • ติดตามประเมินผลการปฏิบัติตาม แนวทาง
 
                         ตัวชี้วัด

 

  • อัตราการปฏิบัติตามแนวทาง 80%
  • จำนวนการเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเกิดอุบัติเหตุของผู้ป่วย = 0
  • จำนวนการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ = 0
     
                          ระยะเวลาดำเนินการ

     เริ่มเดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือน กันยายน 2552

                                       

     

                               ปัญหาและอุปสรรค

     

    • เจ้าหน้าที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้
    • เจ้าหน้าที่เข้ามาปฏิบัติงานใหม่ ไม่ทราบแนวทาง การปฏิบัติงาน
    • การประเมินทางระบบประสาท ไม่ชัดเจน ไม่ต่อเนื่อง ไม่ครบทุกราย
    • บุคลากรที่ปฏิบัติงานนอกเวลาไม่เพียงพอ บุคลากรจุดอื่นเข้ามาช่วยเหลือขาดทักษะในการเข้าผูกยึดผู้ป่วย
     
                                แผนการพัฒนาต่อไป

     

    • ปรับปรุงแบบประเมินทางระบบประสาท (GCS) เป็นแบบประเมินความเสี่ยงอาการ alcoholic withdrawal ให้ชัดเจนและครบถ้วนทุกราย

     

    • ติดตามและประเมินผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    •  

                                   

       

       

       

       

หมายเลขบันทึก: 297645เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ระบบ ป้องกัน เฝ้าระวังผู้ป่วยตกเตียง

ดูรายละเอียดที่ http://www.bioactiveinter.com/thai/products.php?tb_product_id=2

น่าจะเป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยครับ

ติดต่อ

บริษัท ไบโอแอคทีฟ อินเตอรื จำกัด

โทร 028845146, 028849908

แฟ็กซ์ 028849908

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท