ระบบการเรียนการสอน Synchronous Conferencing


ระบบการเรียนการสอนซิงโครนัสด้วยวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Synchronous Conferencing)  ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เป็นระบบรับส่งสัญญาณวิดีโอแบบสองทิศทาง มาตรฐานเดิมของการเข้ารหัสแบบ MPEG เป็นมาตรฐาน H.261 ซึ่งต้องใช้แถบกว้างของสัญญาณตั้งแต่ 256 กิโลบิต ขึ้นไป ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แบบเดิมจึงเป็นการเชื่อมโยงวงจรเฉพาะของระบบ ซึ่งต้องการโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงแบบเฉพาะ เช่น ISDN หรือวงจรย้าย ระบบมัลติเพล็กเซอร์ เช่นที่ใช้เชื่อมระหว่างวิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตกำแพงแสน โดยมีช่องสัญญาณผ่านวงจรไมโครเวฟ หรือวงจรสื่อสารอื่นใดก็ได้

                   เมื่อเทคโนโลยีทางด้านไอทีก้าวหน้า การใช้ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงได้รับการพัฒนา ปัจจุบันมีระบบการเข้ารหัสวิดีโอคอนเฟอเรนซ์แบบ H.232 ที่ใช้วิธีการรับส่งผ่านทางด้าน IP แพ็กเก็ต ทำให้ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์วิ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แต่ก็ยังใช้ช่องสัญญาณแถบกว้างสูง ขนาดตั้งแต่ 256 กิโลบิตต่อวินาที

                   รูปแบบซิงโครนัส  เป็นรูปแบบที่ต้องการการเข้าร่วมพร้อมกันในบรรดาผู้เรียนและผู้สอนทั้งหมด ต้องมีการนัดเวลา สถานที่ และบุคคล  ประโยชน์ของรูปแบบซิงโครนัสก็คือปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน รูปแบบซิงโครนัสได้แก่ Interactive TV   audiographics, computerconferencing, IRC  และ MOO


ระบบการเรียนการสอนทางไกลในปัจจุบัน


การเชื่อมระบบการเรียนการสอนทางไกลด้วยมาตรฐานใหม่ H.323

 

                      การเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์สามารถส่งฉายตอบโต้ด้วยเวลาจริง ส่งเอกสารคำสอนในรูปแผ่นพิมพ์ สไลด์ รูปภาพ เสียงตลอดสื่ออื่น ๆ ประกอบได้ ทำให้การใช้สื่อทำได้ง่าย และช่วยให้ระบบการเรียนดีขึ้น

ข้อดี        คือ  สามารถส่งได้ระยะทางไกลมากกว่า  Parallel Tranmission
ข้อเสีย        คือ  ความเร็วในการรับส่งข้อมูลมีจำกัด ต้องคำนึงถึงรายละเอียดในการรับส่งข้อมูล

 

ระบบการเรียนการสอนอะซิงโครนัสผ่านเว็บ (Web Asynchronous)  เมื่อมีการเรียนการสอนแบบซิงโครนัสด้วยระบบทางไกลมีปฏิสัมพันธ์ สิ่งที่เป็นผลพลอยได้คือ การเก็บบันทึกการสอนทั้งหมดไว้ในรูปวิดีโอ และมัลติมีเดีย การเก็บสื่อเหล่านี้สามารถบรรจุลงในเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้ผู้เรียนเรียกดูภายหลัง ซึ่งเป็นการเรียนแบบอะซิงโครนัสต่อมา ในระบบเว็บเบสอะซิงโครนัสผ่านทางเครือข่ายเป็นวิธีการที่ได้ผลดี ทั้งนี้เพราะผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาในสิ่งที่ตนเองสนใจได้ วิชาที่เปิดสอบมีโฮมเพจประจำวิชา มีระบบเว็บบอร์ด เพื่อเป็นกระดานแสดงความคิดเห็น หรือใช้ถามตอบคำถามที่ไม่เข้าใจ มีการใช้อีเมล์ หรือการโอนย้ายไฟล์เพื่อช่วยในการสื่อสารระหว่างผู้เรียน

การเรียนแบบอะซิงโครนัสโดยใช้เว็บเป็นเรื่องที่มีประโยชน์และสามารถประยุกต์ได้ง่าย การสร้างเนื้อหาในรูปแบบเว็บเพจมีลักษณะการแสดงผลได้ดี

                        การเรียนการสอนทางไกลผ่านเว็บในรูปแบบอะซิงโครนัสจึงเป็นวิธีที่ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสได้ติดต่อกับผู้สอนมากขึ้น โดยไม่จำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ ระบบเว็บช่วยทำให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มีลักษณะที่เชื่อมโยงถึงกันเป็นเครือข่ายได้ดี

 

ระบบสนับสนุนการเรียนการสอนทางไกล   เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในเรื่องการเข้าถึงข้อมูล โดยเฉพาะการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการศึกษาที่ไม่ขึ้นกับระยะทางระบบข้อมูลข่าวสารที่สนับสนุนการเรียนการสอนจึงเป็นเรื่องสำคัญมากเรื่องหนึ่ง

                          ปัจจุบันมีระบบดิจิตอลไลบรารี่ หรือ eLibrary เป็นการสร้างฐานข้อมูลเอกสารสิ่งพิมพ์ในสาขาต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ต้องการข้อมูลสามารถเรียกค้นได้ โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ดังตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลดิจิตอลไลบรารี ของสำนักหอสมุดกลางที่บางเขน สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับผู้เรียนที่อยู่ที่วิทยาเขตที่จะเรียกค้นข้อมูลที่ต้องการได้โดยไม่ต้องเดินทาง ระยะทางทางฟิสิคัลไม่มีความหมาย นิสิตอยู่ที่วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนครก็สามารถเรียกใช้เอกสารได้ เสมือนตัวเองอยู่ภายในสำนักหอสมุดเอง  การนำเอาทรัพยากรทางด้านฐานความรู้ต่าง ๆ แบ่งปันกันใช้ และให้เรียกใช้แบบระยะทางไกลได้ จึงเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากมาย และสามารถประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถแบ่งปันข้อมูลใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบการเข้าถึงและการเรียกใช้

                         เพื่อให้ประสิทธิภาพการเรียกใช้เครือข่ายได้ด้วยความเร็วสูงขึ้น โดยเฉพาะการเรียกใช้ภายในเครือข่าย ระบบการเรียกผ่านโปรโตคอล TCP/IP เป็นหนทางที่ใช้งานได้ทั่วถึง แต่อย่างไรก็ดี รูปแบบของ TCP/IP ยังไม่ได้มีการจัดบริการทางคุณภาพ โดยเฉพาะในเรื่อง Qos-Quality of Service หนทางในการปรับปรุงการเรียกเข้าสู่ระบบด้วยความเร็วสูงคือ การเพิ่มความเร็วและแบนด์วิดจ์ของเครือข่ายแบกโบนหลัก ปัจจุบันเครือข่ายแบกโบนหลักของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนา และปรับปรุงให้ดีขึ้น และกำลังพัฒนาให้เป็นเครือข่ายแบบจิกะบิตต่อวินาที เพื่อรองรับการใช้งานมัลติมีเดียเต็มรูปแบบบน TCP/IP  การเรียกเข้าถึงระยะไกลก็เป็นปัจจัยสำคัญ เพราะการเรียนการสอนสามารถกระทำแบบยี่สิบสี่ชั่วโมง ไม่จำกัดสถานที่ การเรียกเข้าสู่เครือข่ายจากที่ห่างไกลโดยเฉพาะจากบ้าน เป็นหนทางที่ทำให้การเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัสได้ผลดี ปัจจุบันเครือข่ายนนทรีได้ปรับปรุงวิธีการเรียกเข้าสู่เครือข่ายใหม่ โดยใช้อุปกรณ์พิเศษที่เรียกว่า แอกเซสเซิร์ฟเวอร์ โดยสามารถรองรับการเรียกด้วยสายโทรศัพท์แบบดิจิตอล ทำให้คุณภาพการเข้าถึงเครือข่ายดีขึ้น

ระบบการบริหารและจัดการเครือข่ายเพื่อการเรียนการสอนทางไกล

                            การเรียนการสอนทางไกลมีทั้งระบบที่เป็นแบบซิงโครนัสและอะซิงโครนัส ดังนั้นการบริหารและการจัดการเครือข่ายต้องรองรับการทำงานได้อย่างเต็มที่ ปัจจุบันมีระบบการบริหารและจัดการเครือข่ายที่สำคัญได้แก่

การเฝ้าระวังและการตรวจสอบเครือข่าย (Network management) เป็นระบบทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์พิเศษที่คอยตรวจสอบเครือข่ายตลอดเวลา เก็บข้อมูลทางสถิติ และคอยตรวจสถานะการใช้งาน ตรวจอุปกรณ์ที่สำคัญทุกตัวตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง มีการจดบันทึกแสดงสถานะ มีระบบเตือน หรือบ่งบอก เมื่อมีอุปกรณ์ใด เช่น สวิตช์ เราเตอร์ หรือเส้นทางใดมีปัญหา ระบบดังกล่าวทำให้การดูแลและควบคุมเครือข่ายในระยะไกลได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญประจำในวิทยาเขตที่ห่างไกลตลอดเวลา

 

ระบบรักษาความปลอดภัยและตรวจสอบการอนุญาตให้ผู้ใช้ใช้งาน เป็นระบบที่เอื้อประโยชน์ให้มีการตรวจสอบการใช้งาน ตรวจสอบสภาพการบุกรุกของผู้อื่นที่ไม่มีสิทธิ ตลอดจนการเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้ เพื่อทำบัญชีหรือกำหนดสิทธิพิเศษบางอย่าง ระบบการเรียนการสอนทางไกล จึงเป็นระบบที่รองรับการเรียนรู้ในยุคใหม่ ในยุคที่ต้องเรียนรู้ได้มาก รวดเร็ว และลงทุนต่ำ เป็นระบบที่มีความสำคัญในการเรียนการสอนอย่างยิ่ง จากผลการใช้งานระบบการเรียนการสอนทางไกลระหว่างวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ให้ผลลัพธ์ที่ไคลเอน มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญและพร้อมที่จะก้าวต่อไป เพื่อประโยชน์ในเรื่องการศึกษาของชาติเป็นสำคัญ

คำสำคัญ (Tags): #synchronous conferencing
หมายเลขบันทึก: 293906เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2009 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บรรยายได้ดีมากเพื่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท