จงอธิบายพลังศีลธรรมในโลกทัศน์เรื่อง คำสู่ขวัญควาย


ควาย คน สัตว์ พืช อาศัยซ฿งกันและกัน

พิธีสู่ขวัญเป็นพิธีกรรมที่มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ อันเป็นผลมาจากความเชื่อโดยเฉพาะสังคมที่อยู่ภายใต้ธรรมชาติ และสังคมกสิกรรรม หากแต่ว่ามนุษย์ไม่สามารถทำอะไรด้วยตนเองได้ทุกอย่างจึงต้องพึ่งพาสิ่งรอบข้าง นั่นคือที่มาของการเอาใจใส่ดูแลให้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นอยู่คู่ตนตลอดไปผ่านพิธีกรรมที่เรียกว่า “การสู่ขวัญ” หรือแม้แต่ในตำนานเรื่องข้าวยังอธิบายเหตุที่ทำให้เกิดการสู่ขวัญข้าว

                การทำนาเป็นหลักของคนไทยในอดีตไม่มีรถไถเช่นปัจจุบัน การทำนาต้องอาศัยควายในการลากไถ ซึ่งในขั้นตอนดังกล่าวควายที่ลากไถนั้นมีความเหนื่อยทำงานช้า ส่งผลในงานดำเนินไปอย่างล่าช้า ในขณะที่ความรีบร้อนของชาวนาต้องรีบตามฟ้าฝน จึงต้องใช้การตี การด่า ควายที่ลากไถนั้นให้รีบเร่งไปด้วย การทำพิธีสู่ขวัญจึงเป็นการเชิญขวัญของความที่ตกใจและออกร่างความไปให้กลับเข้ามา และที่สำคัญพิธีดังกล่าวยังเป็นการขอโทษในสิ่งที่มนุษย์กระทำต่อควาย แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยและความรักจากผู้ที่เป็นเช้าของ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสัตว์ ดังใน “เฮดนาเจ้าอย่าได้ช้าให้เจ้าตั้งหน้าซื่อไปไวๆ เจ้าอย่ามีใจโกรธกล้าหยาบช้าอดสะหาวข้อย” หรือ “ข้อยจึงมีใจเคียดค้อย ข้อยจึงบายเอาค้อนน้อยๆ เตาะต่อยตีไป ไปบ่ดีข้อยจึงได้ด่าไปซ้าข้อยจึงได้ไล่เร็วไว” จากบทสู่ขวัญดังกล่าวเป็นการอธิบายถึงความจำเป็น หลักของการแสดงเหตุผลพูดคุยกันจึงเป็นกลังแห่งการประนีประนอม

                ในการกระทำดังกล่าวจึงเกิดเรื่องของศีลธรรมที่มาเกี่ยวข้องในฐานะ “เจ้านาย (คน)-ลูกน้อง (ควาย)” หลังจากคนใช้ควายอย่างหนักในการทำนา พิธีสู่ขวัญจึงเปรียบเสมือนการจัดงานเลี้ยงให้กับลูกน้องที่ทำงานให้กับเรา นอกจากความสุขที่ได้รับแล้วลูกน้องได้มีเวลาพักผ่อน หรือการทุบตี ดุด่า ถูกกล่าวขึ้นอันเป็นการแสดงความขอโทษในการกระทำ นั่นคือศีลธรรมที่แฝงอยู่ในพิธีกรรมดังกล่าว

                ด้วยระบบการพึ่งพาธรรมชาติประกอบกับสังคมพุทธศาสนา ทุกชีวิตจึงมีความเท่าเทียม มนุษย์ไม่สามารถที่จะอยู่เหนือธรรมชาติ(ความเชื่อที่สั่งสมมานานจากบรรพบุรุษ)ได้และไม่สามารถที่จะกระทำผิดหลักพุทธศาสนา เหตุนี้มนุษย์จึงจำเป็นที่ต้องประนีประนอมหลักทั้งสองเข้าด้วยกันโดยไม่ขัดหลักใดหลักหนึ่ง ฉะนั้นพลังศีลธรรมแห่งศาสนาและมโนทัศน์ที่ยอมจำนนต่อธรรมชาติจึงถูกส่งผ่านพิธีกรรมดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงระบบคิด ระบบความเชื่อของคนที่ถูกจัดวางไว้อย่างลงตัว โดยการใช้พิธีการสู่ขวัญเป็นตัวเชื่อโยง

               

หมายเลขบันทึก: 296763เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2009 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 19:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท