บทสรุป “ฝ่าวิกฤตด้วยธุรกิจคุณธรรม” (ตอนจบ )


การเติมเชื้อไฟแห่งปัญญาให้กับผู้อ่าน และผู้รักในการทำงานเกี่ยวกับ “คน” ในองค์กร เพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายและแนวทางดีดีในการการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กรต่อไป เหนือสิ่งอื่นใดที่อยากจะบอก คือ “ความยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นได้แต่ถ้าขาดคุณธรรมก็จะไม่ยั่งยืน”

จากตอนที่ 1 ตอนที่ 2 และตอนที่ 3 มาถึงตอนจบของเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน" ฝ่าวิกฤตด้วยธุรกิจคุณธรรม" งานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่4 ซึ่งเวทีห้องย่อย Happy Workplace: หลักคิดสำคัญขององค์กรแห่งความสุข

 

           เมื่อได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้วจากหลายองค์กร จึงนำไปสู๋การให้ทุกคนที่เข้าร่วมได้เขียนความคิดเห็นและจัดทำการรวมประเด็นออกมาได้หลายประเด็นจนได้ข้อสรุปเป็นวรรคทอง คือ “รัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรกำหนดหรือจูงใจให้องค์กรมีแนวทางที่ชัดเจนในการสร้างสุขในองค์กร : happy 8 โดยรัฐสนับสนุนด้วยมาตรการเชิดชูเกียรติ/พัฒนาระบบมาตรฐาน/ ส่งเสริมการมีส่วนร่วม/มีการสนับสนุนมาตรการเชิงกฎหมาย”  สำหรับการมีส่วนร่วมนี้ควรจะมีการขยายความอย่างละเอียดว่าใครที่ควรจะมีส่วนร่วม ทั้งนี้การที่ทุกคนมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในวันนี้   สร้างความรู้สึกร่วมกันว่าชีวิตเรามีคุณค่า ทุกคนเกิดมามีค่าเท่ากัน และทุกคนมีส่วนร่วมที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขจริง ๆ บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน

หลังจากได้วรรคทองแล้ว มีผู้แทนองค์กรบางแห่งยังแสดงความคิดเห็นที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนหรือผลักดันสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ดังนี้

 

            จะส่งให้ภาครัฐต้องให้เห็นรูปธรรมสำหรับ 80% ที่เป็นขนาดเล็กทำยังไงให้นโยบายสามารถผลักดันขึ้นมาให้เขาอยู่ในเส้นต่ำสุดที่เขาควรปฏิบัติ  แต่ข้างบนจะทำยังไงให้ส่งเสริมคนที่ทำดี คนที่ทำดีก็ต้องช่วยกันส่งเสริมและช่วยดึงข้างล่างขึ้นมา ดังนั้นจึงเป็น 2 ส่วนคือส่วนที่อยู่ด้านล่างทำยังไงให้ได้เกินเส้นระดับมาตรฐานขึ้นมาให้ได้ ข้างบนที่เป็นระดับสูงอยู่แล้วก็ช่วยกัน share สร้าง network ในการดึงข้างล่างขึ้นมา ให้รางวัลก็ไม่จำเป็นต้องเป็นรางวัลที่ 1”

ดร. ปรอง กองทรัพย์โต   ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายคุณภาพ

บริษัท สแปนชั่น (ประเทศไทย) จำกัด

           

            ในการทำให้เกิดผลลัพธ์ทำได้ 2 วิธีคือบังคับ และเต็มใจ ซึ่งเวทีนี้เป็นเวทีแห่ง happy ถ้าบังคับไม่มีความสุข เช่น คณะกรรมการสวัสดิการของแรงงาน เจตนาดีต้องการให้พนักงานมีการพูดคุยกันคือไปเอาตัวอย่างจากองค์กรใหญ่ ๆ มาเพื่อบังคับองค์กรเล็ก ๆ ด้วยวิธีการพูดคุย องค์กรเล็กถ้าไม่ทำองค์กรใหญ่ก็เจ็บปวด  จากที่คุยกันดี ๆ อยู่แล้วต้องมาเข้ากฎระเบียบ วุ่นวาย นี่ไม่มีความสุข  ขอเสนอให้เป็นแรงจูงใจมากกว่าการบังคับ ทุกเรื่องของสิทธิประโยชน์  เพราะถ้าบังคับองค์กรที่ดี ๆ เขาก็เสียกำลังใจ

คุณปรีชา  ปลื้มจิตต์

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล (ผู้ชำนาญการ)

บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)

 

            เห็นด้วยกับ ดร.ปรองกับพี่ปรีชา เสริมที่ ดร.ปรองบอกว่าบริษัทใหญ่ก็ช่วย ๆ กันผลักดันบริษัทเล็ก ๆ  ในส่วนของ KTC เป็นบริษัทมหาชน มีการ outsource บางส่วนไปให้กับบริษัทย่อย ๆ ส่วนตัวมาจากฝ่าย outsourcing management  ส่วนใหญ่บริษัทเล็กทำงานและป้อนให้กับบริษัทใหญ่ ถ้าบริษัทใหญ่กรุณากลับไปมองเขาหน่อยและส่งเสริม ชวนเขาสร้างองค์กรให้มีความสุขโดยที่เลียนแบบองค์กรของเราไปหรือให้นโยบายไปซักนิดแล้วชวนเขาทำอย่างนี้ก็ช่วยได้ที่จะนำไปสู่ภาคปฏิบัติที่นำไปใช้ได้จริง  เพราะ KTC ก็ทำมาตลอด 4 ปีคือทำงานในการพัฒนากลุ่มบริษัท outsource ในเชิงของการสร้างองค์กรให้มีความสุข  ถ้าเปิดโอกาสให้ supplier เราร่วมสร้างองค์กรแห่งความสุขร่วมกันเราก็จะช่วยกันได้

กนิษฐา  ตรีรัตนภรณ์      

Manager – Outsourcing Management

บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

 

            ขอสนับสนุนเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ฟังพี่ปรองและทุกคน จากบริษัทโซนี่ มีโอกาสได้คุยกับผู้บริหารญี่ปุ่น เขาพูดถึง happy 8 ของเราในอีกมุมมองหนึ่ง  ปกติผู้บริหารญี่ปุ่นที่มาอยู่เมืองไทยสบายมาก ทุกอย่างไม่ต้องเสียเงินหมด ผมสื่อสารกับเขาว่าเรากำลังทำอะไรและจะทำอะไรต่อ ถ้า happy 8 มีมาก่อนหน้านี้ถ้าเขากลับญี่ปุ่นเขาจะลาออกแล้วหางานในไทยทำ  หมายความว่าแม้แต่ว่าในประเทศที่เขามีวัฒนธรรมและเราเข้าใจว่าเขาอยู่อย่างมีความสุข คุณภาพชีวิตก็ดี เขายังให้ความสำคัญว่าทำไมเราไม่มีอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว  แต่ถ้าวันนี้ผมกลับไปคุยกับเขาว่าการใช้พิจารณญาณผมว่าเขาอาจจะกลับประเทศเลย  เขาปิดหูกับ happy 8

            จะทำยังไงให้ภาครัฐสนับสนุน happy 8  เขาให้ไอเดียว่าถ้าภาครัฐช้าทำไมเราไม่มีทีมเหมือนทีมให้คำปรึกษาที่เดินไปตามโรงงานแล้วบอกว่ามี package นี้  มีตัวอย่างนี้ ทำอย่างนี้สิ เราสร้างเครือข่ายขึ้นมา  การลงทุนการพัฒนาคนอย่างยั่งยืนผ่านการพัฒนาคน คำนี้ติดไปปรากฏว่างบประมาณผ่าน  ถ้าเรามีทีมนี้เป็นรูปธรรมมากที่สุดก็จะดี ตอนนี้เราก็เริ่มต้นแล้วเริ่มไปประชาสัมพันธ์

คุณจตุรงค์ คงเมือง

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล

บริษัท โซนี่ซัพลายเชนโซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด 

 

            จากบริษัท ไมโครชิฟ อเมริกัน 100% ทำอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยความแตกต่างหลายอย่าง ไม่ว่าจะชาติ วัฒนธรรมในบริษัท เพราะในบริษัทมีพนักงานหลายเชื้อชาติมาก เราอยู่ในความลงตัวที่ว่าเราจะทำยังไงให้เป็นบริษัทที่น่าอยู่  ถ้าพนักงานไม่มีความสุขเขาจะทำงานได้ไม่กี่ %  ตอนนี้เรากระทบมากเลยแต่ไม่มีการเอาพนักงานออก เรามานั่งดูว่าจะทำอย่างไรมาช่วยน้อง  ก็ต้องมีการหยุดการทำงาน ไม่จ่ายค่าจ้างบ้าง พนักงานเริ่มมีปัญหา เราค้นหาความต้องการของเขาก่อนว่าอยากได้อะไร ก็มีน้องที่ได้ผ่าน hotline มี lunch คุยกับผู้บริหารและเขาไม่มีเลขา เป็นลักษณะ open door ข้อมูลเหล่านี้จะเข้าตรงมาจาก user และเรามีช่องทางในการสื่อสารคือใช้ VDC ให้ทุกคนอยู่ใน text เดียวกัน ค่อนข้างได้ผล  เราสื่อสารกลับกันได้ภายใน 24 ชม.  โครงการที่เราภูมิใจมากที่สุดคือไปร่วมกับออมสิน บริษัทเราเป็นบริษัทแรกของออมสินที่เป็นเอกชนแล้วปล่อยเงินกู้ในเรื่องเพื่อคุณภาพชีวิต เฉพาะคนที่เป็นหนี้เท่านั้นที่เข้ามาในโครงการนี้ ทำไปแล้วได้ผลดีมากเพราะเราสามารถช่วยทั้งครอบครัวของเขาและตัวพนักงานเองด้วยไม่ต้องออกจากงาน  อาจต้องใช้เวลาหน่อยเพราะออมสินเป็นของภาครัฐ  อีกโครงการนึงที่เราทำคือไปร่วมกับสารพัดช่าง สอนอาชีพให้เขาโดยไม่มีค่าใช้จ่าย มาเรียนตอนเช้า บ่ายไปทำงานเพราะพนักงานที่นี่เป็นกะ มีอาชีพทุกอย่าง ด้วยความที่เรามีหลายชมรม หัวหน้าชมรมก็จัดการแล้วเรามีส่วนช่วยสนับสนุน จัดกิจกรรมด้วยชมรมเอง เราเอื้ออำนวยความสะดวก  เราจึงสนใจที่จะเข้ามาใน happy 8”

 คุณวันเพ็ญ  เลิศอภิรักษ์    

Microchip Technology (Thailand) Co., Ltd.

 

สิ่งที่ได้จากกระบวนการทั้งหมดในเวทีครั้งนี้ได้ภาพกว้าง ๆ ในระดับองค์กรที่ถือว่าทุกองค์กรที่เข้าร่วมครั้งนี้เป็นต้นกล้าที่แข็งแรงและกำลังจะเติบใหญ่และร่วมกันดำเนินการผลักดันกันต่อไป และสามารถให้คำมั่นได้ว่าเครือข่ายที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้จะร่วมกันในการร่วมกันผลักดันเรื่องการสร้างความสุขในองค์กรรวมไปถึงการสร้างจริยธรรมซึ่งนำไปถึงเรื่องคุณธรรม 

ก่อนแยกย้ายกันกลับได้มีการถ่ายรูปร่วมกัน และ นายแพทย์ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ได้กล่าวปิดเวที ไว้ดังนี้

 

            ก้าวต่อไปคือทำให้ยิ่งกว่านี้ ทุกครั้งที่เรามาเจอกันผมรู้สึกว่าผมไม่เคยเสียเวลาไปแต่ผมได้สิ่งหนึ่งกลับมา อย่างที่คุณจตุรงค์พูดคือญี่ปุ่นเข้าใจว่าเราทำเรื่องของคน คนทุกคนต้องการมีความสุขแต่สุขแบบไหนไม่รู้ อย่าไปคิดว่าต้องสุขแบบนี้เพราะเหมือนสร้างกับดักความสำเร็จ  ที่ดีที่สุดคือตัวเองเป็นอย่างไรก็เป็นอย่างนั้นแต่เป็นแบบที่ตัวเองเจริญขึ้น  คุณจะทำยังไงให้คุณเกิดความคิดสร้างสรรค์ให้ตัวเองอยู่รอดและต้องเติบโตด้วย  แต่คุณต้องมีทางเลือกเสมอ  ก่อนให้เขาคิดควรให้เขารู้ว่ามีทางเลือกอะไรเพราะถ้าเขารู้เมื่อไหร่เขาจะคิดว่าอะไรคือ the best แต่ถ้าบอกนี่คือ the best เขาอาจจะไม่เชื่อก็ได้ เขาจะเริ่มประดิษฐ์เอง  วันนี้ผมคิดว่านี่จะเป็นแนวทางที่ผมจะใช้ดำเนินการต่อไปให้รัฐบาลได้เห็น  ต้องผลักดันให้เขารู้สึกว่ามันสำคัญ หัวใจของกระบวนการเปลี่ยนแปลงคือต้องรู้สึกไม่ใช่แค่เห็น  happy 8 จริง ๆ คือเรากำลังจะสร้างความรู้สึกว่าชีวิตเรามีคุณค่า ทุกคนมีค่าเท่ากัน มีส่วนร่วมที่ทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขจริง ๆ แต่บนพื้นฐานของการอยู่รวมกันแบบมนุษย์ เท่าเทียมกัน  เราเป็นทีมเดียวกันมีอะไรช่วยเหลือกัน เพราะการที่เราทำทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประเทศ

 

คณะทำงาน ต้องขอขอบพระคุณทุกความคิด ทุกประสบการณ์ ทุกบทเรียนจากผู้แทนและผู้บริหารในทุกองค์กรที่เข้าร่วม ในทุกเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บูรณาการการทำงานเชิงรุก งานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กร ภายใต้โครงการพัฒนานโยบายส่งเสริมการสร้างเสริมองค์กรสุขภาวะ (Healthy organization) แก่องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ของแผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) รวมทั้งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) และขอขอบพระคุณผู้จัดการแผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน ที่ให้โอกาสดีดีในการมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้และได้เรียนรู้สิ่งดีดีจากผู้รู้ และครูชั้นเยี่ยมตัวจริงเสียงจริงจากทุกเครือข่ายองค์กรที่เข้าร่วมในเวทีที่ผ่านมา  และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ได้นี้ จะเป็นแรงผลักดันในการขับเคลื่อนประเด็น “Happy8” ต่อสำนักงานสมัชชาคุณธรรมในการขับเคลื่อนต่อไป  รวมทั้งเป็นการเติมเชื้อไฟแห่งปัญญาให้กับผู้อ่าน และผู้รักในการทำงานเกี่ยวกับ คน ในองค์กร เพื่อผลักดันให้เกิดนโยบายและแนวทางดีดีในการการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กรต่อไป เหนือสิ่งอื่นใดที่อยากจะบอก คือ “ความยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นได้แต่ถ้าขาดคุณธรรมก็จะไม่ยั่งยืน” จากองค์ความรู้ที่ได้ร่วมกันผลักดันในครั้งนี้คงมีส่วนส่งเสริมพนักงานและประชาชนให้ได้ตอบแทนสังคม เพื่อ“มุ่งมั่นสร้างสรรค์และพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมที่ยั่งยืน” ต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 293909เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 14:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  •  สวัสดีครับคุณจ๊ะจ๋า
  • “ความยิ่งใหญ่จะเกิดขึ้นได้แต่ถ้าขาดคุณธรรมก็จะไม่ยั่งยืน” ชอบวรรคนี้มากครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีคะ พี่สิงห์ป่าสัก ไม่ค่อยได้พบหน้าเจอตากันเลย แต่แวะเข้ามาเยี่ยมเยือนบ่อยๆๆๆ

สบายดีนะคะ และขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมบล็อกแห่งนี้คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท