เรื่องของอัจฉริยะ


asperger syndrome

มีความรู้มาแบ่งปันกัน

มีรายงานว่านักวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และออกซ์ฟอร์ดลงความเห็นว่า อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และเซอร์ ไอแซ็ก นิวตัน มีอาการของโรคออทิสซึม แลลแอสเปอร์เจอร์ ซินโดรม อาการที่คล้ายๆ ออทิสติก (อยู่ในกลุ่มการวินิจฉัยโรคที่เรียกว่า PDDs เหมือนกัน) แต่ไม่เหมือนกันเสียทีเดียว คือพัฒนาการด้านภาษาจะดีกว่าออทิสติก และจะมีระดับสติปัญญาปกติหรือสูงกว่าปกติ ปัจจุบันเปอร์เซ็นต์คนทั่วโลกที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ออทิสติก และพีดีดีอื่นๆ รวมกันประมาณ 1:1,000 ซึ่งมีแนวโน้มที่สูงขึ้น พบว่ามีการทำงานของสมองบางตำแหน่งผิดปกติแต่บอกไม่ได้ว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดแม้ว่ามีการวิจัยหลายชิ้น แต่ไม่มีหลักฐานการยืนยันชัดเจน แนวโน้มปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากความบกพร่องของสารพันธุกรรม ซึ่งความผิดปกติทางพันธุกรรมก็ยังบอกไม่ได้อีกเหมือนกันว่าเกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นต่อรุ่นค่อยๆ สะสมความผิดปกติมาจนแสดงออกในรุ่นหนึ่งหรือเป็นการกลายพันธุ์ของยีน ซึ่งไอน์สไตน์มีแนวโน้มของอาการชัดเจนในวัยเด็ก

ขอบคุณ a day & http://www.elib-online.com/

คำสำคัญ (Tags): #asperger syndrome#อัจฉริยะ
หมายเลขบันทึก: 293486เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2009 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จากที่ได้อ่านทั้งจากบทความกิ๊ฟ และอ่าน ref. แล้ว มีความรู้สึกว่า Aspreger Syndrome หลักๆแล้วจะมีปัญหาเรื่องทักษะการเข้าสังคม(แถมบอกว่าอาจจะเกิดมาจากพันธุกรรมอีกต่างหาก)ถามว่า ทักษะการเข้าสังคม คืออะไร???

สังคมนั้นมีทั้งในแง่บวก และลบ หากเราสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ สังคมก็จะ support เรา ช่วยเหลือเราให้เราไปสู่เป้าหมายได้อย่างสะดวก แต่ถ้าหากเราไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ ตัวสังคมนี่แหละที่จะเป็นตัวถ่วงจิตใจของเราให้ท้อถอย และล้มเลิกความพยายามในเป้าหมายของเรา

การปรับตัวเข้ากับสังคมได้ โดยง่ายๆแล้วก็คือการเข้ากับคนอื่นได้ ทำอะไรตามประเพณี วัฒนธรรมที่สังคมนั้นๆยอมรับ หากใครไม่ทำตามบรรทัดฐานของสังคมแล้ว ก็อาจจะยากสักหน่อยในการที่จะให้สังคมยอมรับ และ support นอกจากคนๆนั้นจะมีจิตใจที่แข็งแกร่งจริงๆ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันในประเทศไทย คนในสังคมไทยมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น(individual)ทำให้มีความสนใจในค่านิยม หรือบรรทัดฐานลดน้อยลง ถึงแม้ว่าอาจจะมีกระแสความนิยมที่โหมรุนแรงมาตามสังคมเป็นพักๆ(กรณีเกาหลี ณ ปัจจุบัน)

ความที่คนในสังคมไทยในปัจจุบันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือมีความเป็นส่วนตัวทางจิตใจ(อยากแต่งตัวยังไงก็แต่ง มีความกล้า)ทำให้สังคมไทยปัจจุบันเข้าสู่สังคมแห่ง imagination เหมือนกัน เพราะว่าคนในสังคมมีความเปิดเผยในสิ่งที่ตัวเองคิด มีความเปิดเผยในความเป็น creativity ของตนเอง ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่ดีเหมือนกันที่ทำให้คนในสังคมไม่รู้สึกเก็บกดอยู่กับคำว่า "บรรทักฐาน ค่านิยม ประเพณี" มากจนเกินไป

"Imagination is more powerful(important)than knowledge" Einstein

หากตามบทความนี้ที่บอกว่า Einstein เป็น Asperger Syndrome คนในสังคมไทยก็อาจจะกำลังเป็น Asperger Syndrome เหมือนกันในแง่ความเป็นปัจเจกของแต่ละบุคคล ในแง่ความคิดที่แตกต่างกันไปตามแต่ละคน กล้าที่จะเปิดเผยออกมา ซึ่งอาจจะเป็นแขนงหนึ่งของการสูญเสียการมีทักษะการเข้าสังคมในรูปแบบหนึ่่ง(ตามบรรทัดฐาน วัฒนธรรม ประเพณี ที่บอกว่าดีงามของประเทศไทย)

สังคมไทยอาจจะกำลังเข้าสู่สังคมแห่งจินตนาการ กูดูกันต่อไปว่า จะเป็นอย่างไรต่อจากนี้...น่าเฝ้าดูจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท