แผ่นพับกองทุน


      เมื่อวานนี้ผู้วิจัยได้นำรายละเอียดซึ่งบรรจุอยู่ในแผ่นพับกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลแม่พริกเขียนมาให้อ่านกัน (อ่านรายละเอียดได้ที่ gotoknow.org/km-maeprik) วันนี้จะขอนำรายละเอียดของแผ่นพับประชาสัมพันธ์ที่เครือข่ายฯใช้มาให้อ่านกันบ้างค่ะ  ซึ่งมีความแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กน้อย

ออมสมทบวันละ 1 บาท

สร้างกองทุนสวัสดิการชุมชน

      การออมทรัพย์ เพียงวันละ1 บาทเพื่อสวัสดิการชุมชนนับเป็นรูปแบบของการออมทรัพย์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ของสมาชิกในชุมชนที่สามารถใช้เงินเป็นเครื่องมือในการรวมทุนชุมชน และบูรณาการอย่างเป็นระบบสู่มิติใหม่ของการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวม โดยสมาชิกในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย ร่วมใจกัน “ออมเพื่อให้” แล้วจัดขึ้นเป็นกองทุนสวัสดิการชุมชนขึ้น เมื่อสมาชิกในชุมชนเดือนร้อน หรือมีเหตุอันพึงได้รับการช่วยเหลือเพื่อบรรเทา ด้าน เกิด แก่ เจ็บตาย การศึกษา พัฒนาอาชีพ รวมถึงด้านสุขภาพอนามัยก็สามารถจัด สวัสดิการให้กับสามชิกได้ทันที นับว่าเป็นการสร้างหลักประกัน เพื่อความ มั่นคงของคนในชุมชน ทำให้เกิดความเอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูลซี่งกันและกัน เกิดมิติของ “การให้อย่างมีคุณค่า และการับอย่างมีศักดิ์ศรี”


      ระยะการออมสมทบอย่าสม่ำเสมอตั้งแต่ 180 วันขึ้นไป

 

   สวัสดิการที่จะได้รับกรณี    เสียชีวิต

หมายเหตุ

1.
ออมสมทบครบ 180วัน
3,000 บาท
คุ้มครองที่กลุ่ม
2.
ออมสมทบครบ 225วัน
5,000 บาท
คุ้มครองที่เครือข่าย
3.
ออมสมทบครบ 365วัน
10,000 บาท
คุ้มครองที่เครือข่าย
4.
ออมสมทบครบ 750วัน
15,000 บาท
คุ้มครองที่เครือข่าย
5.
ออมสมทบครบ 1,095วัน
20,000 บาท
คุ้มครองที่เครือข่าย

      สิทธิประโยชน์ที่สมาชิกพึงได้รับ

      1. คลอดบุตร บุตรที่เกิดมาจะได้รับเงินสวัสดิการ ค่าทำขวัญบุตรเป็นเงินสะสมหุ้นออมทรัพย์ให้คนละ 500บาท
      2. เบิกค่าเยี่ยมไข้ สมาชิกที่ป่วยต้องเข้ารักษาด้วยอยู่ในโรงพยาบาลจะได้รับเงินสวัสดิการค่าเยี่ยมไข้คืนละ100บาทไม่เกิน 5 คืน ต่อครั้ง ภายใน 1 ปี เบิกได้ไม่เกิน 1,000 บาท
      3. ผู้สูงอายุ สมาชิกที่มีอายุ 70 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป และผ่านการออมสมทบครบ 10 ปี จะได้รับ สวัสดิการเป็นเงินจ่ายทดแทนกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละ 1 บาท และได้รับบริการด้านสุขภาพอนามัย จากกองทุนทดแทนทุกเดือน
        สมาชิกที่มีอายุ 70 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และผ่านการออมสมทบครบ 15 ปี จะได้รับสวัสดิการเป็นเงินค่าเบี้ยยังชีพ เดือนละ 300 บาท
      4. ตาย  สมาชิกเสียชีวิต   ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินสวัสดิการเป็นค่าปลงศพ ตั้งแต่ 3,000 – 20,000 บาท ตามสิทธิแห่งห้วงระยะเวลาการออมสมทบ

      5. ผู้ติดเชื้อ/ผู้พิการ/ผู้ด้อยโอกาส สมาชิกในชุมชนที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการดำเนินการกองทุนสวัสดิการชุมชนแล้ว เห็นว่าสมาชิกดังกล่าวไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเองได้ และไม่มีผู้อุปการะเลี้ยงดูจะได้รับสวัสดิการเป็นเงินจ่ายทดแทนกองทุนสวัสดิการชุมชนวันละ 1 บาท และได้รับบริการด้านสุขภาพอนามัยจากกองทุนทดแทนทุกเดือน
      6. ทุนการศึกษา สมาชิกที่เป็นเด็กในวัยเรียนประสงค์จะขอยืมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษา จะได้รับสวัสดิการเป็นเงินยืมเพื่อการศึกษาตามค่า ใช้จ่ายที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินเทอมละ 5,000 บาท
          สมาชิกที่เป็นกลุ่มร่วมพัฒนาประสงค์จะขอยืมเงินเพื่อโครงการพัฒนาศักยภาพ จะได้รับสวัสดิการเป็นเงินยืม เพื่อพัฒนาศักยภาพ ตามโครงการแต่ไม่เกินวงเงิน 20,000 บาทต่อหนึ่งโครงการ
      7. สวัสดิการคนทำงาน สมาชิกที่เป็นคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่บริหารจัดการ และเป็นผู้ตรวจสอบกิจการภายในองค์กร จะได้รับสวัสดิการเป็นค่าตอบแทนอย่างน้อยวันละ 130 บาท เมื่อออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกชุมชนจะได้รับค่าตอบแทนวันละ 200 บาท เมื่อป่วยจะได้สวัสดิการค่าเยี่ยมไข้ คืนละ 200 บาท แต่ไม่เกินปีละ 2,000 บาท  และเมื่อเสียชีวิตจะได้รับค่าปลงศพเบื้องต้นเพิ่มอีกรายละ 5,000 บาท
      8. สวัสดิการเงินสะสมค่าหุ้น สมาชิกที่สะสมค่าหุ้นกองทุนหมุนเวียนภายในชุมชนเมื่อถึงแก่กรรมผู้รับโอนประโยชน์จะได้รับสวัสดิการเงินสะสมค่าหุ้นจากกองทุนค้ำประกันตามสิทธิแห่งห้วงระยะเวลาการออมสะสมค่าหุ้นแต่ไม่เกินวงเงิน 10,000 บาท
      9. สวัสดิการเงินกู้ สมาชิกที่ได้กู้เงินจากกองทุนหมุนเวียนกองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนสวัสดิการคนทำงานเมื่อถึงแก่กรรม หนี้สินที่ค้างชำระกองทุนค้ำประกันจะชำระคืนให้ตามสัญญาที่ทำไว้กับกองทุนหมุนเวียนกองทุนสวัสดิการชุมชน กองทุนสวัสดิการคนทำงานแต่ไม่เกินวงเงิน 30,000 บาท

       การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน


       *  จัดตั้งโดยสมาชิกในชุมชน บริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการชุมชน จัดสวัสดิการให้กับสมาชิกในชุมชน และเอื้อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนในทุกๆ  ด้าน เช่น ด้านสังคมวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม อาชีพ การมีรายได้ รวมทั้งด้านสุขภาพอนามัยและด้านการศึกษา
       * การรับสมัครสมาชิกเข้าร่วมกองทุนสวัสดิการชุมชนรับจากสมาชิกภายในชุมชน ทุกเพศ ทุกวัย
       * การออมสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน สมาชิกในชุมชนสามารถออมเป็นขยะคัดแยกที่ขายได้ เช่นมูลสัตว์ พืชผัก ผลไม้ สิ่งของเหลือใช้ ผลิตภัณฑ์แรงงาน หรือเงินก็ได้ ที่มีมูลค่าเพียงวันละ 1 บาท และสมทบเพิ่มรายปี ๆ ละ 50 บาท

         * การจัดสวัสดิการชุมชนจะมีผลคุ้มครองเมื่อสมาชิกออมสมทบอย่างสม่ำเสมอครบ 180 วัน

         * การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนเน้นแนวทางการรวมทุนชุมชนอย่างเป็นองค์รวม การพึ่งพาตนเองช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การให้อย่างมีคุณค่าและการรับอย่างมีศักดิ์ศรี

 

         * การจัดสวัสดิการชุมชนต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพและอยู่ร่วมกันอย่างเห็นคุณค่าบนพื้นฐานของเมตตาธรรมและการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังของสมาชิกทุกคน

 

 

        

* การจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ควรเริ่มจากกลุ่มคนที่เข้าใจตรงกัน จากกลุ่มเล็กๆ แล้วขยายเป็นกลุ่มใหญ่ โดยการปรับฐานคิดจาก การออมเพื่อกู้ ไปสู่ การออมเพื่อให้แล้วขยายไปสู่สังคมวงกว้างมีการเชื่อมร้อยเป็นเครือข่ายหลายๆ ชุมชนจึงจะสามารถดำเนินการจัดสวัสดิการให้แก่สมาชิกได้ (สมาชิกอย่างน้อย 50 คน ต่อหนึ่งกลุ่ม)

 

         * เป้าหมายของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชนคือ การสร้างโอกาสให้กับสมาชิกในชุมชน การสร้างศรัทธาชุมชนการสร้างสวัสดิการชุมชน การสร้างรายได้ การลดรายจ่ายครัวเรือน

 


 



คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29590เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2006 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมสนใจการตั้งกองทุนว่าเริ่มขั้นแรกทำอย่างไรบ้างกรุณาใหความกระจ่างด้วยขอบคุณล่วงหน้าครับ0850263928 พจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท