HR – SCORECARD กับบทบาทใหม่ในการบริหารคน


HR – SCORECARD กับบทบาทใหม่ในการบริหารคน

HR – SCORECARD กับบทบาทใหม่ในการบริหารคน

 

                เครื่องมือการจัดการยุคใหม่ คือ Balanced Scorecard ที่เข้ามามีบทบาทในวงการธุรกิจ ซึ่งเครื่องมือจัดการที่มีขนาดเล็ก ที่สามารถเข้ามาจัดการกับธุรกิจเหล่านั้นได้เป็นอย่างดี

                นักทฤษฎี ต้องติดตามกับเครื่องมือชนิดนี้อย่างใกล้ชิด เพราะว่าบางครั้งเครื่องมือนี้ไม่สามารถจัดการกับบริบทของการบริหารงานด้านทรัพยากรมนุษย์คนเราได้ เพราะสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แต่ถ้าได้ศึกษาก็จะเหมือนกับการกำหนดเส้นทางที่เราต้องต้องการไปถึงได้เช่นกัน การเดินตามคนอื่นเรื่อย ๆ ไป อาจต้องล้มลุกคลุกคลานได้ เพราะไม่รู้ว่าตรงไหนคือ หลุม คือบ่อ ลึกหรือไม่ ถ้าเขาเดินตก เราก็ต้องตกตามไปด้วยแน่นอน ในฐานะที่เราเดินตามเขา

                HR – Scorecard หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างตัวชี้วัดผลงานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญและมีผลกระทบต่อคุณค่าขององค์กร และโครงสร้างนี้จะเป็นตัวชี้วัดย่อย ๆ ในการบริหารงานด้าน HR การจัดทำ HR – Scorecard จะช่วยให้คนทำงานด้าน HR  สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

                สำหรับการออกแบบ HR – Scorecard จะต้องคำนึงถึง 3 ส่วนที่สำคัญ คือ

                1. ระบบงานภายในของ HR ระบบย่อย ๆ ในงาน HR จะต้องมีประสทธิภาพไม่ว่าจะเป็นระบบการสรรหา ระบบการพัฒนาฝึกอบรม ระบบค่าจ้างค่าตอบแทน ฯลฯ การทำให้ระบบงานภายในหน่วยงาน HR มีประสิทธิภาพขึ้น สามาราถทำได้หลายวิธี เช่น จัดทำมาตรฐานระบบงาน การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ หรือการใช้บริการหน่วยงานภายนอก

                2. การปรับแต่งกลยุทธ์ของ HR ระบบงานของ HR เปรียบเสมือนรากฐานของอาคารที่จะต้องรองรับโครงสร้างอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม เราจะต้องเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจน ดังนั้นการวางแผนกลยุทธ์ของ HR จะต้องสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแผนกลยุทธ์ ขององค์กร

                3. ประสิทธิภาพของงานด้าน HR ที่มีผลต่องานองค์กร กิจกรรมทางด้าน HR จะต้องสามารถวัดได้และสามารถแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ชัดเจน ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของ HR สามารถแบ่งได้ 2 ด้าน คือ

                                - ตัวชี้วัดต้นทุน  (Cost) ที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าการดำเนินงานด้าน HR อยู่บนพื้นฐานของจิตสำนึกในเรื่องของต้นทุนและค่าใช้จ่าย

                                - ตัวชี้วัดด้านการสร้างคุณค่าเพิ่มให้องค์กร (Corporate Value Added) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ใช้วัดผลผกระทบของกิจกรรมทางด้าน HR ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรโดยผ่านกระบวนการในด้านต่าง ๆ  เช่น การสรรหาคนที่เก่งด้านการตลาด และคนเก่งที่ได้นั้นเข้าช่วยสร้างองค์กร ให้เป็นผู้นำทางด้านการตลาดได้ จะเห็นว่าการออกแบบ HR – Scorecard ไม่ใช่เพียงการออกแบบตัวชี้วัดผลงานด้านHR เท่านั้น แต่เป็นการออกแบบโครงสร้างการพัฒนาคนที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร

                HR – Scorecard ถือเป็นเครื่องมือทางการจัดการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้คนที่ทำงาน HR สามารถมองเห็นภาพความสัมพันธ์แผนผังกลยุทธ์  ในการสร้างคุณค่าให้กับองค์กรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ HR – Scorecard ยังสามารถกำหนดตัวชี้วัดในระดับต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น เพราะสามารถตอบได้ว่า ตัวชี้วัดใดเป็นเพียงตัวชี้วัดผลของการดำเนินกิจกรรมทางด้าน HR ตัวชี้วัดใดเป็นตัวชี้วัดผลกระทบจากกิจกรรมของ HR ที่มีต่อเป้าหมายขององค์กร

                การนำเอาหลักการและแนวคิดของ HR – Scorecard มาใช้ในวงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในบ้านเมืองของเราจะต้องมีการปรับเปลี่ยนบางสิ่งบางอย่างเพื่อใฟห้เกิดความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ของบ้านเรา .........

หมายเลขบันทึก: 295339เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2009 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

แวะมาเยี่ยมครับ

ขอบคุณสำหรับสาระดีๆ ครับ อ่านแล้วได้ความรู้มากขึ้น

เป็นการสร้างมุมมองอีกแบบที่กว้างขององค์กรนะคะ นำไปใช้ได้เลยนะเนี่ย

เป็นหลักการบริหารที่ดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับบทความดี ๆ "HR – SCORECARD กับบทบาทใหม่ในการบริหารคน " มารร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท