คนมี ”ภูมิ” กับ “คนไม่มีภูมิ” โดย ผศ. กวี วรกวิน


คนมี ”ภูมิ” กับ “คนไม่มีภูมิ” โดย ผศ. กวี วรกวิน

          รอบรู้สังคมศึกษาวันนี้ เรามาใช้ ภูมิปัญญา” ของพวกเราให้เกิดประโยชน์โดยมาช่วยกันสร้าง ภูมิความรู้” เพื่อพวกเราจะได้มี เพื่อพวกเราจะได้มี ภูมิต้านทาน” ทางสติปัญญาสำหรับให้คุณพ่อคุณแม่และคุณครูของพวกเราได้ภูมิใจในในตัวพวกเรามากๆอย่างไรละ

          คนที่มีภูมิรู้ดูไปดูมาบางทีก็ดูภูมิฐานดีนะ หลายคนเขาว่าอย่างนั้น แต่อีกหลายๆคนเขาก็บอกว่าพวกเขาทุกคนล้วนเป็นคนมีภูมิด้วยกันทั้งสิ้น เมื่อเราถามเขาว่ามีภูมิอะไร เขาทุกคนก็ล้วงเข้าไปในกระเป๋าควักสตางค์ที่เป็นธนบัตรบ้าง เป็นเหรียญบ้าง แล้วส่งให้พวกเราดูและพูดพร้อมๆกันว่า พวกเขามี ภูมิพล” และยังอธิบายต่อให้เราฟังอีกว่า เขาเทิดทูนและบูชาพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระนามว่า และยังอธิบายต่อให้เราฟังอีกว่า เขาเทิดทูนและบูชาพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระนามว่า ภูมิพล” เหลือเกิน พวกเขาเหลือเกิน พวกเขาภาคภูมิ ที่เกิดมาเป็นคนไทย สำหรับคนที่ล้วงกระเป๋าแล้วไม่มีเงิน เขาจะบอกว่าพวกเขามีภูมิต้านทาน อยู่เต็มตัว         ยิ่งไปกว่านั้นพวกเขายังบอกอีกว่า ที่บ้านของพวกเขาต่างก็มี

และยังอธิบายต่อให้เราฟังอีกว่า เขาเทิดทูนและบูชาพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระนามว่า เหลือเกิน พวกเขาภูมิ กันทุกบ้าน เมื่อเราถามกลับไปว่ามีภูมิอะไรที่บ้าน เขาก็บอกว่าที่บ้านพวกเขามีพระภูมิกันทุกบ้าน

        น้องๆวัยทีนจะเห็นไหมว่า คำว่า ภูมิ” มีใช้อยู่ในคำและวลีภาษาไทยอยู่มากมาย แต่คำวลี ล้วนคุ้นหูพวกเราทั้งสิ้น แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจคำและวลีเหล่านั้นอย่างลึกชึ้งหรือถูกต้องบ้าง และพึงสังเกตว่าวลีที่มีคำว่า ภูมิ” ไปผสมอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเติมข้างหน้าหรือต่อข้างหลังคำ วลีที่เกิดขึ้นจะมีความหมายไปในทางที่ดีทั้งสิ้น โดยเฉพาะคำว่า“ภูมิพล”

และ พระภูมิ”

“ภูมิพล” เป็นที่สูงสุดของ ประเทศไทย”“พระภูมิ”

เป็นที่สูงสุดของ บ้าน” ทุกบ้าน

ดังนั้น ภูมิพล” เป็นกษัตริย์ที่มีภูมิ ซึ่งถือว่า เป็นคนมีภูมิ

“พระภูมิ” เป็นพระที่มีภูมิ ซึ่งถือว่า เป็นคนมีภูมิ

ภูมิพล

= พลังชาวเขา

= พลังนิสิตนักศึกษา

= พลังประชาชน

= พลังทหาร

= พลังตำรวจ

= พลัง ต.ช.ด.

= พลังกลุ่มแม่บ้าน

= พลังลูกเสือชาวบ้าน

= พลังกลุ่มเยาวชน

ภูมิพล=เป็นภาพรวมของพลังต่างๆ

 

            จะเห็นได้ว่าอะไรที่มีอยู่ด้วยจะเป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าเป็นที่น่ายกย่องทั้งสิ้น เช่น คนทั่วไปถ้ากลายเป็นคนมีภูมิปัญญา หรือคนมีภูมิความรู้ขึ้นมาเมื่อไรก็จะกลายเป็นคนน่าศรัทธา น่านับถือ น่ายกย่องเช่นกัน

         ดังนั้นคำว่าภูมิ” คืออะไร และหมายความว่าอย่างไรกันแน่ เป็นสิ่งท้าทายน้องๆวัยทีนทั้งหลายให้ช่วยกันค้นหาคำตอบอย่างน่าตื่นเต้น และเร้าใจสุดๆเลยแหละ            คำว่า

ภูมิ” เป็นสารที่เป็นวิชาการที่เราจะพบในวิชา เป็นสารที่เป็นวิชาการที่เราจะพบในวิชา ภูมิศาสตร์” แต่คนเรียกภูมิศาสตร์มักจะไม่เข้าใจคำว่า ภูมิ” เมื่อนำไปใช้ร่วมกับคำอื่นตามความหมายของ วิชาภูมิศาสตร์” จริงๆมักจะได้คำอธิบายว่า เป็นวิชาที่กล่าวถึงภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์อะไรทำนองนั้นแหละ แต่เมื่อถามว่า ภูมิใจ” คืออะไร? “ภูมิต้านทาน” คืออะไร? ภูมิฐาน” คืออะไร? หรือ พระภูมิ คืออะไร? ภาคภูมิ คืออะไร? ส่วนใหญ่คนจะตอบไม่ได้ แม้แต่คนเรียนภูมิศาสตร์ก็ยากจะอธิบาย คงทำตัวเหมือนในศาสตร์อื่นๆ ที่ไม่รู้ว่า ภูมิศาสตร์ คืออะไร

          ดังนั้นวันนี้ รอบรู้สังคมศึกษาจะชวนน้องๆวัยทีนมาพูดคุยกันเรื่อง ภูมิ” กันดีกว่า เผื่อว่าเราอาจจะมี ภูมิ” ขึ้นมาเมื่อไรจะได้รู้ตัวว่า เป็น คนมีภูมิ” กับเขาบ้าง       ขอให้การอธิบายสวนทางกับการเรียนแบบเก่าๆที่มักจะอ่านคำว่าจำกัดความแล้วท่องจำไปเขียนตอบได้ แต่ไม่เข้าใจ เรียนกับเขาบ้าง

กับเขาบ้าง       ขอให้การอธิบายสวนทางกับการเรียนแบบเก่าๆที่มักจะอ่านคำว่าจำกัดความแล้วท่องจำไปเขียนตอบได้ แต่ไม่เข้าใจ เรียนภูมิศาสตร์มาหลายชั้นปีแล้ว แต่ให้ความหมายของคำมาหลายชั้นปีแล้ว แต่ให้ความหมายของคำภูมิศาสตร์ไม่ได้ อธิบายคำว่า ภูมิ” ก็ไม่เข้าใจ ถ้ายังคงสภาพเช่นนี้อยู่ เราก็จะกลายเป็นคน ไม่มีภูมิ” (ไม่มีภูมิรู้) หรือเป็นโรค แพ้ภูมิ” ไม่ใช่ ภูมิแพ้”

     “แพ้ภูมิ” หมายถึง คนที่ยังไม่มีภูมิอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในตัวเลย หรือไม่เคยคิดจะสร้างภูมิ หรืออยู่ห่างๆ ภูมิ จึงไม่เอาภูมิมาใส่ตัว จึงเรียกว่า กลัวภูมิ” หรือ แพ้ภูมิ”      “ภูมิแพ้”

หมายถึง ไม่มี “ภูมิต้านทาน” ไม่มีภูมิต้านทาน หมายถึง ไม่มีเชื้อในร่างกายสำหรับต้านทานเชื้อนอกร่างกาย กล่าวคือในอดีตเคยมีภูมิต้านทานอยู่ในร่างกายโดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ต่อมาภูมิต้านทานในร่างกายลดน้อยถอยลง คือภูมิต้านทานก็หมดไป เรียกว่าภูมิแพ้ คือภูมิไม่ชนะจึงแพ้หนีไป ที่เหลืออยู่ในร่างกายก็คือความว่างเปล่าไม่มี ภูมิ” จึงไม่มีภูมิคุ้มกัน เชื้อภายนอกจึงเข้าโจมตีร่างกายได้ง่าย

       ขอเสนอวิธีการทำความเข้าใจคำว่า ภูมิ” แบบย้อนกลับ คือพิจารณาตีความจากผลที่มีอยู่ หรือจากสิ่งที่เราเห็นเราเข้าใจทุกวัน แล้วเรามาใช้การวิเคราะห์ตามความจริงจากนั้นจึงมาสังเคราะห์หาข้อสรุปที่ตรงกับความเป็นจริงว่าสิ่งนั้นคืออะไร?       ขอเสนอรูปแบบภูมิที่เรารู้จักและคุ้นหูกันมากที่สุดมาเป็นตัวอย่าง2ตัวอย่าง คือ

พระภูมิ” กับ ภูมิอากาศ”

     พระภูมิ : วิเคราะห์ตามหลักความเชื่อและถือปฏิบัติ เราก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า มีตัวตนหรือไม่ เรารู้แต่ว่า พระที่ชื่อ “ภูมิ” นี้ เรามองไม่เห็นตัวตนแต่มีที่อยู่เป็นหลักฐานชัดเจน คือ ที่ศาลพระภูมิ ซึ่งเจ้าของบ้านสร้างให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันว่า พระภูมิ เป็นผู้รู้ทุกสิ่งทุกอย่างภายในบ้าน และบริเวณบ้านที่พระภูมิองค์นั้นสถิตอยู่ เรามีความเชื่อว่าพระภูมิรู้ทั้งที่ลับและที่แจ้ง รู้สรรพสิ่งรู้เหตุการณ์รู้ความสัมพันธ์ที่เกิดภายในบ้านทังหมดยิ่งไปกว่านั้นเรายังมีความเชื่อว่าพระภูมิสามารถดลบันดาลหรือทำให้เกิดสิ่งต่างๆได้พวกเราจึงไปบนบานศาลกล่าวกันทุกครั้งที่มีปัญหาหรือไม่สบายใจและต้องการให้ท่านช่วย

     ดังนั้นพระภูมิโดยโดยภาพรวมที่เราเข้าใจ คือ พระที่รู้และเข้าใจหลายๆอย่าง หลายๆสิ่งทั้งรูปธรรมและนามธรรม และรู้ความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ เหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดภายในบ้านเราเชื่อว่าพระภูมิก็รู้ทั้งหมด

โดย    ภูมิอากาศ:: คำว่าภูมิอากาศ = ภูมิ + อากาศ

                                                   = ภูมิของอากาศ

       อากาศโดยทั่วไปเราหมายถึง บรรยากาศโลก ซึ่งมีองค์ประกอบมากมายทั้งแก๊ส ความชื้น ฝุ่นละออง และสิ่งอื่นๆ แต่สิ่งที่เรารู้สึกและสัมผัสได้ในเรื่องของอากาศจะเป็นองค์ประกอบอุตุนิยมวิทยาต่างๆของอากาศ เช่น อุณหภูมิ ความกดอากาศ ลม ความชื้นในรูปต่างๆ เช่น เมฆ หมอก ฝน ลูกเห็บ ฯลฯ

       ถ้าเราพิจารณาหรือพูดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็คือว่าเป็นเรื่องของ เช่น ถ้าพูดเรื่อง อุณหภูมิ” ก็เป็นเรื่องของ อากาศ” พูดเรื่อง ลม” ก็เป็นเรื่องของ อากาศ” พูดเรื่อง ฝน” ก็เป็นเรื่องของ อากาศ” แต่ถ้าพูดถึง ภูมิอากาศ” ความหมายจะเปลี่ยนทันที โดยเราจะพิจารณาองค์ประกอบอุตุนิยมวิทยาต่างๆ ร่วมกันหมายความว่า ถ้าเราพูดถึงลักษณะภูมิอากาศใดๆ เช่นประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น คนที่รู้และเข้าใจภูมิอากาศ จะเข้าใจทันทีว่า เขตภูมิอากาศร้อนชื้น มีลักษณะอากาศร้อนแทบทั้งปี ฝนตกชุก ความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศสูง เมฆในบรรยากาศมาก ความกดอากาศทั่วไปต่ำ อากาศมักลอยตัว มีพายุฟ้าคะนองตอนบ่ายเหล่านี้ จะเป็นลักษณะอากาศในภูมิอากาศร้อนชื้นทั้งสิ้น

      จะเห็นว่า ถ้าใส่ ภูมิ” เข้าไปอยู่หน้าคำ อากาศ” เป็น ภูมิอากาศ” จะกลายเป็น “ภาพองค์รวม” ของ “องค์ประกอบอุตุนิยมวิทยา” ต่างๆซึ่งมาเป็น องค์รูปภูมิอากาศ แบบหนึ่ง      ดังนั้น :

หนาวเย็นแห้งแล้ง เป็นประโยค ภูมิอากาศร้อนชื้นฝนตกชุก เป็นประโยค ภูมิอากาศ

      จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าสรรพสิ่งใดๆที่มีคำว่า ภูมิ” ไปเป็น อุปสรรค” (Prefix) อยู่ข้างหน้าหรือเป็น ปัจจัย” (Suffix) อยู่ข้างหลังของคำหรือสิ่งใดๆ จะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของสิ่งนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีความหมายมากขึ้น โดยคำที่ใส่คำว่า (Suffix) อยู่ข้างหลังของคำหรือสิ่งใดๆ จะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของสิ่งนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีความหมายมากขึ้น โดยคำที่ใส่คำว่า ภูมิ” ลงไปจะให้ความหมายเป็น องค์รูป” ที่มีส่วนประกอบย่อยๆต่างๆมากมาย การทำความเข้าใจองค์รูป หรือ หรือ ภาพลักษณ์ที่เรามองเห็นนั้นๆ จะต้องทำความเข้าใจสาระของส่วนประกอบย่อยๆ ให้ถ่องแท้เสียก่อน หลังจากนั้นจึงศึกษาองค์ประกอบย่อยๆ เหล่านั้นก่อรูปเป็น ภาพรวม หรือเป็น องค์รูป ด้วยกลวิธีใด ดังนั้นการอธิบายในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์ (Interaction)จะเป็นตัวช่วยสร้างความเข้าใจว่าส่วนประกอบย่อยๆสร้างภาพที่เป็น องค์รูปรวม” ได้อย่างไร        คำว่า ได้อย่างไร

(Suffix) อยู่ข้างหลังของคำหรือสิ่งใดๆ จะทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของสิ่งนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่มีความหมายมากขึ้น โดยคำที่ใส่คำว่า หรือ ได้อย่างไร        คำว่า ภูมิ” จึงมีความหมายกว้างใหญ่โตและลึกซึ้งมากกว่าความเป็นธรรมดาของสรรพสิ่ง ตัวอย่างเช่น

คนมีความรู้ กับ คนมีภูมิความรู้นั้นต่างกัน

คนมีความรู้ : หมายถึงคนที่รู้ในสาขาวิชา หรือเนื้อหาต่างๆที่ตนเองถนัดหรือเชี่ยวชาญอย่างใดอย่างหนึ่งก็ถือว่ามีความรู้ได้

คนที่มีภูมิความรู้ : จะหมายถึง คนที่มีความรู้หลายๆอย่าง เชี่ยวชาญหลายๆด้าน ความรู้ที่เขาสร้างหรือแสดงออกมาให้เห็นจะเป็นภาพรวมที่แสดงว่ามีองค์ประกอบของศาสตร์สาขาต่างๆมากมายเรียกได้ว่าเป็นคนมีภูมิความรู้

คนที่มีปัญญา กับ คนที่มีภูมิปัญญานั้นต่างกัน

คนที่มีปัญญา : จะหมายถึง คนที่แสดงขีดความสามารถวิธีคิด วิธีแก้ปัญหา หรือวิธีการเข้าใจได้ แต่อยู่ในวงจำกัดเฉพาะด้านที่ตนถนัด บางปัญหาแก้ไม่ได้ บางความเข้าใจคิดไม่ออก ตอบไม่ได้ทั้งหมด เข้าใจไม่ได้ทุกอย่าง บางสถานการณ์แก้ปัญหาไม่ได้

คนที่มีภูมิปัญญา : จะหมายถึง คนที่สามารถใช้ปัญญาในการแสดงออกซึ่งขีดความสามารถทางความคิดรอบด้าน ครบเครื่อง รวดเร็ว ตอบปัญหา แก้ปัญหาในทุกๆ สาขาทุกๆ ศาสตร์ได้อย่างคล่งแคล่วรวดเร็วบางสถานการณ์ยุ่งยากซับซ้อนในหลายๆเรื่อง คนมีภูมิปัญญาจะเข้าใจได้ คิดได้ แก้ปัญหาได้ทุกสถานการณ์ ดังนั้นคนมีภูมิปัญญาจึงค่อนข้างลึกซึ้งกว้างขวางทางความคิด

ภูมิฐาน

=เป็นผู้ดี

=มีบ้านใหญ่โต

=มีรถราคาแพง

=มีคนนับหน้าถือตา

=มีภูมิความรู้

=พูดจาไพเราะ

=แต่งตัวดี

=มีพฤติกรรมโอบอ้อมอารี

=มีกิริยามารยาทดี

ภูมิฐาน = เป็นภาพรวมของฐานะต่างๆ

 

 

คนที่มีฐานะ กับคนภูมิฐานนั้นต่างกัน

คนมีฐานะ : หมายถึง คนที่ร่ำรวย ก็เป็นคนมีฐานะได้ คนที่มีบ้านใหญ่โตแต่เพียงอย่างเดียวก็มีฐานะได้คนที่มีรถยนต์ใช้แต่เพียงเดียวก็ถือว่ามีฐานะได้

คนที่ภูมิฐาน : คนที่ภูมิฐานนั้นหมายถึง คนที่ดูแล้ว ดูดีไปหมดทุกอย่าง” ภาพที่มองเห็นเป็นภาพรวมที่ประกอบไปด้วย ทุกฐาน ดังนี้ดังนี้

ดังนี้

ฐานการเงิน : คือทรัพย์สินมากมาย ทั้งเงินทอง บ้านเรือนราคาแพง ที่ดินถิ่นฐานมีพร้อมไปหมด

ฐานะทางความคิด : เป็นคนมีความรู้ มีภูมิปัญญา ได้รับการศึกษาสูง คิดในสร้างสรรค์

ฐานะพฤติกรรม : เป็นคนดีมีพฤติกรรมน่าเลื่อมใสศรัทธา ปฏิบัติตัวดี รู้ที่รู้ตำแหน่ง แต่งตัวสุภาพ สะอาด มี

ระดับ เพียบพร้อมด้วยกิริยามารยาท พูดจาดีวางตัวดี

         สรุปแล้วคนมีฐานะ คือค่อนข้างธรรมดา คนที่ภูมิฐาน จะมากกว่าความเป็นธรรมดาจะมากกว่าความเป็นธรรมดา

         น้องๆวัยทีนที่รักทุกคน เมื่ออ่านเรื่องนี้แล้วลองใช้ความคิดเอาเองบ้างก็แล้วกันว่า เราควรจะสร้าง ภูมิ” ใส่บรรจุไว้ในตัวเองบ้างจะดีไหมเอ่ย อย่างน้อยก็ ภูมิความรู้” กับ ภูมิปัญญา” สองภูมินี้น่าสนใจมากเพราะสองภูมินี้สามารถสร้างความเป็นคน สองภูมินี้น่าสนใจมากเพราะสองภูมินี้สามารถสร้างความเป็นคน ภูมิฐาน” ให้กับเราได้ เมื่อเราเป็นคนภูมิฐานแล้วเราก็จะเกิดความภาคภูมิในตัวเอง และสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดจะสร้างความภูมิใจให้กับพ่อแม่และวงศ์ตระกูล

        เมื่อน้องๆวัยทีนคนใดพอจะเข้าใจคำว่า ภูมิ” แล้วจงพยายามค่อยๆสร้าง ภูมิ” กันไปเรื่อยๆนะเพราะภูมิไม่ได้เกิดขึ้นเวลาอันสั้น การสร้าง ภูมิ” ต้องใช้เวลายาวนาน ยิ่งภูมิที่ซับซ้อนด้วยแล้วยิ่งใช้เวลายาวนานมากเลย ครูขอให้น้องๆวัยทีนทุกอย่างสร้าง ภูมิแพ้” ก็แล้วกัน และถ้ามี ภูมิ”แล้วอย่า อมภูมิ” จงแสดง ภูมิ” ของตัวเองให้สังคมได้ประจักษ์ อนาคตข้างหน้าเราจะได้ดี ภูมิหลัง” ดีๆอย่างไรละ วันนี้ครูอวยพรให้ทุกคนจงมี ภูมิต้านทาน” ที่แข็งแกร่ง จะได้มีชีวิตอยู่ในโลกนี้ยืนยาว

สองภูมินี้น่าสนใจมากเพราะสองภูมินี้สามารถสร้างความเป็นคน
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29415เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2006 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 10:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อยากได้ความหมายของภูมิปัญญา กับ ภูมิความรู้คับ ว่าต่างกันตรงไหน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท