76. สวนครัวขั้นบันได : ความรู้จากป่า บ้านแม่สาใหม่(ตอนสอง)


สวนครัวขั้นบันได...ภูมิปัญญาของผู้เฒ่าชาวม้งที่บ้านแม่สาใหม่

ลุงเหยา...ชายร่างเล็ก แต่คล่องแคล่วเกินวัย

สร้างความรู้ในการอยู่ร่วมกับป่าและภูเขา โดยการปลูกผักสวนครัวไว้ตามไหล่เขา

 

 

ลุงเหยาพาเราเดินดูสวนครัวของลุง ไปตามทางเดินที่ปั้นดินให้เป็นขั้นบันได

ลุงเล่าว่า...ที่ดินพื้นราบมีน้อย การเดินไปหาสวนไกลๆ เสียเวลา

ลุงจึงปลูกผักสวนครัว และพืชกินได้ต่างๆ ไว้ตามไหล่เขา

ลุงเหยา รู้จักพืชทุกชนิดที่เดินผ่าน และสามารถอธิบายสรรพคุณต่างๆ ได้อย่างชัดเจน

 

 

  

 

 

นอกจากผักสวนครัว และผลไม้ไว้เก็บกินได้ตามทางเดินแล้ว

ลุงเหยายังทำสวนกาแฟในป่าอีกด้วย

 

 

 

ลุงเหยาปลูกกาแฟ อยู่ท่ามกลางป่า โดยถางที่ใต้ต้นไม้ใหญ่ๆ ในป่า เป็นที่ราบ

เพื่อปลูกต้นกาแฟแซมอยู่ระหว่างต้นไม้...มีอยู่จำนวนไม่น้อย

เรียกได้ว่าเป็น พืชสร้างรายได้หลัก อย่างหนึ่งของชุมชน

และลุงทำเป็นตัวอย่างให้เพื่อนบ้านในชุมชนทำตาม

 

 

ลุงเหยาสร้างบ้านหลังเล็กๆ ไว้ในสวนกลางป่า ค่อยๆ สร้างไปเรื่อยๆ ไม่เร่งร้อน

มีแผนจะขุดบ่อเล็กๆ ไว้เลี้ยงปลากลางป่า อีกด้วย

 

 

ที่เลี้ยงหมูของลุง ก็อยู่ริมเขา ระหว่างทางเดินไปสวน

 

ลุงเหยาบอกถึงภูมิปัญญาในการปลูกต้นไม้ในป่าว่ามี 4 ระดับ

 

 

ไม้ระดับบนสุด คือไม้ใหญ่ อายุยืนยาว เป็นระดับสูงสุด เป็นไม้ต้องการแดดมากๆ

เป็นไม้ป่า มีทั้งไม้เนื้อแข็ง และ ป่าไผ่ที่สูงน้อยลงมาอีกหน่อย

 

 

ไม้ระดับสอง เป็น ไม้ผล เพราะต้นเตี้ยกว่า ต้องการแดดน้อยกว่า

ให้ผลผลิตเป็นช่วงเวลา เช่น มะม่วง มะนาว กะทกรก มะปราง มะพร้าว กล้วย

 

 

ลุงเหยาใจดี ปีนต้นไม้ เด็ดลูกกะทกรกแจก

 

ไม้ระดับสาม เป็น พืชหมุนเวียน อายุสั้นๆ ปลูกและเก็บผลผลิตบ่อยๆ

ก็เช่น ผักสวนครัวของลุง รวมถึงสวนสมุนไพร ที่ปลูกไว้ใช้ด้วย

ลุงเหยาบอกว่า เมียของลุง เก่งเรื่องสมุนไพร

ใครเป็นอะไร ป้าก็จะเข้ามาเก็บสมุนไพรไปรักษาได้ทุกโรค

 

 

 

ไม้ระดับสี่ เป็นไม้คลุมดิน สร้างความชุ่มชื้น และสมดุลให้กับป่า

ไม่ต้องปลูก แต่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น เฟริน ตะไคร่น้ำ

 

 

 

ดังนั้น การอยู่ร่วมกันระหว่าง "คนกับป่า"

คือ การรู้จักใช้ประโยชน์จากป่า อย่างเหมาะสม ไม่ทำลาย ไม่ทำให้เสียสมดุล

ไม่ได้แปลว่า "ไม่ใช้" เพราะป่าเป็นแหล่งอาหารและทรัพยากรที่จะทำให้มนุษย์อยู่รอด

แต่... คนก็ต้องรู้จักใช้  ปลูกทดแทน สร้างความรู้ ความเข้าใจ ต่อธรรมชาติของป่า

ดังเช่นที่ลุงเหยา และชาวม้งในชุมชนร่วมกันดูแลผืนป่าแห่งนี้ไว้.

 

............

pis.ratana บันทึก

9132009

 

หมายเลขบันทึก: 297289เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2009 23:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • คนที่มีปัญหากับป่าจริงๆ ไม่ใช่ชาวบ้านดอก..ความรู้เรื่องป่าของลุงเหยายืนยันได้
  • ขอบคุณความรู้ดีๆของความสัมพันธ์ระหว่างคนกับป่าครับ
  • อยากเรียก ลุงเหยา ว่า ครูในป่า ค่ะ
  • เพราะมีความรู้เกี่ยวกับป่าดีมาก
  • และยังมีอุดมการณ์ในการสืบทอดความรู้สู่ทุกคนอีกด้วย
  • ขอบคุณครูธนิตที่แวะมาแลกเปลี่ยนค่ะ
  • ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาในการปลูกต้นไม้ในป่าว่ามี 4 ระดับ นักวิชการเกษตรจะทราบถึงภูมิปัญญานี้ไหมหนอ....
  • "ครูในป่า" เป็นชื่อที่เหมาะสมมาก เพราะลุงเขามีความรู้เกี่ยวกับป่ามากมาย
  • สรุปตอนท้ายได้ดีมากค่ะ 

การอยู่ร่วมกันระหว่าง "คนกับป่า" คือ การรู้จักใช้ประโยชน์จากป่า อย่างเหมาะสม ไม่ทำลาย ไม่ทำให้เสียสมดุล

ขอบคุณสาระดีๆ ที่นำมาแบ่งปันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท