5 หลักการ ของ LO


5 หลักการ ของ LO (Peter Senge)

  1. คิดเป็นระบบ (System Thinking) : คิดแบบมองภาพรวม หรือองค์รวม (The whole) ไม่ใช่มองแบบแยกส่วน (Part) เช่น มองเห็นตนเองเป้นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก ของชุมชน ขององค์กรฯลฯ และในทางกลับกัน ก็มองประชาคมโลก ชุมชน องค์กร ฯลฯ เป็นส่วนหนึ่งของตน คนที่คิดแบบนี้ได้มักจะไม่เห็นแก่ตัว ไม่ทำตัวเป็น "มะเร็ง" ของระบบที่ตนอาศัยอยู่ เช่น ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายการไหลของกระบวนการทำงานขององค์กร ไม่ทำลายชุมชน เป็นต้น
    การคิดเป็นระบบนั้น ยังมีอีกหลากหลายมาก เช่น คิดแบบมีเหตุผล คิดแบบมีคุรธรรม คิดแบบโยนิโสสนสิการ (แยบคายในใจ) คิดแบบ presence คิดแบบสรุปภาพรวม คิดแบบองค์รวม คิดแบบบูรณาการ คิดแบบสร้างสรรค์ เป็นต้น ถ้าไม่รู้จัก Learn how to think ก็จะไม่รู้จัก Learn how to learn
  2. ความสามารถในการบริหารตนเอง (Personal Mastory) : เป็นคนที่ควบคุมตนเองได้ ขับไล่นิวรณ์ห้า (ติดสุข แค้น เครียด กังวล ฟุ้งซ่าน เบื่อ ง่วง ฯลฯ) ได้ด้วยตนเอง สามารถพัฒนาตนเองไปจนถึง จุดที่ต้องการ ไปตามที่ฝัน หรือกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ จนในที่สุดกลายไปเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือ แฟนพันธ์แท้ในเรื่องที่สอดคล้อง และเป็นประโยชน์กับการพัฒนาขององค์กร ชุมชน โลก
    การเลือกที่จะเรียนรู้อะไร และได้เป็นเซียน หรือ master (ระดับครู ระดับปรมาจารย์) ด้านใด เกี่ยวข้องกับความฝัน หรือวิสัยทัศน์ของคนๆ นั้น ต้องการคนทีมีขีดความสามารถในการควบคุมตนเอง และนำ (leardership) ตนเองได้ คนที่ไม่คิดจะเป็นปรมาจารย์ด้านใดเลย มักจะหมดพลังที่จะเรียนรู้
    สังคมต้องการคนที่รู้จริง รู้ลึก รู้ละเอียด ทำจริง มากประสบการณ์ มากว่าคนที่รู้แบบผิวๆ หยาบๆ
  3. ความฝังใจ (Mental Model) : เป็นความคิดที่ติดแน่นฝังใจ เช่น อคติ ลำเอียง กลัว ฯลฯ ซึ่งส่งผลในการยับยั้งการเรียนรู้การสื่อสาร การกล้าลงมือทำ การคิดการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    ความฝังใจนี้เองเป็นอุปสรรคสำคัยที่บั่นทอนความคิดของเรา ทำให้เราไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงไม่คิดจะเรียนรู้ ไม่คิดจะลงมือทำให้สำเร็จ
  4. ฝันร่วมกัน (Share Vision) : คนหลายคน เมื่อมาอยู่ในสังคมเดียวกัน ถ้ามีความฝันที่ขัดแย้งกัน ทำลายกัน ไม่เดินไปในทิศทางที่ตรงกัน โดยเฉพาะฝันที่จะทำให้โลกนี้มีสันติภาพ น่าอยู่ เป็นต้น สุดท้ายก็จะจบลงด้วยการทะเลาะกัน สงคราม และกรรมชั่วต่างๆ อีกมากมาย
    ถ้าฝันไม่ตรงกัน แม้จะเก่งแค่ไหน ก็ยากที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
  5. เรียนรู้เป็นทีม (Team Learning) : การเรียนรู้เป็นทีมคิดด้วยกัน แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน ย่อมได้เนื้อหาสาระมากมาย และเรียนรู้ได้เร็วกว่าการเรียนคนเดียว

Ref. Blog : ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ. Learning Organization & Knowledge Management เจาะลึกองค์กรเรียนรุ้ และการบริหารความรู้. กรุงเทพฯ. อริยชน. 2549.

หมายเลขบันทึก: 29439เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2006 18:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 01:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ชอบข้อ 5 ครับ
  • ลองใช้การค้นหา พบหลักการ 5ส ของ LO (Learning Organization ?) ของ ดร. วรภัทร์ เช่นเดียวกันที่อีก blog หนึ่ง ลองอ่านประกอบครับ

ขอบคุณอาจารย์ panda ครับ ที่กรุณาให้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติม

อ่านข้อคิดเห็นและอื่น ๆ ของ ดร. วรภัทร์ ได้ที่นี่ครับ

ขออภัยครับ ทำ Link ผิดที่ถูกคือ   อ่านข้อคิดเห็นและอื่น ๆ ของ ดร. วรภัทร์ ได้ที่นี่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท