กรมอนามัยรับแขก กพร.สป. และ สคส. (1)


เป็นเวทีที่เราจะได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในส่วนที่ดี และถ้าท่านยังเห็นถึงส่วนที่เป็นข้อบกพร่อง ก็ขอให้ทุกท่านช่วยแนะนำด้วย เพื่อที่จะได้ช่วยกัน ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงชั้นนำ ในเรื่องของการจัดการความรู้ต่อไป

 

วันนี้ (18 พค.49) ก็ถือเป็นวันแห่งมิตรภาพ และความอบอุ่นที่ กพร.สป. ส่งมอบมาให้เราชาวกรมอนามัยนะคะ โดยทีมดูงานเกือบ 50 ชีวิต และ ทีมงาน สคส. อาจารย์อ้อ และคุณแขก

ท่านรองฯ ประเสริฐ กล่าวต้อนรับ ท่านศิริพร และคณะผู้ดูงาน

ท่านรองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.ประเสริฐ หลุยเจริญ (ท่านรองฯ เสริฐของเรา) ได้กรุณาสับหลีกเวลาอันเร่งรัดมา เพื่อให้การต้อนรับ ท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข พญ.ศิริพร กัญชนะ และคณะ กพร.สป. โดยท่านได้เกริ่นนำเรื่อง KM ของกรมอนามัยให้ว่า

"กรมอนามัยได้นำเครื่องมือการจัดการความรู้ (KM : Knowledge Management) มาใช้ในกระบวนการทำงานในกรมอนามัย ตั้งแต่ปี 2547 เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมาย 3 ประการ คือ 1) บรรลุเป้าหมายของงาน 2) เป้าหมายของคน และ 3) เป้าหมายพัฒนาองค์กรกรมอนามัย เริ่มจาก

  • การจัดตั้งทีมงานในการพัฒนาระบบบริหารความรู้ เพื่อให้ผู้ขับเคลื่อนการจัดการความรู้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมี น.พ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เป็นประธาน และ พญ.นันทา อ่วมกุล เป็นที่ปรึกษา
  • มีแผนการจัดการความรู้ และเกณฑ์ประเมินระดับความสำเร็จการจัดการความรู้ กรมอนามัย
  • มีกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ เพื่อพัฒนาคนในองค์กร และนอกองค์กร เช่น การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การอบรมเป็น Facilitator และ Note taker เวทีตลาดนัดส่งเสริมสุขภาพ และการจัดตั้งศูนย์ความรู้ (Knowledge center)

คณะผู้ดูงาน กพร.สป. และ สคส.

และในวันนี้ ท่านก็จะได้ดูการจัดการความรู้ของหน่วยงานต่างๆ ของกรมอนามัย ซึ่งจะเป็นเวทีที่เราจะได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในส่วนที่ดี และถ้าท่านยังเห็นถึงส่วนที่เป็นข้อบกพร่อง ก็ขอให้ทุกท่านช่วยแนะนำด้วย เพื่อที่จะได้ช่วยกัน ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นกระทรวงชั้นนำ ในเรื่องของการจัดการความรู้ต่อไปครับ"

ท่านศิริพร มอบกำลังใจ

และเราก็ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันได้มากมายจริงๆ ทั้งในกลุ่มดูงาน และ AAR หลังการดูงานแต่ละกลุ่ม ซึ่งก็คิดว่ายังไม่จุใจนะคะ ... ยังไงก็ตามเราก็ขอถือโอกาสชวนเชิญ ให้มา ลปรร. (แลกเปลี่ยนเรียนรู้) กันต่อได้ ที่ลานแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ นะคะ ขออย่าได้เกรงใจ

 

หมายเลขบันทึก: 29419เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2006 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ ...หมอนนทลี

     สมกับเป็นเว็บมาสเตอร์จริงๆนะครับ รวดเร็วทันใจดีจังเลยครับ  จริงๆแล้วอยากจะบอกว่าเวลาน้อยไปจริงๆครับ หากแต่เวลาครึ่งวัน แต่ลดจำนวนคนลงก็จะดี ซึ่งจะได้มีเวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในประเด็นที่ลึกมากขึ้น

    แต่ถึงยังงัยสำหรับตัวผมแล้ว ก็ได้ตามเป้าหมายที่คาดไว้นะครับ เป้าหมายของผมครั้งนี้คือ การไปจับภาพคลังความรู้ Kcenter และ แฟ้มภูมิปัญญา ทั้ง 2 ส่วนนี้ ถือได้ว่าเป็นผลลัพธ์ ของการจัดการความรู้กรมอนามัย และอาจจะเป็นจุดเริ่ม ที่ช่วยจุดประกายให้กับหน่วยงานอื่นๆอีกด้วย

    อีกส่วนที่ผมเห็นศักยภาพในการทำ KM ด้วยการลงไปสัมผัส บรรยากาศการทำ KM แล้วหลายครั้ง คือ ศูนย์อนามัยที่ 1 (บางเขน) ซึ่งในที่นี่ ทีม KM ของศูนย์อนามัยที่ 1 นำเรื่องเล่าดีๆมาให้ กพร.สป. หลายๆท่านได้เห็นว่า การทำ KM ไม่ใช่เรื่องยากเลย และยังมีความสุขอีกต่างหาก

   สิ่งที่ผมคิดว่า กรมอนามัย น่าจะได้ประโยชน์ คือ การออกแบบการดูงานของหน่วยงานที่จะเข้ามาดู การทำ KM ที่กรมฯ ทั้งเรื่องจำนวนคน เวลา และสิ่งที่กรมอนามัยจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากหน่วยงานนั้นๆ

    เพราะกรมอนามัยเอง ก็เริ่มทำการจัดการความรู้ใหม่ๆ สิ่งที่ควรคว้าและควัก ก็คือ องค์ความรู้จากหน่วยงาน ที่เข้ามาดูงาน ถึงแม้ว่าจะมีมาก มีน้อยก็เป็นองค์ความรู้ทั้งนั้น จริงมั๊ยครับ  

     เหมือนที่หมอสมศักดิ์ พูดในวันนี้ ว่า "เมื่อเราเป็นสถานที่ดูงานได้แล้ว สิ่งที่เราต้องเรียนรู้ต่อก็คือ การต้อนรับผู้ดูงาน และต้องปรับอยู่ตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง เพราะในยุคที่ KM ระบาดเช่นนี้ สิ่งสำคัญคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่จะทำให้กรมอามัยบรรลุเป้าหมาย 3 ประการ คือ พัฒนางาน พัฒนาคน และพัฒนาองค์กร ครับ"

 และสุดท้ายสิ่งที่ผมได้เกิความคาดหมายครั้งนี้....

ถือเป็นการยั่วน้ำลายผม ก็คือ การทำ KM ของกองคลัง (หน่วยงานย่อยของกรมอนามัย) ซึ่งทีม KM ของกองคลังนี้ ดูเข็มแข็ง และกระตือรือล้นมาก ในการทำ KM โดยกำหนด หัวปลา (KV.) ไว้คือ

"การพัฒนางานคลัง และพัสดุตามระบบ GFMIS"  

   ซึ่งทีมนี้มีวิธีการและเทคนิค มากมาย ที่ผมยังเข้าไม่ถึง (ต้องขออภัยครับเนื่องจากเวลาน้อย) แต่จะต้องขอติดตามดูอีกครั้งว่า มีจุดเริ่ม และวิธีการขั้นตอนในการทำ KM ของกองคลัง กันอย่างไรบ้างครับ

...ขออนุญาติแลกเปลี่ยนเพียงเท่านี้ครับ....

และหาก กองคลัง มีการเปิดบล็อกเมื่อไหร่ อยากให้เขียนเล่าเรื่อง KM ของกองคลัง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันนะครับ

                

           

   ** ขอบคุณทีม KM กรมอนามัยทุกท่านครับ**

       ** ที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดีครับ**

     

แหม ชมอย่างนี้ ผอ.กองคลัง พี่เปี๊ยกและคณะ ต้องเป็นปลื้มแน่ๆ ค่ะ รับรองว่า ต่อไป เมื่อกองคลังเปิด blog แล้ว ต้องคุยผ่านบล็อกไม่หยุดแน่นอนค่ะ

พี่เปี๊ยก กองคลัง

เรื่อง การต้อนรับ ยห. ค่ะ อย่าห่วง ตามที่ท่านรองฯ เสริฐว่าไว้ไงคะ ท่านมาเราต้อนรับเต็มที่ ... อยู่แล้ว ...

       ภาพที่เห็นซึ่งคุณหมอนนทลีใส่โชว์ไว้ คือ คุณพรรณี เทียนทอง CKO กองคลัง นะคะ ชื่อเล่นมีนามว่า พี่เปี๊ยก ...แจ้เป็นขาใหญ่ ใจโต น่านับถือของกองคลัง ลุยทุกสถานที่ ทุกโอกาส ขนาดความสูง ก็ประมาณ/หรือน้อยกว่า...น้องอ้อ...แห่ง สคส. แต่ความกว้าง...อ้อสู้พี่เปี๊ยกไม่ได้อยู่แล้ว (555)

       กองคลัง เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งของกรมอนามัยที่เป็นต้นแบบ รายละเอียดก็เป็นไปตามคุณหมอนนทลี กล่าวถึง

       สำหรับคำแนะนำของน้องแขก ก็ขอน้อมรับนะค่ะ ... การดูงานแบบไม่จุใจ ...ยั่วยุให้อยากรู้ต่อ คงเป็นอีกกลยุทธ์ ที่กรมอนามัย ตั้งใจไว้ค่ะ(จริง...จริ๊ง นะน้อง)  เพราะที่แน่ๆ น้องแขกกับน้องอ้อ ก็ได้ตามไป Tacit K. กับกองแผนงานต่อ...ในภาคบ่าย... ว่าด้วยแฟ้มภูมิปัญญาอีกรอบ ...พี่ศรี ก็ดีใจแล้วล่ะค่ะ

        และตามมาอีก1ทีม จากหน่วยงานย่อยของทีม KM กพร.สป. ก็ได้มาคุยกับพี่เช้านี้ วันที่ 19 พ.ค.49 เวลา 8.00 น . ณ โรงอาหารกรมอนามัย ขอติดต่อมาคุยเรื่องแฟ้มภูมิปัญญาอีก ถึงที่มา ที่ไป ก็เป็นปลื้ม ...พี่ศรีก็รีบเซเยส...ชู๊ด..ไปกองแผน...ให้กริ้งกร้างหาพี่ติ๊ก สร้อยทองอันดับแรก....

       แขกจ๋า  ของอร่อยๆ ต้องยั่วยุให้ชิม  ติดใจ...หรือไม่แน่ใจ..ก็ต้องลองซื้อกลับไปชิมใหม่ไงครับ ...555...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท